เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์

โดย : นายจำรัส อินทร์เผือก ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-29-16:06:15

ที่อยู่ : 8/2 หมู่ที่ 7 ต.นิคมสร้างตนเอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าวโพดในสมัยโบราณของไทย อาจเป็นพืชหลวง หรือพืชหายากดังกล่าวมาแล้ว ราษฎรสามัญอาจไม่ได้ปลูกกันมาก แต่เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่มีความเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของไทย และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย ฉะนั้น ในระยะต่อมาจึงได้ขยายพันธุ์ออกไปในหมู่ประชาชนอย่างแพร่หลายแต่ก็คงมีการปลูกกันไม่มากนัก เพราะไม่ใช้เป็นอาหารหลักเหมือนข้าวเจ้า ส่วนมากคงปลูกในสวน ในที่ดอน หรือในที่ที่น้ำไม่ท่วม เพื่อรับประทานแทนข้าวบ้างในยามเกิดทุพภิกขภัยเมื่อทำนาไม่ได้ผล การปลูกข้าวโพดในสมัยก่อนๆ นั้นจึงไม่สู้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเท่าใดนัก

วัตถุประสงค์ ->

1.ประกาศรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย

2.ประชุมชี้แจงตามโครงการ

3.อบรมให้ความรู้การปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์

4.ติดตามครัวเรือนเป้าหมายหลังอบรม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การจะปลูกข้าวโพดอินทรีย์นั้น จะต้องทำการเตรียมดินลึก 15-20 เซนติเมตร โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คือขี้ไก่แกลบ หลังจากนั้น 7 วันเริ่มทำการปลูกข้าวโพดและเก็บเกี่ยวหลังปลูกได้ 70-75 วัน (แล้วแต่พันธ์ข้าวโพด)

อุปกรณ์ ->

- จะต้องมีแหล่งน้ำสำหรับให้น้ำข้าวโพดตลอดอายุการเก็บเกี่ยว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเลือกพันธุ์ข้าวโพดหวานที่เป็นพันธุ์ส่งเสริมแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้คือ

                        1.1 พันธุ์ผสมเปิด  ได้แก่ ฮาวายเอี้ยนซูการ์ซุปเปอร์สวีท  ซุปเปอร์สวีทดีเอ็มอาร์

และไทยซุปเปอร์คอมพอสิต 1 ดีเอ็มอาร์  จุดเด่น  คือเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดใช้ทำพันธุ์ต่อได้  จุดด้อย  ลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอ

                        1.2 พันธุ์ลูกผสม  ได้แก่  เอทีเอส 2  เอทีเอส 5  ซูการ์ 73 ซูการ์ 74  ซูการ์ 75  ไฮบริกซ์ 3  ไฮบริกซ์ 10  อินทรี 2  สองสี 58 สองสี 39 ทวิวรรณ 2  หวานดัชนี  พันธุ์หวานทอง   โดยจุดเด่น  ลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ  ได้แก่  ความสูงของต้น  ความสูงของฝัก  ขนาดฝัก  อายุวันออกไหมและเก็บเกี่ยวพร้อมกัน  โดยให้ผลผลิตสูงตั้งแต่  1.5 - 2 ตัน  จุดด้อย  ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้(ปัญญา,  ม.ป.ป.)

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา