กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวนิตยา โตสงคราม

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 25 หมู 13 ตำบล : ซับไม้แดง อำเภอ : บึงสามพัน จังหวัด: เพชรบูรณ์
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

1. ความเป็นมา  



             ข้าวโพด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากข้าวโพดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ข้าวโพดเป็นพืชที่ปลูกง่าย การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากนัก การปลูกข้าวโพดจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งของคนตำบลสระแก้วเนื่องจากเหมาะสมกับพื้นที่เพราะเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย


ความสำเร็จ :

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ



             การเข้าใจในการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเรื่องของฤดูกาลในการเพาะปลูก


ความชำนาญ : ปลูกข้าวโพด


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • 1. ความเป็นมา  



                 ข้าวโพด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากข้าวโพดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ข้าวโพดเป็นพืชที่ปลูกง่าย การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากนัก การปลูกข้าวโพดจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งของคนตำบลสระแก้วเนื่องจากเหมาะสมกับพื้นที่เพราะเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย

  • 2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ



                 2.1 การเตรียมดินปลูก ไถดินหรือขุดดินลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-15 วันเพื่อทำลายเชื้อโรค  ไข่แมลงและวัชพืช   โรยปูนขาวลงไปเพื่อปรับสภาพดิน ทำการยกร่องแปลง กว้าง 70-80 เซนติ เมตร  ความยาวขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ขนาดที่ดินระยะระหว่างร่องแปลงปลูก 20-25 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับดินให้ร่วนซุย คลุกเคล้าให้เข้ากัน



                 2.2 การปลูก ระยะปลูกระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 หลุมละ 1 ช้อนชากลบดินบาง ๆ หยอดเมล็ดลงหลุมปลูก หลุมละ 2-3 เมล็ด กลบดินบาง ๆ



                 2.3 การดูแลรักษา



                 การให้น้ำ มีการให้น้ำโดยปล่อยเข้าตามร่องแปลงทุก 3 วัน หรือขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก แต่โดยส่วนใหญ่ของพื้นที่ตำบลสระแก้วไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่การปลูกข้าวโพดจึงต้องอาศัยฝนฟ้าเป็นตัวกำหนด



                  การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวโพดงอกแล้ว 14-21 วัน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หว่านที่ร่องน้ำข้าง ๆ ต้นแล้วกลบโคนดิน ต้นละ 1 ช้อนชา และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังข้าวโพดงอกแล้ว 35-40 วัน หรือเริ่มติดฝักอ่อน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวปลูก แล้วพูนโคนกลบดิน



                 การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะทำการถอนหญ้าพร้อมกับการกลบปุ๋ยและพูนโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โค่นล้ม และมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง



     

  • 3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ



                 การเข้าใจในการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเรื่องของฤดูกาลในการเพาะปลูก

  • -
  • -
  • -