กลับไปหน้าค้นหา

นางกาญจนา ดาวเรือง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 16 หมู 6 ตำบล : กำพวน อำเภอ : สุขสำราญ จังหวัด: ระนอง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

7. บันทึกความรู้ของปราชญ์/ผู้ประสบความสำเร็จด้านอาชีพ ตามที่ระบุ ในข้อ 6



1. ความเป็นมา  



                   การทอผ้าของกลุ่มผ้าทอมือบ้านโตนกลอย  เป็นการสืบทอดมาจากหมู่บ้านพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งชุมชนกลุ่มบ้านโตนกลอยเดิมเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านพุมเรียง และได้นำภูมิปัญญาในการทอผ้ามาเผยแพร่ที่หมู่บ้านโตนกลอย  ตำบลกำพวน  แห่งนี้  เพื่อเป็นการสืบทอด และเป็นแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพต่อไป 



                   กลุ่มจัดตั้งขึ้นโดยการแนะนำของสำนักงานเกษตรอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง มีสมาชิกแรกเริ่ม  15  คน  มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำกิจกรรมกลุ่มจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน  เช่น  การสนับสนุนจากทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง  ในการสนับสนุนกี่กระตุกให้กับทางกลุ่มฯ  ในปี พ.ศ. 2545   ได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวด หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล เป็นครั้งแรก  ผลการคัดสรรได้ระดับ  3  ดาว  ในปี 2553  ได้ระดับ  ๔  ดาว


ความสำเร็จ :

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ



               3.1 เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน/ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน/ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหาย หรือต้องแก้ไข



                   3.1.1 การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ



                   3.1.2  การเก็บรักษาวัตถุดิบ



                   3.1.3 การจดบันทึกทุกครั้งในการลงมือทำลายผ้า


ความชำนาญ : การทำขนมไทย


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • 7. บันทึกความรู้ของปราชญ์/ผู้ประสบความสำเร็จด้านอาชีพ ตามที่ระบุ ในข้อ 6



    1. ความเป็นมา  



                       การทอผ้าของกลุ่มผ้าทอมือบ้านโตนกลอย  เป็นการสืบทอดมาจากหมู่บ้านพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งชุมชนกลุ่มบ้านโตนกลอยเดิมเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านพุมเรียง และได้นำภูมิปัญญาในการทอผ้ามาเผยแพร่ที่หมู่บ้านโตนกลอย  ตำบลกำพวน  แห่งนี้  เพื่อเป็นการสืบทอด และเป็นแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพต่อไป 



                       กลุ่มจัดตั้งขึ้นโดยการแนะนำของสำนักงานเกษตรอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง มีสมาชิกแรกเริ่ม  15  คน  มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำกิจกรรมกลุ่มจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน  เช่น  การสนับสนุนจากทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง  ในการสนับสนุนกี่กระตุกให้กับทางกลุ่มฯ  ในปี พ.ศ. 2545   ได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวด หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล เป็นครั้งแรก  ผลการคัดสรรได้ระดับ  3  ดาว  ในปี 2553  ได้ระดับ  ๔  ดาว

  • 2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ



              2.1 ขั้นตอนการผลิต



                เตรียม ลายผ้าขาวม้า ขนาดของฟืม เส้นใยประดิษฐ์



               1) กรอเส้นใยประดิษฐ์ใส่ท่อพีวีซีสำหรับยืน



     2) นำเส้นใยประดิษฐ์ที่หมุนแล้วใส่ในราวตั้งหลอด



     3) เดินเส้นใยประดิษฐ์



     4) สอดเส้นเส้นใยประดิษฐ์เข้าฟืม (ฟันหวี)



     5) หวีเส้นใยประดิษฐ์แล้วม้วนเข้าไม้ม้วนด้าย



     6) เก็บตะกอ



     7) หมุนเส้นใยประดิษฐ์ใส่หลอดเล็กสำหรับทอ



     8) นำหลอดเล็กใส่ลูกกระสวย



     9) การทอ



    อนึ่ง  หัวม้วน  1  หัว  ได้ผ้าขาวม้าประมาณ  25  ผืน  ขนาดกว้าง  85  เซนติเมตร  ยาว  480  เซนติเมตร

  • 3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ



                   3.1 เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน/ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน/ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหาย หรือต้องแก้ไข



                       3.1.1 การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ



                       3.1.2  การเก็บรักษาวัตถุดิบ



                       3.1.3 การจดบันทึกทุกครั้งในการลงมือทำลายผ้า

  • 2.2 เทคนิคหรือเคล็ดลับการผลิต



    ในการเลือกฟืมในการสอดเส้นใยประดิษฐ์ต้องจำไว้ว่าฟืมเบอร์ 60 ในจำนวนขนาด 2 นิ้วจะมี 60 ช่อง ถ้าเป็นเบอร์ 52 ในจำนวนขนาด 2 นิ้วก็จะมี 52 ช่อง เช่นกัน

  • 8. เกียรติคุณ/รางวัลที่ได้รับ



              1) รางวัล OTOP  ระดับ  4 ดาว จากการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย เมื่อปี พ.ศ.  2555   หน่วยงาน พัฒนาชุมชน



              2) รางวัล  สตรีดีเด่น  สาขาสิ่งแวดล้อม   หน่วยงาน พัฒนาชุมชน/พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  • 9. ประสบการณ์ถ่ายทอดความรู้



              1) โครงการ/หลักสูตร การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านสู่เด็กและเยาวชน (การทอผ้า)



              2) โครงการ/หลักสูตร การทำพรมเช็ดเท้าด้วยผ้าห่วง



              3) โครงการ/หลักสูตร การทำบัญชีครัวเรือน (กรมตรวจบัญชี)