โดย :
นางสาวพรรณสิริ แผ้วไพรี ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
2017-06-07-14:52:50
image1

ชื่อองค์ความรู้   ขนมสอดไส้

ชื่อเจ้าขององค์ความรู้  นางสาว ธัญญพัทธ์ เก็บทรัพย์

ที่อยู่  11/3 หมู่3  ถนน วิเศษ  ตำบลราไวย์  อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต

 

ความเป็นมา/แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ

          ความเป็นมา พ่อกับแม่ของข้าพเจ้ามีการประกอบอาชีพทำขนมขาย ข้าพเจ้าจึงได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำขนมสอดไส้จากมารดาเพื่อมาใช้ประกอบอาชีพเสริมและมีการสืบทอดภูมิปัญญาไม่ให้สูญหายไป โดยข้าพเจ้าได้นำขนมไปฝากร้านขาย และตั้งขายหน้าบ้านของข้าพเจ้าเอง อีกทั้งยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนที่สนใจเพื่อประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ต่อไป

          แรงบัลดาลใจ    1. ได้มีการจ้างงานในชุมชนโดยมีการรวมกลุ่มทำขนมไทย และมีหน่วยงานภาครัฐช่วยอุดหนุนขนมของกลุ่มเพื่อใช้ในการฝึกอบรมของหน่วยงาน

                             2. เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้เสริม

          เหตุผลที่ทำ       1. เป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้แก่ชาวบ้านโดยเฉพาะกลุ่มสตรี

                             2. ต้องการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำขนมสอดไส้ให้คงอยู่ต่อไป

 

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อจัดตั้งกลุ่มขนมไทย

          2. เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี)

          1. แป้งข้าวเจ้า                                7. น้ำตาลปีบ

          2. แป้งข้าวเหนียว                            8. เกลือ

          3. แป้งมัน                                     9. กะทิ

          4. แป้งมันสำปะหลัง                          10. มะพร้าวเขียว(สำหรับทำไส้)

          5. น้ำตาลแดง                                12. น้ำเปล่า

          6. น้ำตาลทรายขาว

 

 

 

อุปกรณ์

          1. ใบตอง                                               8. ทัพพีพลาสติก

          2. ก้านมะพร้าว,ใบมะพร้าว                            9. หม้อ

          3. กะละมัง                                             10. กรรไกร

          4. หม้อนึ่ง                                              12. ผ้าเช็ดใบตอง

          5. มีด                                                   13. ถังแก๊ส

          6. กระทะ,ตะหลิว                                      14. ที่ตีไข่

          7. ไม้พาย

 

วิธีการ/ขั้นตอน

          1. เตรียมใบตอง, ใบมะพร้าว, ก้านมะพร้าว ตามจำนวนห่อที่ทำ

          2. เตรียมมะพร้าวเขียวขูด (มะพร้าวไม่แก่) เพื่อนำมากวนทำไส้ โดยไส้น้ำตาลทรายแดง น้ำตายทรายขาวและน้ำตาบปีบ เติมน้ำใส่ลงไปพอประมาณแล้วใส่ลงกระทะ เขี้ยวจนแห้งถึงเหนียว (ไม่หนืดจนเกินไป) พักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จนกว่าสามารถปั้นเป็นไส้ได้

          3. นำน้ำกะทิใส่ในหม้อแล้วใส่แป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลัง เกลือ น้ำตายทรายขาว แล้วนำที่ตีไข่คลุกเคล้าจนทุกอย่างเข้ากัน นำไปตั้งบนเตาโดยใช้ไม้พายกวนอยู่ตลอดเวลาจนได้ที่ประมาณ 20-30 นาที จึงยกลงจากเตา

          4. นำแป้งข้าวเหนียวมาละลายน้ำ แล้วนวดให้เข้ากันสังเกตไม่ให้แป้งแห้งและเปียกเกินไป หลังจากนั้นนำไส้มาปั้นเป็นลูกกลม ๆ  นำแป้งที่เตรียมไว้มาหุ้มแล้วจึงนำไปลวกในหม้อที่ต้มน้ำเดือดพักทิ้งไว้

          5. นำแป้งทำขนมที่เตรียมไว้มาวางบนใบตอง นำใส้ขนมที่พักทิ้งไว้มาวางบนแป้งแล้วห่อห่อใบต่องให้สวยงาม นำขนมไปนึ่งบนเตาจนขนมสุก

 

ข้อพึงระวัง

          1.ใส่ไม่ใส่น้ำตาลเกินปริมาณ เพราะจะทำให้แข็งจนปั้นไม้ได้

          2.ถ้าใส่น้ำตาลน้อยเกินไปจำทำให้ปั้นเป็นเม็ดกลมๆไม่ติด

          3.มะพร้าวอ่อนเกินจะทำให้เปลืองน้ำตาลมาก

          4.มะพร้าวแก่เกินจะทำให้กินไม่อร่อยระคายคอ

          5.ระวังการใส่แป้งมากเกินหน้าจะแข็ง

          6.ระวังการใส่แป้งน้อยเกินจะทำให้หน้าเล๊ะ

          7.การกวนหน้า ถ้าใช้เวลาน้อยขนมจะไม่ได้ตามสูตร(ติดใบตอง)

 

ข้อเสนอแนะ

          1.มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คนในชุมชน

ความสามารถในการจำหน่าย/ให้บริการ  þ  ทุกวัน  o  ตามฤดูกาล  o  ยังไม่สามารถจำหน่าย/บริการ

ชื่อผู้จัดการความรู้  ..นางสาวพรรณสิริ  แผ้วไพรี...............................................................

ตำแหน่ง  ........นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ...............................................................

image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดภูเก็ต
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา