เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การทำขนมเปี๊ยะไส้ฟักสูตรพิเศษแม่บ้านท่ารวก

โดย : นางละเอียด ยานะพันธุ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-03-15:13:35

ที่อยู่ : 9/2 หมูที่ 6 บ้านท่ารวก ตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ขนมเปี๊ยะไส้ฟัก ขนมทานเล่นยอดนิยม ตามความเชื่อแล้วเจ้าขนมเปี๊ยะนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล ความปรารถนาดีต่อกัน และความสมัครสมานสามัคคี ดังนั้นจึงนิยมใช้ขนมชนิดนี้เป็นของฝากให้แก่คนที่รัก และมักใช้ประกอบในงานเทศกาลต่างๆ ของชาวจีนอีกด้วย ทางหมู่บ้านท่ารวก หมู่ที่ 6 ตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ซึ่งปราชญ์ชุมชนผู้ใหญ่ละเอียดการทำขนมอยู่แล้ว จึงรวมครัวเรือนสัมมาชีพทำขนมเปี๊ยะที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับสมาชิกเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการขั้นตอนการทำ                                                                                                            เริ่มจาก อุปกรณ์ มี เตาอบ (10,000 บาทขึ้นไป), เครื่องนวดแป้ง, กะละมังสเตนเลส, โต๊ะตัวใหญ่, ไม้นวดแป้ง, เตาแก๊ส, หม้อดินหรือหม้ออะลูมิเนียม, กระทะ-ตะหลิว, มีด, ตัวปั๊มที่เป็นตัวอักษรภาษาจีนขนาดต่าง ๆ, ผ้าขาวบางและอุปกรณ์เบ็ดเตล็ด   อื่น ๆ ที่หยิบจากในครัว

         

 

การทำขนมเปี๊ยะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ ๆ

          เริ่มที่ การทำแป้งเปลือกนอก ซึ่งเป็นแป้งที่มีขั้นตอนการทำยุ่งยากและต้องพิถีพิถันมากที่สุด โดยเตรียมส่วนประกอบดังนี้ แป้งสาลีตราว่าว 1 กิโลกรัม, น้ำมันหมู 400 กรัม (น้ำมันพืชก็ได้), แบะแซ 100 กรัม, น้ำตาลทราย 250 กรัม, น้ำเปล่า 300 กรัม และไข่ไก่ 2 ฟอง

          นวดแป้งสาลีกับน้ำมันหมูด้วยเครื่องนวดแป้งให้เข้ากัน โดยใช้ความเร็วปานกลางเมื่อแป้งสาลีเข้ากับน้ำมันดีแล้วค่อย ๆ ต่อยไข่ไก่ลงไปผสมทีละฟอง

          ละลายแบะแซ, น้ำตาลทรายและน้ำเปล่าให้เข้ากัน จากนั้นค่อย ๆ เทส่วนผสมตรงนี้ลงไปตีผสมทีละนิดจนกว่าจะหมด ตีจนกว่าแป้งจะ เนียน หรือประมาณ 30 นาทีก็ใช้ได้

          แบะแซ ทำให้แป้งขนมเปี๊ยะเปลือกนอกอบออกมาแล้วทั้งเหนียวและกรอบ

          การทำแป้งเปลือกใน การทำแป้งชั้นนี้ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่นำแป้งสาลีตราว่าว 1 กิโลกรัม นวดกับน้ำมันหมู 400 กรัมด้วยมือ จนเข้ากันดีก็ใช้ได้แล้ว

          เมื่อเตรียมแป้งทั้งสองส่วนเสร็จแล้ว ก็มาเตรียมไส้ของขนมเปี๊ยะมี 2 ชนิด คือ ไส้ถั่วและไส้ฟัก หรืออาจจะเป็นทั้งไส้ถั่วและฟักรวมกันก็ได้

          การทำไส้ถั่ว ใช้ถั่วเขียวซีกเลาะเปลือกแล้ว 1 กก. ล้างให้สะอาด แล้วต้มแบบใส่น้ำมาก ๆ ดูให้สุกแล้วรินน้ำทิ้ง ป้าสมควรบอกว่าต้มถั่วแบบนี้จะทำให้นิ่มและอร่อยกว่าการนึ่ง

          นำถั่วไปบดให้ละเอียดด้วยไม้นวดแป้ง หากใครไม่มีไม้นวดแป้งก็อาจจะใช้ขวดน้ำแทนก็ได้ ตั้งกระทะใช้ไฟกลางนำถั่วที่บดละเอียดแล้วลงไปกวนกับน้ำตาลทราย 1 กก. พร้อมกับน้ำ 500 กรัมและเกลืออีกเล็กน้อย กวนจนส่วนผสมเข้ากันดี

          การทำไส้ฟัก เตรียมฟักเชื่อมแห้ง 1 กิโลกรัม หั่นให้ละเอียด, มันหมูแข็ง 300 กรัม ต้มให้สุกแล้วหั่นให้ละเอียด, หอมแดงเจียว 100 กรัม หั่นเป็นแว่น ๆ, หัวต้นหอมซอยเล็กน้อย, งาขาวคั่วเล็กน้อยและแป้งโก๋ 200 กรัม นำส่วนผสมทั้งหมดเทลงในภาชนะที่เตรียมไว้ เคล้าให้เข้ากันด้วยมือ  พักไว้

          การปั้นขนมเปี๊ยะ

          นำเปลือกแป้งนอก 200 กรัม ปั้นเป็นก้อนกลมแล้วแผ่แป้งออกให้มีความกว้างหนาพอประมาณ นำแป้งเปลือกในปริมาณเท่ากันปั้นเป็นลูกกลม ๆ วางบนแป้งชั้นนอก ค่อย ๆ เอาแป้งชั้นนอกหุ้มแป้งชั้นใน

          ใช้ไม้นวดแป้งนวดให้เป็นแผ่นยาวพอประมาณ จากนั้นพับส่วนปลาย  ของแป้งทั้งสองข้างให้เข้ามาตรงกลาง แล้วใช้ไม้นวดแป้งนวดให้เป็นแผ่นยาวอีกครั้ง แล้วพับส่วนปลายเหมือนเดิม แล้วนวดให้เป็นแผ่นกลม ๆ

          นำไส้ถั่วและฟักอย่างละ 100 กรัมมาประกบกัน วางลงบนแป้งที่นวดเสร็จแล้ว วางไข่เค็มแดงลงไปตรงกลาง แล้วเอาแป้งห่อไส้ให้สนิท นำแป้งเปลือกนอก 100 กรัม มารีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ มาหุ้มที่ก้อนขนมเปี๊ยะอีก      ชั้นหนึ่ง หากเราไม่ทำแป้งหุ้ม เวลาอบแล้วหน้าขนมจะแตกออก

          ละลายสีผสมอาหารสีแดงกับน้ำพอประมาณ แล้วชุบด้วยผ้าขาวบาง นำตัวปั๊มที่เป็นอักษรภาษาจีนที่เป็นคำแสดงถึงความเป็นมงคล กะขนาดพอดีกับขนาดของขนมเปี๊ยะ จุ่มลงในผ้าขาวบางที่ชุบสีผสมอาหารเอาไว้ แล้วปั๊มลงบนขนมเปี๊ยะ กะน้ำหนักมือให้ดีอย่ากดลงไปแรงมากหรือระวังอย่าให้สีเปรอะกระจายส่วนอื่น เท่านี้ก็เรียบร้อย

          นำเข้าเตาอบอุณหภูมิ 180 ํC ประมาณ 30 นาที  ตอนที่ขนมเปี๊ยะใกล้จะสุก นำไข่ไก่มาตีให้ฟูใช้พู่กันชุบไข่ทาหน้าขนม เพื่อความแวววาวสวยงาม แล้วนำเข้าเตาอบอีกครั้ง เมื่อขนมสุกปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น ห่อขนมด้วยแผ่นพลาสติกใส บรรจุลงกล่องกระดาษเท่านี้ก็ขายได้เลย

          ขนมเปี๊ยะดังกล่าวสามารถทำให้มีขนาดเล็กใหญ่ได้ตามความต้องการของผู้ทำ นอกจากนี้ ป้าสมควรยังได้ทำขนมเปี๊ยะขนาดลูกเล็กไว้จำหน่ายด้วย ซึ่งวิธีการทำก็เหมือนกับขนมเปี๊ยะก้อนใหญ่ทุกประการ แต่แตกต่างกันที่ตอนที่นวดเสร็จแล้วให้ม้วนแป้งยาว ๆ คล้ายการม้วนโรตีสายไหม แล้วใช้มีดหั่นให้เป็นชิ้นบางขนาดหนา 1 เซนติเมตร

          จากนั้น นำไส้ถั่วปั้นให้เป็นก้อนกลม ๆ วางลงบนแผ่นแป้งแล้วค่อยหุ้มปิดไส้อีกครั้ง การหุ้มไส้ตรงนี้ต้องเบามือหน่อยนะคะ เพราะว่าลักษณะแป้งจะออกเป็นชั้น ๆ อย่ากดแป้งแรงเพราะเดี๋ยวชั้นต่าง ๆ ของขนมจะยุบหมด เวลาอบขนมแล้ว หน้าขนมจะไม่แตกออกเป็นชั้น ๆ ส่วนการอบขนมเปี๊ยะเล็กก็เหมือนกับขนมเปี๊ยะชิ้นใหญ่ แต่ใช้ความร้อน 150 ํC 30 นาที

          ขนมเปี๊ยะเล็กน้ำหนัก 300 กรัม 20 บาท ส่วนแบบชิ้นใหญ่ขนาด 600 กรัม ราคา 50 บาท โดยที่ต้นทุนต่อชิ้นประมาณ 30 บาท

 

 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความเอาใจใส่เรื่องคุณภาพของวัตถุดิบและส่วนประกอบในการผลิต และความสะอาดในการผลิตภัณฑ์

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา