กลับไปหน้าค้นหา

นางพยอม แจ่มนิยม

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ ๙/๑ หมู 4 ตำบล : วัดละมุด อำเภอ : นครชัยศรี จังหวัด: นครปฐม
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

        เกิดจากการเป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลานแหลม(ระดับตำบล) ในปี 2521 เป็นการทำจักสานผักตบชวา โดยนำความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านที่ได้ทำสืบทอดกันมา และได้วิทยากรมาฝึกสอนอาชีพเพิ่มเติมจากทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนครชัยศรี และได้แยกตัวออกจากกลุ่มเดิม(ระดับตำบล) มาจัดตั้งกลุ่มระดับหมู่บ้าน ในปี 2524 งานจักสานผักตบชวาเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอย เป็นการช่วยเหลือครอบครัวของเกษตรกรให้มีรายได้เสริม เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และทางกลุ่มยังได้เข้าร่วมแสดงกิจกรรมกับพิพิธภัณฑ์วิถีชาวนาไทยบ้านลานแหลม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 


ความสำเร็จ :

        ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องจักสานผักตบชวา ได้สนองความต้องการของตลาดผู้บริโภคที่หลากหลาย พัฒนาวิธีการผลิต รูปแบบเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพคงทนเหมาะสมต่อการใช้งาน มีลวดลายที่สวยงามทันสมัย ควบคู่กับการอนุรักษ์ลวดลายดั้งเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างยาวนานแต่ครั้งอดีต ผลิตภัณฑ์ได้รับความสนใจอันเป็นมูลเหตุจูงใจให้กลุ่มฯสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 20 คน ลักษณะที่โดดเด่นของจักสานผักตบชวา คือ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และใช้วัสดุจากธรรมชาติ ที่หาได้ง่ายภายในหมู่บ้านตำบล และนำมาเพิ่มมูลค่า มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์แบบไทย สมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตรีอยู่ในหมู่บ้าน เมื่อว่างจากงานประจำก็จะใช้เวลามาจักสานผักตบชวา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนี้ยังสอนให้กับลูกหลานเพื่อสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง



 


ความชำนาญ : จักสานผักตบชวา


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •         เกิดจากการเป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลานแหลม(ระดับตำบล) ในปี 2521 เป็นการทำจักสานผักตบชวา โดยนำความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านที่ได้ทำสืบทอดกันมา และได้วิทยากรมาฝึกสอนอาชีพเพิ่มเติมจากทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนครชัยศรี และได้แยกตัวออกจากกลุ่มเดิม(ระดับตำบล) มาจัดตั้งกลุ่มระดับหมู่บ้าน ในปี 2524 งานจักสานผักตบชวาเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอย เป็นการช่วยเหลือครอบครัวของเกษตรกรให้มีรายได้เสริม เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และทางกลุ่มยังได้เข้าร่วมแสดงกิจกรรมกับพิพิธภัณฑ์วิถีชาวนาไทยบ้านลานแหลม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 

  •         ขั้นตอนการจักสานผักตบชวามีอยู่ 9 ขั้นตอน ดังนี้




    1. การเก็บ หมายถึง การเก็บผักตบชวาที่มีอยู่ในแหล่งน้ำ เลือกหาเอาก้านใบที่ยาวและไม่แก่เกินไป ตัดออกจากกกกอ

    2. การล้าง เมื่อเก็บก้านใบของผักตบชวาได้ตามความต้องการแล้ว นำมาล้างน้ำขัดถูให้สนิมและสิ่งเปรอะเปื้อนออกให้หมด

    3. คัด แยก ผ่าซีก คือ ทำการคัดแยกและผ่าซีกก้านใบผักตบชวา เป็น 3 ชนิด เช่น ก้านที่ยาวตรงแยกไว้ที่หนึ่ง ชนิดบิดงอแยกไว้ที่หนึ่ง และชนิดก้านสั้นแยกไว้อีกที่หนึ่ง แล้วนำมาผ่าเป็นซีก 

    4. ตากแดด เมื่อคัด ผ่าซีกแล้ว ทำเป็นกำ กำละ 100 ก้าน แล้วนำไปตากแดด จนผักตบชวาแห้งสนิทดี

    5. การอบ เมื่อผักแห้งสนิทดีแล้ว ก็นำมาจุ่มน้ำให้เปียกนุ่มนิ่ม และนำไปอบที่เตาอบ ถ้าหากไม่มีเตาอบก็ให้ใช้โอ่งน้ำแทนเตาอบ โดยการนำผักตบมาใส่แบบวนรอบด้านในให้เหลือตรงกลางว่างไว้เพื่อสำหรับใส่กำมะถันชนิดผงประมาณ 1 กำมือไว้ที่ตรงกลางของก้นโอ่ง แล้วใช้จานสังกะสีรองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ฉีกเป็นฝอยนำเอากำมะถันผงวางลงกับกระดาษหนังสือพิมพ์ เสร็จแล้วจุดไฟที่กระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วรีบหากระสอบป่านหรือผ้าหนาๆ ปิดที่ฝาโอ่ง ข้อควรระวัง อย่าให้ควันระเหยของกำมะถันเข้าปากหรือเข้าจมูก จะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย

    6. ตากแดดอีกครั้ง นำผักตบชวาที่อบในที่อบ 1 วัน หรือ 1 คืนแล้ว ออกมาตากแดดให้แห้งสนิท

    7. เก็บรักษา เมื่อผักแห้งสนิทดีแล้วนำไปใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้สนิทมิดชิดอย่าให้ความชื้นเข้าไปได้ จะทำให้เกิดรา

    8. การจักสาน เลือกผักที่แห้งคัดแยกที่ก้านยาว ทำเป็นคอกยืน ผักแห้งที่ก้านสั้นใช้สานเป็นภาชนะที่ลูกๆ ซีกที่ผ่าต้องนำมาเจียน เจียนคือใช้กรรไกรมาขลิบสองข้างของโคนกก ให้มีขนาดเล็กใหญ่ใกล้เคียงเท่าๆกัน

    9. การสาน คือการสานขึ้นรูปตามแบบหรือหุ่นรูปทรงที่ต้องการ ของผู้สานหรือผู้ใช้สอยนั่นเอง



    ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ 



    -กระเป๋าสตรีทรงรังผึ้งลายทวารวดี(ลายดอกพิกุล)



    -กระเป๋าสตรีรูปทรงรังผึ้งหลวงลายทวารวดี(ลายดอกพิกุล)



    กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่



    วัตถุดิบ




    1. ผักตบชวาอบด้วยสารกำมะถัน ชนิด ก้านผ่าซีกและย้อมสี

    2. เส้นเปีย 3 พร้อมย้อมด้วยสีต่างๆ

    3. แบบหรือหุ่น

    4. กรรไกร

    5. กาว

    6. ค้อน

    7. ตะปูเล็ก

    8. ผ้าปุชั้นใน

    9. ซิปผ้าปิดกระเป๋า

    10. สายถัก หรือสายหนัง-ไม้



    ขั้นตอนการผลิต




    1. นำโฟมมาประดิษฐ์เป็นรูปทรง ผลส้มโอและรังผึ้งหลวง

    2. นำวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้มาสานเข้ารูปตามแบบแล้วสานใส่ลายทวารวดี ลายดอกพิกุลทั้งแบบไปจนเสร็จ



    แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์




    1. ณ ที่ทำการกลุ่ม จำหน่ายทั้งขายปลีกและขายส่ง

    2. ณ ลานวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

    3. งานออกบูธแสดงสินค้าของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

  •         ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องจักสานผักตบชวา ได้สนองความต้องการของตลาดผู้บริโภคที่หลากหลาย พัฒนาวิธีการผลิต รูปแบบเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพคงทนเหมาะสมต่อการใช้งาน มีลวดลายที่สวยงามทันสมัย ควบคู่กับการอนุรักษ์ลวดลายดั้งเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างยาวนานแต่ครั้งอดีต ผลิตภัณฑ์ได้รับความสนใจอันเป็นมูลเหตุจูงใจให้กลุ่มฯสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 20 คน ลักษณะที่โดดเด่นของจักสานผักตบชวา คือ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และใช้วัสดุจากธรรมชาติ ที่หาได้ง่ายภายในหมู่บ้านตำบล และนำมาเพิ่มมูลค่า มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์แบบไทย สมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตรีอยู่ในหมู่บ้าน เมื่อว่างจากงานประจำก็จะใช้เวลามาจักสานผักตบชวา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนี้ยังสอนให้กับลูกหลานเพื่อสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง



     

  • -

  • ๑.) รางวัล ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์OTOPระดับ ๔ ดาว หน่วยงาน กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย



     

  • ๑) โครงการ/หลักสูตร การแปรรูปผักตบชวา          หน่วยงาน  โรงเรียนสว่างวิทยา

    ๒) โครงการ/หลักสูตร เครื่องจักสานจากผักตบชวา หน่วยงาน  บ้านหัวโพธิ์ หมู่๕ อ.บางแพ จ.ราชบุรี