เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวกนกกร นิมิตร์รุ่งเรือง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-21-15:11:32

ที่อยู่ : บ้านเลขที่.....789/79...... หมู่ที่.....-..... ตำบล.......ปากเพรียว........อำเภอ......เมืองสระบุรี......... จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์............18000..............................

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

๑.     ความเป็นมา/แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ (ในการบันทึกองค์ความรู้)

     การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง              ตามแผนงานยุทธศ  าสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้าทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  ได้กำหนดกระบวนการ     ขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้            และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 23,589 หมู่บ้าน อำเภอเมืองสระบุรี จำนวน 17 หมู่บ้าน จำนวน 7 ตำบล

วัตถุประสงค์ ->

(๑) การคัดเลือกปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้าน ๆ ละ 10 คน ปราชญ์ชุมชนเป็น ผู้ที่ประกอบสัมมาชีพ จนมีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพ และสามารถถ่ายทอดขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆได้

         (๒) คัดเลือกปราชญ์ชุมชน 1 คน เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นาสัมมาชีพ”            จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

         (๓) ทีมวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน ผ่านการอบรมโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 3 วัน

         (4) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน หมายถึง ทีมปราชญ์ชุมชนของหมู่บ้าน ๆ ละ 5 คนประกอบด้วย วิทยากรผู้นาสัมมาชีพ 1 คน และปราชญ์ชุมชนที่เข้าร่วมเป็นทีมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน

         (5) ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ หมายถึง ครัวเรือนในหมู่บ้านตามยุทธศาสตร์ที่ 1 (23,589 หมู่บ้าน) จำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน ที่แสดงความประสงค์ต้องการเข้ารับ การฝึกอาชีพ      ตามแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชน ที่ผ่านการอบรมส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน    ในระดับหมู่บ้าน จานวน 5 วัน

         (6) กลุ่มอำชีพ หมายถึง กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นใหม่จากการรวมตัวของผู้แทนครัวเรือนในหมู่บ้านตามยุทธศาสตร์ที่ 1 (23,589 หมู่บ้าน) ตั้งแต่ 5 ครัวเรือนขึ้นไป ซึ่งผ่านการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน  ในระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 วัน ที่มีการประกอบอาชีพเดียวกันหรือประเภทอาชีพเดียวกันมาร่วมกันดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการประกอบอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(๑) การดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุมชนต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

(2) การสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน มีองค์กรสำคัญ 4 องค์กร ทำหน้าที่สนับสนุน และติดตามการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน คือ ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ทุกระดับ คณะกรรมการพัฒนาสตรี     ทุกระดับ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน และเครือข่ายคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

(3)  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และครัวเรือนเป้าหมายสัมมาชีพชุมชนมีความเข้มเข็ง ให้ความร่วมมือร่วมใจกัน มีความเป็นผู้นำ ประสานงาน มีความสามัคคี และมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

อุปกรณ์ ->

          (1) การมีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการสัมมาชีพชุมชนมีสำคัญมาก  ต้องใส่ใจให้ตรงตามความต้องการของชุมชนจริง จึงจะประสบความสำเร็จ  

          (2) การคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนควรเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชนได้ 

          (3) การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนต้องคัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพ       มีความมุ่งมั่นตั้งใจ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ส่งเสริม ติดตาม สนับสนุน ให้ครัวเรือนเป้าหมายสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง    

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา