เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การขับเคลื่อนตลาดนัดสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

โดย : นางนิตติยา ทองยิ้ม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-10-19:57:38

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน ได้ประกาศวาระกรมการพัฒนาชุมชน (Agenda) ปี 2560 โดยมีเป้าหมาย คือ “เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคงประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข” ด้วย 3 ปัจจัยขับเคลื่อน คือ ๑) พัฒนาอาชีพครัวเรือน  ๒) หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  ๓) เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ   โดยมี 5 ปัจจัยหนุนเสริม คือ ๑) ส่งเสริมองค์กรธรรมาภิบาล  ๒) พัฒนาบุคลากรและผู้นำชุมชน ๓) พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและจัดการความรู้ ๔) พัฒนากระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ๕) กองทุนหนุนเสริมอาชีพครัวเรือน เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้ ด้วยกลไกประชารัฐ                                                       การสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ได้ตอบสนองนโยบายรัฐบาล เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ โครงการ สร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้มุ่งเน้นที่จะยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพ “สัมมาชีพชุมชน” และมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ซึ่งให้ชาวบ้านได้สอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพ สร้างรายได้เกิดผลิตภัณฑ์ OTOP รายใหม่ทุกหมู่บ้าน

อำเภอชุมแสง ได้มีการขยายผลการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน มีการส่งเสริมการตลาดจัดให้มีแหล่งสำหรับจำหน่ายผลผลิตที่เกิดจาการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน ตามโครงการตลาดนัดสัมมาชีพชุมชน เพื่อเป็นช่องทางการตลาดของผลิตผลจากสัมมาชีพชุมชน อีกช่องทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ ->

            ๑ ประชุมผู้แทนหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน ภาคีการพัฒนา ภาครัฐ เอกชน และประชาชนเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินงานตลาดนัดสัมมาชีพ ในระดับอำเภอ

            ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารตลาดนัดสัมมาชีพชุมชนในระดับอำเภอ

            ๓ กำหนดแผนการดำเนินงานและการพัฒนาตลาดนัดสัมมาชีพชุมชน ประกอบด้วย

๑) การจัดทำระเบียบเพื่อยกระดับมาตรฐานของตลาดนัดชุมชน ในด้านการจัดการ

ด้านคุณภาพสินค้า  ด้านราคาเป็นต้น

๒) การสร้างเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ของตลาดนัดชุมชนเช่นรูปแบบเครื่องแต่งกายการใช้บรรจุภัณฑ์ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงสินค้าจากเครือข่าย ภาคีมาจำหน่ายเพื่อสร้างความหลากหลาย เป็นต้น

๓) สนับสนุนให้ตลาดนัดแต่ละแห่งจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า อย่างน้อยเดือนละ

๑ ครั้ง

๔) การจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่องในงานเทศกาล วันสำคัญ  การจัดแสดงของเยาวชน  สถาบันการศึกษา กิจกรรมการสาธิต การฝึกอาชีพ  การส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑.มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

๒. การประสานความร่วมมือจากหน่ายงานภาคีเพื่อร่วมดำเนินการ มีอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงและพัฒนา

๓. การให้กำลังใจซึ่งกันและกันทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น

 

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรมีการจัดเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา