เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ปลูกคะน้าปลอดสาร

โดย : นายไพศาล พรมขันธ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-03-13:40:20

ที่อยู่ : 104/1 ม.10 ต.เกาะรัง อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แนวโน้มกระแสคนรักสุขภาพมาแรง การบริโภคผักปลอดสารมีตลาดที่กว้างขึ้น ทำให้ชาวบ้านหนองไม้แก่น            ม.๑๐ ตำบลเกาะรัง ซึ่งเข้าร่วมโครงการสัมมาชีพชุมชนมีความสนใจจึงรวมกลุ่มสร้างหารายได้เสริมหลังจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวเช่นอ้อย มันสำปะหลัง จึงร่วมกลุ่มปลูกผักคะน้าปลอดสารเพื่อไว้ในการบริโภค และจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ในภาคครัวเรือน                                                                                               

วัตถุประสงค์ ->

การเพาะกล้า
ใช้วิธีการหว่านเมล็ดในแปลงที่ยกร่องแปลงสูง ประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดแปลง 2×2.5 เมตร การเตรียมแปลงหว่านให้กำจัดวัชพืช และใช้ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หว่านโรยประมาณ 2 ถัง พร้อมพรวนดินคลุกให้ปุ๋ยผสมกับดิน หลังจากนั้นทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ 1-2 ถุง และให้โรยทำด้วยดินผสมปุ๋ยคอกอีกครั้งก่อนวางทับด้วยฟาง และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3-5 วันหลังจากเมล็ดงอก 7-10 วัน ให้คัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์ และถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง

การเตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูกคะน้ามักปลูกในแปลงที่ยกร่องสูงเหมือนกับการปลูกผักชนิดอื่นๆ
– ระดับแปลงควรสูงอย่างน้อย 20-30 ซม. กว้าง 2-3 เมตร ขนาดความยาวตามความเหมาะสม
– ทำการกำจัดวัชพืช และหว่านโรยด้วยปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ 1000 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กก./ไร่
– ทำการไถกลบแปลง และตากแดดประมาณ 5-10 วัน
– ทำการไถพรวนแปลงอีกครั้งก่อนปลูก และตากดินประมาณ 3-5 วัน

วิธีการปลูก
– การปลูกจะใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 20-30 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 3-5 ใบ ต้นสูงประมาณ 10 ซม.
– การย้ายกล้าปลูกควรมีดินติดรากหรือหากไม่มีให้แช่รากในน้ำระหว่างปลูก และที่สำคัญควรปลูกทันทีเมื่อถอนต้นกล้า
– ระยะปลูกระหว่างต้น และแถวประมาณ 20×20 เซนติเมตร

การดูแล
การให้น้ำ จะให้น้ำตั่งแต่หลังการปลูกทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ในช่วงระยะเริ่มแรก และวันละ 1 ครั้ง ก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 10-15 วัน การให้น้ำสามารถให้ด้วยวิธีธรรมดาด้วยการรดมือหรือใช้ระบบสปริงเกอร์

การใส่ปุ๋ย จะเริ่มใส่ปุ๋ยหลังจากปลูกต้นกล้าประมาณ 10-15 วัน ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมด้วยกับปุ๋ยคอกประมาณ 300 กก./ไร่ สำหรับปุ๋ยเคมีอาจให้ด้วยวิธีการหว่านหรือการละลายน้ำแล้วฉีดพ่น

การกำจัดวัชพืช ควรมีการตรวจสอบแปลงคะน้า และกำจัดวัชพืชเป็นประจำทุกเดือนหลังการปลูก

การเก็บผลผลิต
คะน้าสามารถเก็บต้นได้หลังจากหว่านเมล็ด 40-60 วัน ด้วยการใช้มีดตัดชิดโคนต้น ไม่ควรใช้มือเด็ดถอน พร้อมเด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก 1-2 ใบ และนำมาล้างทำความสะอาด ทั้งนี้ อาจต้องเก็บผักก่อนระยะกำหนดหากมีอาการเกิดโรคในระยะที่คะน้าโตเต็มที่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ปลูกผักคะน้าปลอดสารเพื่อบริโภคและจำหน่าย                                                                                      2.เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมในภาคครัวเรือง                                    

3.เพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา