เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การค้นหาปราชญ์ชาวบ้านที่แท้จริง

โดย : นายธีรานนท์ ศรีแก้ว ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-13-20:49:30

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอผาขาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นบุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ ->

1.  การประสานงานร่วมกับผู้นำ กลุ่มองค์กรในหมู่บ้านเพื่อค้นหาปราชญ์ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

2.  พูดคุยกับปราชญ์ที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ

3.  คัดเลือกปราชญ์ที่สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่ครัวเรือนเป้าหมายได้

4.  ร่วมกับผู้นำในการคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่มีความสมัครใจเข้าร่วมฝึกอบรม

5.  เปิดเวทีให้ปราชญ์ชุมชนได้แสดงความสามารถและถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีอย่างเต็มที่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเลย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา