กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวลัดดา อาจหาญ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ ทีบ้านเลขที่ 4 หมู 1 ตำบล : กำพวน อำเภอ : สุขสำราญ จังหวัด: ระนอง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปวส.
ประวัติ :

หมู่บ้านทะเลนอกเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีสภาพพื้นที่ติดกับชายหาดและภูเขาชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไปมีทั้งการทำอาชีพประมง อาชีพเกษตรกร แม่บ้าน หลังจากนั้นเมื่อปี 2547 เกิด สึนามิ ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย หลังจากนั้นมีหน่วยงาน ภาครัฐเข้ามาให้การส่งเสริมด้านอาชีพ คนในชุมชนจึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มทำสบู่สมุนไพรเพราะคิดว่าสบู่มีความสำคัญกับคนในการใช้ชีวิตประจำวัน และอีกทั้งในชุมชนมีมะขามในชุมชนเยอะ



จากการเกิดวิกฤติหลัง สึนามิ ทำให้คนในชุมชน มีความอยากรู้ว่าเราใช้สบู่มาตั้งแต่เกิดแต่เราไม่เคยรู้เลยว่าสบู่ทำอย่างไรจึงได้ทดลองทำสบู่สมุนไพรมะขามที่มีในชุมชนและสบู่มะขามยังช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพผิวดี



มะขามเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ช่วยในการขัดผิวทำให้ผิวสะอาดและช่วยรักษาอาการผื่นคันได้ ความเชื่อทางการแพทย์มีสาร AHA ที่ทำให้เซลที่เสื่อมแล้วหลุดลอกทำให้เห็นผิวที่กระจ่างใส



สบู่สมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนทุกครอบครัวต้องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทำความสะอาดร่างกาย ใช้ตอนเช้าสดชื่นไปถึงเย็น และ ถ้าใช้ตอนเย็นจะหลับสบายไปถึงเช้า เป็นภูมิปัญญาร่วมสมัย



ประโยชน์ของสบู่สมุนไพรมะขาม ใช้ทำความสะอาดร่างกายทำให้สดชื่อและมีสารที่ทำให้ผิวกระจ่างใสและแก้อาการผดผื่นคันได้



ก่อนหน้านี้กลุ่มสบู่ทำสบู่โดยใช้ไขมันปาล์มมากวนซึ่งใช้ความร้อนจากเตาแก๊สเติมน้ำไปเรื่อยๆหีบห่อก็ห่อกับพลาสติกใสๆแต่หลังจากนั้นเราก็ได้เปลี่ยนมาใช้โซเดียมไฮดร็อกไซซึ่งกวนง่ายและได้คุมการผลิตทุกขั้นตอนหีบห่อก็ยังนำกะลามะพร้าวขัดมาเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์สำนักงานพัฒนาชุมชน / กรมจัดหางาน จ.ระนอง / คุณโบดี้ / นิคมปากจั่น / เทศบาลตำบลกำพวน / พานิชจังหวัด /สำนักงานเกษตร อ.สุขสำราญ


ความสำเร็จ :

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ



               3.1 เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน/ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน/ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหาย หรือต้องแก้ไข



                   3.1.1 การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ



                   3.1.2 การเก็บรักษาวัตถุดิบ



                   3.1.3 การจดบันทึกทุกครั้งในการลงมือทำสบู่ จะได้สบู่ที่มีคุณภาพเหมือนเดิม และทราบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย


ความชำนาญ : การทำสบู่สมุนไพร


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • หมู่บ้านทะเลนอกเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีสภาพพื้นที่ติดกับชายหาดและภูเขาชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไปมีทั้งการทำอาชีพประมง อาชีพเกษตรกร แม่บ้าน หลังจากนั้นเมื่อปี 2547 เกิด สึนามิ ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย หลังจากนั้นมีหน่วยงาน ภาครัฐเข้ามาให้การส่งเสริมด้านอาชีพ คนในชุมชนจึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มทำสบู่สมุนไพรเพราะคิดว่าสบู่มีความสำคัญกับคนในการใช้ชีวิตประจำวัน และอีกทั้งในชุมชนมีมะขามในชุมชนเยอะ



    จากการเกิดวิกฤติหลัง สึนามิ ทำให้คนในชุมชน มีความอยากรู้ว่าเราใช้สบู่มาตั้งแต่เกิดแต่เราไม่เคยรู้เลยว่าสบู่ทำอย่างไรจึงได้ทดลองทำสบู่สมุนไพรมะขามที่มีในชุมชนและสบู่มะขามยังช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพผิวดี



    มะขามเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ช่วยในการขัดผิวทำให้ผิวสะอาดและช่วยรักษาอาการผื่นคันได้ ความเชื่อทางการแพทย์มีสาร AHA ที่ทำให้เซลที่เสื่อมแล้วหลุดลอกทำให้เห็นผิวที่กระจ่างใส



    สบู่สมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนทุกครอบครัวต้องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทำความสะอาดร่างกาย ใช้ตอนเช้าสดชื่นไปถึงเย็น และ ถ้าใช้ตอนเย็นจะหลับสบายไปถึงเช้า เป็นภูมิปัญญาร่วมสมัย



    ประโยชน์ของสบู่สมุนไพรมะขาม ใช้ทำความสะอาดร่างกายทำให้สดชื่อและมีสารที่ทำให้ผิวกระจ่างใสและแก้อาการผดผื่นคันได้



    ก่อนหน้านี้กลุ่มสบู่ทำสบู่โดยใช้ไขมันปาล์มมากวนซึ่งใช้ความร้อนจากเตาแก๊สเติมน้ำไปเรื่อยๆหีบห่อก็ห่อกับพลาสติกใสๆแต่หลังจากนั้นเราก็ได้เปลี่ยนมาใช้โซเดียมไฮดร็อกไซซึ่งกวนง่ายและได้คุมการผลิตทุกขั้นตอนหีบห่อก็ยังนำกะลามะพร้าวขัดมาเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์สำนักงานพัฒนาชุมชน / กรมจัดหางาน จ.ระนอง / คุณโบดี้ / นิคมปากจั่น / เทศบาลตำบลกำพวน / พานิชจังหวัด /สำนักงานเกษตร อ.สุขสำราญ

  • 2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ



              2.1 ขั้นตอนการผลิต



                เตรียม หม้อแสตนเลส  ไม้พาย  ถังใส่น้ำแบบพลาสติก  เทอร์โมมิเตอร์   กระป๋องใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) หรือโซดาไฟ แบบพลาสติก  แก้วตวงแบบพลาสติก  ตาชั่งดิจิตอล   ฟิวเจอบอร์ดกรองกะทิ



              1) ตวงน้ำให้ได้ 110 กรัม



    2) ตวงโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) หรือโซดาไฟ ให้ได้ 128 กรัม



                3) นำโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) หรือโซดาไฟ เทลงในถังที่เตรียมไว้แล้วคนจนกว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) หรือโซดาไฟ จะละลายหมด



    4. ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดความร้อนของโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) หรือโซดาไฟ ที่ผสมกับน้ำ ความร้อนอยู่ที่ 94.1 องศา รอให้ความร้อนลดลงเหลือแค่ 50 องศา หรือต่ำกว่า 50 องศา แต่ไม่ให้เกินกว่านี้เพราะสบู่จะไม่แข็งตัว



    5. ตวงน้ำมันปาล์ม 500 กรัม / น้ำมันองุ่น 200 กรัม / น้ำมันมะพร้าว 50 กรัม / น้ำมันงา 50 กรัม



    6. ตวงขมิ้นชันให้ได้ 10 กรัม



    7. เทน้ำที่ผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) หรือโซดาไฟ ลงในหม้อน้ำมันที่เตรียมไว้ ให้เด็กๆช่วยกันคนและไปทางเดียวกันจนรู้สึกว่ามันเหนียวได้ที่ แล้วเทผงขมิ้นชันที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในหม้อแล้วคนให้เข้ากันใส่กลิ่นตามต้องการ



    8. เทสบู่ที่ได้ลงในถาดฟิวเจอร์บอร์ดที่เตรียมไว้ปาดหน้าให้สวยงาม



    9. เสร็จสิ้นการทดลอง ทิ้งไว้ 1 เดือนจึงจะสามารถนำมาใช้ได้



    10.บรรจุหีบห่อพร้อมส่ง

  • 3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ



                   3.1 เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน/ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน/ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหาย หรือต้องแก้ไข



                       3.1.1 การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ



                       3.1.2 การเก็บรักษาวัตถุดิบ



                       3.1.3 การจดบันทึกทุกครั้งในการลงมือทำสบู่ จะได้สบู่ที่มีคุณภาพเหมือนเดิม และทราบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย

  • -
  • 8. เกียรติคุณ/รางวัลที่ได้รับ



              1) รางวัล OTOP  ระดับ  5 ดาว จากการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย เมื่อปี พ.ศ.  2555   หน่วยงาน พัฒนาชุมชน



              2) รางวัล  สตรีดีเด่น  สาขาสิ่งแวดล้อม   หน่วยงาน พัฒนาชุมชน/พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



    9. ประสบการณ์ถ่ายทอดความรู้



              1) โครงการ/หลักสูตร  การสาธิตการทำสบู่สมุนไพรแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนหมู่บ้านทะเลนอก  หน่วยงาน คณะกรรมการกลุ่มสบู่สมุนไพรบ้านทะเลนอก 



              2) โครงการ/หลักสูตร การนำขยะมารีไซเคิลเป็นกระเป๋า  ของใช้  .หน่วยงาน แกนนำเยาวชนบ้านทะเลนอก

  • -