กลับไปหน้าค้นหา

นางบุญทัน เกิดบุญ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 24 หมู 2 ตำบล : ภูน้ำหยด อำเภอ : วิเชียรบุรี จังหวัด: เพชรบูรณ์
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ประมาณปี พ.ศ. 2550 กลับจากทำงานที่ กทม.มาประกอบอาชีพเกษตรกรรมกับครอบครัวสามีโดยเริ่มศึกษาเรื่องการทำเกษตรกับผู้รู้ เช่น เกษตรตำบล  ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสังคมเมืองมาใช้ชีวิตแบบเกษตรกร  โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักสวนครัว และพืชผักธรรมชาติตามหัวไร่ปลายนา ยึดหลักประหยัดรายจ่ายก็เหมือนเพิ่มรายได้


ความสำเร็จ :

ศึกษาหาความรู้กับสิ่งที่ทำอยู่เสมอ อย่ากลัวความผิดพลาดเมื่อผิดหวังต้องพร้อมเริ่มต้นใหม่เสมอ งานเกษตรมีการพัฒนาเสมอ เช่น เกษตรน้ำฝนเป็นเกษตรน้ำหยด สิ่งสำคัญคือการลงทุน การประหยัดกับสิ่งที่ไม่จำเป็น ทำให้ไม่ต้องเป็นหนี้หาแหล่งเงินทุน ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน คือหัวใจของความสำเร็จ


ความชำนาญ : ทำไร่อ้อย


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ประมาณปี พ.ศ. 2550 กลับจากทำงานที่ กทม.มาประกอบอาชีพเกษตรกรรมกับครอบครัวสามีโดยเริ่มศึกษาเรื่องการทำเกษตรกับผู้รู้ เช่น เกษตรตำบล  ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสังคมเมืองมาใช้ชีวิตแบบเกษตรกร  โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักสวนครัว และพืชผักธรรมชาติตามหัวไร่ปลายนา ยึดหลักประหยัดรายจ่ายก็เหมือนเพิ่มรายได้

  • การปลูกอ้อย



    เทคโนโลยีการปลูก

    การเลือกทำเลพื้นที่ปลูก

    1. ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร

    2. ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ

    3. การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก





    --------------------------------------------------------------------------------



    การเตรียมท่อนพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์อ้อยมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

    1. พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง

    2. ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก

    3. ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้





    --------------------------------------------------------------------------------



    วิธีการปลูก

    1. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน

    2. การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย





    --------------------------------------------------------------------------------



    การใส่ปุ๋ยอ้อย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม (เอ็น พี เค) ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ

    1. ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง 3 ตัว เช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือ 12-10-18 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่

    2. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 - 4 เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่





    --------------------------------------------------------------------------------



    การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนี้

    1. ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก

    2. ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก





    การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้อง ฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชในขณะที่ดินมีความชื้น หัวฉีดควรเป็นรูปพัด นอกจากนี้สามารถคุมวัชพืชโดยปลูกพืชอายุสั้นระหว่างแถวอ้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว และถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากจะช่วยคุมวัชพืชแล้ว อาจเพิ่มรายได้และช่วยบำรุงดินด้วย

  • ศึกษาหาความรู้กับสิ่งที่ทำอยู่เสมอ อย่ากลัวความผิดพลาดเมื่อผิดหวังต้องพร้อมเริ่มต้นใหม่เสมอ งานเกษตรมีการพัฒนาเสมอ เช่น เกษตรน้ำฝนเป็นเกษตรน้ำหยด สิ่งสำคัญคือการลงทุน การประหยัดกับสิ่งที่ไม่จำเป็น ทำให้ไม่ต้องเป็นหนี้หาแหล่งเงินทุน ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน คือหัวใจของความสำเร็จ

  • -
  • -
  • -