กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวประไพ เรืองฤทธิ์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 71 หมู 5 ตำบล : กำพวน อำเภอ : สุขสำราญ จังหวัด: ระนอง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

1. ความเป็นมา  



    ขนมเปียกปูน มีความเป็นไทย  ใช้สีธรรมชาติ รสชาติหอมหวาน ใช้ภูมิปัญญาแบบโบราณ โดยใช้เตาถ่านในกรรมการวิธีการผลิต  และกวนด้วยมือ ส่งผลให้ขนมที่ได้จะมีกลิ่นหอม  เหนียว นุ่ม  อร่อย  โดดเด่นที่สีสันและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะขนมเปียกปูสีดำที่ได้จากกาบมะพร้าวเผา สีเขียวได้จากใบเตยกลิ่นหอม ๆ โรยมะพร้าวทึนทึกขูดขาวลงไปอีกสักหน่อย


ความสำเร็จ :

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ



               3.1 เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน/ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน/ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหาย หรือต้องแก้ไข



                   3.1.1 การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ  แป้งข้าวเจ้าที่ใช้ต้องใช้แป้งตราช้างสามเศียรเท่านั้น  และใช้แป้งท้าวยายม่อม  แทนแป้งมันสำปะหลัง



                   3.1.2 การเก็บรักษาวัตถุดิบควรเก็บในที่แห้งและไม่โดดแดด



                   3.1.3 การกวนขนม  ควรใช้ไฟอ่อนๆ และกวนไปในทิศทางเดียวกัน



                   3.1.4 ส่วนผสม ต้องใช้ถ้วยตวงที่ได้มาตรฐาน



                   3.1.5  น้ำปูนใส  ต้องตั้งทิ้งไว้ให้น้ำใส อย่างน้อย  1 ชั่วโมง


ความชำนาญ : ขนมไทย


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • 1. ความเป็นมา  



        ขนมเปียกปูน มีความเป็นไทย  ใช้สีธรรมชาติ รสชาติหอมหวาน ใช้ภูมิปัญญาแบบโบราณ โดยใช้เตาถ่านในกรรมการวิธีการผลิต  และกวนด้วยมือ ส่งผลให้ขนมที่ได้จะมีกลิ่นหอม  เหนียว นุ่ม  อร่อย  โดดเด่นที่สีสันและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะขนมเปียกปูสีดำที่ได้จากกาบมะพร้าวเผา สีเขียวได้จากใบเตยกลิ่นหอม ๆ โรยมะพร้าวทึนทึกขูดขาวลงไปอีกสักหน่อย

  • 2.1 ขั้นตอนการผลิต



                            ส่วนผสม   (จำนวน  1 ถาด  42 ชิ้น)    




    • แป้งข้าวเจ้า 3.5  กิโลกรัม

    • แป้งเท้ายายม่อม กับแป้งมัน รวมกันในปริมาณที่เท่ากัน 2 กรัม

    •   3  กิโลกรัม

    •  

    • 1  กิโลกรัม

    •  

    • มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น สำหรับโรยหน้า

       



    วิธีทำ



                       1) นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้ากัน  คนให้เข้ากัน  ประมาณ 20  นาที



    2) ใช้กระชอนกรองแป้ง ให้แป้งละเอียด เป็นเนื้อเดียวกัน



    3) นำส่วนผสมทั้งหมดใส่หม้อ นำไปกวนด้วยไฟอ่อน   ประมาณ  1 ชั่วโมง ผสมแป้งข้าว



    4) เทใส่ถาดที่เตรียมไว้ พักทิ้งไว้จนส่วนผสมเซตตัว ตัดเป็นชิ้น ๆ โรยมะพร้าวขูด พร้อมเสิร์ฟ



     

  • 3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ



                   3.1 เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน/ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน/ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหาย หรือต้องแก้ไข



                       3.1.1 การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ  แป้งข้าวเจ้าที่ใช้ต้องใช้แป้งตราช้างสามเศียรเท่านั้น  และใช้แป้งท้าวยายม่อม  แทนแป้งมันสำปะหลัง



                       3.1.2 การเก็บรักษาวัตถุดิบควรเก็บในที่แห้งและไม่โดดแดด



                       3.1.3 การกวนขนม  ควรใช้ไฟอ่อนๆ และกวนไปในทิศทางเดียวกัน



                       3.1.4 ส่วนผสม ต้องใช้ถ้วยตวงที่ได้มาตรฐาน



                       3.1.5  น้ำปูนใส  ต้องตั้งทิ้งไว้ให้น้ำใส อย่างน้อย  1 ชั่วโมง

  • 2.2  เทคนิคหรือเคล็ดลับการผลิต



                    1) ใช้เตาถ่านในกรรมวิธีการผลิต กวนด้วยมือ ส่งผลให้ขนมที่ได้จะมีกลิ่นหอม เหนียว นุ่ม อร่อย



                    2) ใช้สีธรรมชาติ ปลอดภัย สีสัน น่ารับประทาน



                    3) มะพร้าวที่ใช้ โรยหน้าขนม ควรเป็นมะพร้าวน้ำหอม ถ้าจะให้เก็บไว้ได้นานควรนำไปนึ่งก่อน



    และโรยด้วยเกลือ

  • 8. เกียรติคุณ/รางวัลที่ได้รับ



              1) รางวัล แผนธุรกิจดีเด่นระดับจังหวัด หน่วยงาน  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดระนอง  



              2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง  การประกวดกลุ่มอาชีพดีเด่น  หน่วยงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดระนอง

  • 9. ประสบการณ์ถ่ายทอดความรู้



              1) การทำขนมเปียกปูน  หน่วยงาน โรงเรียนบ้านสุขสำราญ  และโรงเรียนสุขสำราญราษฎร์รังสรรค์   หมู่ที่ ๕  ตำบลกำพวน  อำเภอสุขสำราญ  จังหวัดระนอง



              2)  การฝึกทักษะการทำพรมเอนกประสงค์    หน่วยงาน พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดระนอง



              3)  การเรียนรู้การทำขนมไทย  หน่วยงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง