กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวกนกวรรณ อั้นทอง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 68/1 หมู 6 ตำบล : นาบินหลา อำเภอ : เมืองตรัง จังหวัด: ตรัง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

อาชีพเดิมของครอบครัวคือการทำสวนยางพารา  แต่เนื่องจากพื้นที่ในสวนยางมีที่ว่างจึงได้



คิดที่จะสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง  โดยการเพิ่มอาชีพเลี้ยงสุกร


ความสำเร็จ :

ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการตลาด อันได้แก่ ราคาอาหารสัตว์ ราคาพันธุ์สุกร รวมทั้งราคารับซื้อจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่เลี้ยงเป็นสำคัญ 


ความชำนาญ : เลี้ยงสุกร


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • อาชีพเดิมของครอบครัวคือการทำสวนยางพารา  แต่เนื่องจากพื้นที่ในสวนยางมีที่ว่างจึงได้



    คิดที่จะสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง  โดยการเพิ่มอาชีพเลี้ยงสุกร


    1. การเลือกพันธุ์



                                สุกรที่จะนำมาขุน โดยทั่วไปจะนิยมใช้ผสมสองสายพันธุ์ สามสายพันธุ์ หรือสี่สายพันธุ์ ซึ่งจะมีลักษณะการให้ผลผลิต เช่น การเจริญเติบโต และความแข็งแรง ดีกว่าการให้ผลผลิตจากพ่อและแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิด พันธุ์ที่ใช้ในการผสมข้ามมีหลายพันธุ์ อาทิ พันธุ์ลาร์จไวน์ พันธุ์แลนด์เรช และพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เป็นต้น 




    1. โรงเรือนและอุปกรณ์



                                โรงเรือนที่เลี้ยงสุกรควรตั้งอยู่ในที่ดอน น้ำไม่ท่วม ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมชน ตลาดและผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น โรงเรือนเลี้ยงสุกรต้อสามารถป้องกันแดด ฝน และลม โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนวัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน เช่นกระเบื้อง อลูมิเนียม สังกะสี แฝกและจาก เป็นต้น พื้นคอกควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด ขนาดคอก 4 x 35 เมตร จะสามารถเลี้ยงสุกรขุน ขนาด 60 – 100 กิโลกรัม ประมาณ 8 – 10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนขึ้นอยู่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยง




    1. อาหารและการให้อาหาร



                       สุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดียว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อมากได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวม อาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร จึงต้องมีโภชนาการที่ครบถ้วน อาหารสำหรับสุกรขุนส่วนใหญ่จะนิยมใช้อาหาร




    • 2    -



     



    สำเร็จรูป หรือเกษตรกรบางรายอาจผสมอาหารใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยใช้หัวอาหารผสมรวมกับรำและปลายข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ ตามสัดส่วนที่กำหนด ส่วนการให้อาหารสุกรแต่ละระยะนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับความต้องกรโภชนะของสุกรในแต่ละช่วงอายุ




    1. การจัดการเลี้ยงดู



                       ควรเริ่มเลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ระยะหย่านมที่น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม โดยใช้อาหาร โปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์ ให้สุกรกินเต็มที่ประมาณวันละ 1 – 2 กิโลกรัม จากนั้นเมื่อสุกรขุนมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม จะเปลี่ยนอาหารโดยใช้อาหารโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์แทน ให้สุกรกินอาหารวันละ 2.5 – 3.5 กิโลกรัม จนถึงระยะส่งตลาด เมื่อลูกสุกรมีน้ำหนัก ประมาณ 100 กิโลกรัม ซึ่งตลอดระยะเวลาการเลี้ยง จะต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดทั้งวัน




    1. การสุขาภิบาล



                      ควรทำความสะอาดพื้นคอกสุกรเป็นประจำ เพื่อลดความหมักหมมของเชื้อโรคต่าง ๆ และป้องกันกลิ่นจากมูลสุกรไปรบกวนเพื่อนบ้านอีกด้วย สุกรทุกตัวต้องมีการถ่ายพยาธิ และจัดทำวัคซีนตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

  • ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการตลาด อันได้แก่ ราคาอาหารสัตว์ ราคาพันธุ์สุกร รวมทั้งราคารับซื้อจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่เลี้ยงเป็นสำคัญ 

  • 1.  โรคพยาธิ และโรคอื่น ๆ



                  2.  ความสะอาดของเล้าหมู



                  3.  การให้อาหารให้ถูกส่วน



                  4.  ราคาเนื้อสุกรเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว



                  5.  ราคาอาหารของสุกรเปลี่ยนแปลงอย่างกว้าง 

  • -



     

  • ประกอบอาชีพเลี้ยงหมูควบคู่กับอาชีพทำสวนยางพาราและปลูกสับปะรด มาประมาณ 5  ปี