เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคส่งเสริมการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางนิตติยา ทองยิ้ม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-10-17:33:56

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภถอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้าทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐโดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป  ซึ่งตนเองได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในพื้นที่ตำบลไผ่สิงห์ ตำบลโคกหม้อ ตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  มีหมู่บ้านสัมมาชีพ ในความรับผิดชอบจำนวน 5 หมู่บ้าน มีปราชญ์สัมมาชีพหมู่บ้านละ 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 25 คน ครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมายหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 100 ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

๑.ศึกษาแนวทางในการดำเนินงานโครงการสัมมาชีพชุมชนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ชัดเจน ในเวลาอันจำกัด

๒.ศึกษาการดำเนินงานสัมมาชีพ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และวางแผนการดำเนินงานที่จะทำต่อไป

๓.สำรวจ ตรวจสอบข้อมูลปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพในระดับหมู่บ้าน และจัดทำฐานข้อมูล  

๔.แบ่งงาน มอบหมายพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายให้พัฒนากรเพื่อช่วยกันดูแล

๕.จัดทำแผนปฏิบัติการและดำเนินการตามแผน

๖.ติดตามสนับสนุนส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน

๗.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑.ให้ความเป็นกันเอง ใช้ความเป็นชาวบ้าน คิด ทำ แบบชาวบ้าน ทำให้สามารถเข้าถึงชาวบ้านได้มากกว่า 

๒.ค่อย ๆ เสริม เพิ่มเติม ให้คำแนะนำในการเรียนรู้ และแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม เช่นจากหน่วยงานภาคีต่าง ๆ

เมื่อต้องรับช่วงดำเนินการต่อจากงานเดิมที่เริ่มไว้แล้ว เพื่อให้งานราบรื่น โดยต้องได้ผลลัพธ์เสมือนได้ริเริ่มไว้ด้วยตนเองพัฒนากรจำเป็นต้องเรียนรู้งานให้ไว และศึกษาบริบทของชุมชนพื้นที่ให้ได้ในเวลาอันจำกัด ต้องเรียนรู้จากคนในพื้นที่ จากผู้รู้ และจากคนเดิมที่อยู่มาก่อน ต้องทำงานให้เป็นทีม โดยหมั่นสร้างความเข้าใจให้กัน และดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังต้องวางแผนเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ได้เนื้องานที่กรมฯ กำหนดเพิ่มไว้ เช่น การถอดบทเรียนองค์ความรู้ไว้ในเว็ปสัมมาชีพ การบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล การใช้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพ การส่งเสริมผู้นำสัมมาชีพให้ผ่าน มชช.  การแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจน(ตกเกณฑ์)  การจัดตลาดนัดสัมมาชีพ และต่อเนื่องไปจนถึงการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อต่อยอดให้มีสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บ จปฐ.เพื่อรายงานรายได้ที่ต้องเพิ่มจากเดิม 3 %

 

อุปกรณ์ ->

๑.ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนยังไม่มีความชำนาญในการถ่ายทอดเพียงพอ

๒.ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนมีภารหน้าที่ต้องรับผิดชอบในงานประจำของตนเอง

๓.ปราชญ์ชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุสุขภาพร่างกายไม่อำนวย และบางส่วนไม่ได้เป็นปราชญ์ด้านอาชีพ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.ติดตาม ส่งเสริม ให้กำลังใจ และร่วมเป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน

๒.สร้างความเข้าใจ ให้กำลังใจและให้ความสำคัญกับทีมงานวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

๓.ให้การสนับสนุนช่วยเหลือคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนอย่างใกล้ชิด

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา