เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การสร้างวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด

โดย : นายบรรลุเศรษฐ์ พึ่งงาม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-19-13:42:50

ที่อยู่ : 72 หมู่ที่ 13 ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน กำหนดแนวทางในการพัฒนาอาชีพครัวเรือน ภายใต้แนวคิดว่าคนในชุมชนได้รับการพัฒนาอาชีพโดยให้ปราชญ์ชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แบบชาวบ้านสอนชาวบ้าน และให้การ แนะนำช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้จัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อดำเนินตามแผนงานบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง กิจกรรมหลักที่ ๒ สร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมย่อยที่ ๑ สร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพตามกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด
การสร้างสัมมาชีพชุมชนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 จำนวน ๒๔๐ หมู่บ้านๆ ๑ คน รวม ๒๔๐ คน และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชนจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ซึ่งปราชญ์ชุมชนเหล่านี้จะกลับไปสร้าง“ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน”เพิ่มอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ให้เข้มแข็ง เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชนที่มีอยู่ในพื้นที่ และร่วมกันฝึกปฏิบัติในลักษณะ “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” มุ่งเน้นการประกอบอาชีพ  บนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือที่เรียกว่า “สัมมาชีพ” ซึ่งหมายถึง อาชีพไม่เบียดเบียนตนเอง     ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ไม่ได้นำผลกำไรสูงสุดเป็นที่ตั้ง คำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคมให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน เพิ่มรายได้กำไรสูงสุดเป็นที่ตั้ง และ    มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป เพื่อให้ขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ
 

วัตถุประสงค์ ->

การสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด ให้มีคุรภาพและปฏิสิทธิภาพในการขับเคลื่อนในงาระดีบพื้นที่ จังหวัดได้ดำเนินการ ดังนี้ ๑.การประชุมเตรียมความพร้อมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด 
    ๑.๑ การสร้างทีมวิทยากรพี่เลี้ยง  โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อสร้างบรรยากาศให้ปราชญ์มีความพร้อมและสนับสนุนในการทำงานกลุ่ม
    ๑.๒ หัวข้อการบรรยายสร้างความรู้แก่ปราชญ์ชุมชน เช่น 
          ๑.๒.๑ วิชาการสัมมาชีพและสร้างกลุ่ม” (ความรู้สู่สัมมาชีพ /เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องสัมมาชีพชุมชน/สร้างความเข้าใจในแนวทางการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน          
           ๑.๒.๒ วิชา“วิเคราะห์อาชีพ” บรรยายให้เห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน และให้ข้อมูลสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจชุมชน ทิศทางการตลาดของ OTOP    
        ๑.๓ การมอบหมายภารกิจในการขับเคลื่อนสัมมาชีพในระดับพื้นที่                                                             
๒. การประชุมเชิงปฏิบัติสร้างวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัดกำหนดดำเนินการ จำนวน ๒ รุ่น
จังหวัดลพบุรี กำหนดประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด จำนวน ๒ รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ ๑  วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐  ณ โรงแรมป่าสักฮิลล์ไซด์ รีสอร์ท อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยมีปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๕ อำเภอ รวม ๘๙ คน ได้แก่
(๑) อำเภอชัยบาดาล จำนวน ๒๑ คน         (๒) อำเภอสระโบสถ์ จำนวน ๑๙ คน 
(๓) อำเภอโคกเจริญ จำนวน ๑๙ คน         (๔) อำเภอลำสนธิ จำนวน ๑๕ คน 
(๕) อำเภอท่าหลวง จำนวน ๑๕ คน 
รุ่นที่  ๒ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ โรงแรมลพบุรีอินน์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
โดยมีปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๖ อำเภอ รวม ๑๕๑ คน ได้แก่
๑) อำเภอเมืองลพบุรี  จำนวน ๓๕ คน         (๒) อำเภอท่าวุ้ง จำนวน ๒๗ คน 
(๓) อำเภอโคกสำโรง  จำนวน ๒๓ คน     (๔) อำเภอบ้านหมี่ จำนวน ๑๘ คน 
(๕) อำเภอพัฒนานิคม จำนวน ๒๘ คน     (๖) อำเภอหนองม่วง จำนวน ๒๐ คน
. ปราชญ์ชุมชน จะได้รับมอบหมายเข้าร่วมกระบวนการขับเคลื่อนตามโครงการหลัก ดังนี้
        (๑) การส่งเสริมและสนับสนุนประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการ 3 วัน
        (๒) การส่งเสริมและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 วัน
         (๓) ติดตาม สนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพ และทีมวิทยากรสัมมาชีพ ได้แก่ การให้ความรู้การบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ หรือทีมปฏิบัติการตำบลเข้าร่วมโครงการ ซึ่งทีมนี้ มีส่วนช่วยในการแนะนำพัฒนาอาชีพ เทคนิคหรือความรู้ที่ดีมีประโยชน์กับการพัฒนาอาชีพครัวเรือน
         (๓) การส่งเสริมการจำหน่ายและหาช่องทางการจำหน่าย เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม สามารถนำมาเป็นอาชีพเสริมของครอบครัวได้
         (๔) การยกระดับสัมมาชีพชุมชนไปสู่การลงทะเบียน OTOP โดยเริ่มจากการฝึกอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ พัฒนาจนได้รูปแบบ มียอดจำหน่าย และมีระบบการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี ซึ่งเป็นการต่อยอดงานสัมมาชีพอีกทางหนึ่งด้วย
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. การวางแผนการฝึกอบรม ต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ กรอบเนื้อหาที่จะบรรยาย และการมอบภารกิจให้แก่ปราชญ์ชุมชน
๒. การให้ความสำคัญในการดำเนินงานสร้างสัมมาชีพชุมชน ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมีแนวทางในการดำเนินงานสร้างสัมมาชีพที่ชัดเจน
๓. การติดตามให้การสนับสนุนแก่ปราชญ์ชุมชนในการทำงานเพื่อสร้างอาชีพแก่ครัวเรือนเป้าหมาย
 

อุปกรณ์ ->

การคัดเลือกทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชนต้องสอดคล้องกับอาชีพที่ครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมายต้องการฝึกสาธิตอาชีพ ถ้าไม่ตรง จำเป็นต้องหาผู้อื่นมาสอนแทน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.ปราชญ์ชุมชนต้องเสียสละ ตั้งใจในการทำงาน                                               ๒. ต้องมีการวิเคราะห์อาชีพเป็นอย่างดี จึงจะทำให้อาชีพนั้นประสบผล ไม่ใช่เป็นเพียงการอบรมให้ผ่าน ๆ ไป ต้องคำนึงถึงรายได้ที่จะเข้ามาสู่ครัวเรือนได้จริง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา