เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ม.5 บ้านใหม่ ต.ตาขีด

โดย : นางเฉลา มาสง่า ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-26-20:15:40

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อน การสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์ พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และชุมชนเข้มแข็ง ของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายของรัฐบาล เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างโอกาส เข้าถึงบริการของรัฐ

กระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพไนหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพ มีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง และพัฒนากลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1. อบรมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ การสร้าง สัมมาชีพ ชุมชนแก่กลุ่มเป้าหมาย

2. ฝึกการ วิเคราะห์ สถานการณ์ ความ ต้องการ อาชีพของ ประชาชนใน หมู่บ้าน

3. จัดกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเตรียมเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชนตาม ประเภท อาชีพ

4. จัดทำแผนปฏิบัติการ โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและ โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนใ ระดับหมู่บ้าน

5. ศึกษา ดูงาน เพิ่มพูน ความรู้

6. ฝึกปฏิบัติ ภายใน ครัวเรือน เป้าหมาย ที่ต้องการ ฝึกอาชีพ

7.  ส่งเสริม ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ 20 ครัวเรือนสามารถนำความรู้จาก การฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการรายงานผลการติดตามในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่กำหนด รวบรวมไว้เป็นหลักฐาน เพื่อรองรับการติดตามของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และทีม สนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ

8. จัดทำ แผนปฏิบัติ การจัดตั้ง และพัฒนา กลุ่มอาชีพ ตามแนวทาง สัมมาชีพ ชุมชน

9. ติดตามประเมินผล รายงานผล

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  ประสิทธิภาพของกลไกและองค์กรในการขับเคลื่อน ซึ่งได้แก่  ผู้นำสัมมาชีพชุมชน หรือ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในแต่ละระดับ

2. ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชน  ผู้นำ กลุ่มองค์กรในชุมชน  หมายถึง  ประชาชนนำหน้า  และลงมือทำด้วยตนเอง  เป็นการระเบิดจากข้างใน

3  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน(พัฒนากร)ต้องสร้างพลังใจแก่ครัวเรือนสัมมาชีพโดยให้ความสนใจใส่ใจ ติดตามส่งเสริมอาชีพที่เข้าทำอย่างต่อเนื่อง แนะนำช่องทางการตลาด ร่วมให้คำปรึกษาแก้ไขอุปสรรค ปัญหาอาชีพที่เขาเลือก              

4. ประเมินผลและรายงานผล

อุปกรณ์ ->

จุดอ่อนและอุปสรรคของสัมมาชีพชุมชน คือ “การขาดทักษะบริหารจัดการ ในเชิงการเป็นผู้ประกอบการขององค์กรชุมชน ขาดความรู้ในการบูรณาการทุนทุกมิติที่มีอยู่ในชุมชน ท้องถิ่น ขาดความไว้วางใจกันและกันในภาคประชาชนด้วยกัน ขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ขาดกลไกกลางในการบริหารจัดการด้านการตลาดและขาดการศึกษาวิจัยและพัฒนา ช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ เป็นต้น” ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์และสินค้าของสัมมาชีพ แข่งขันกับภาค ธุรกิจเอกชนไม่ได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การสร้างสัมมาชีพให้เต็มพื้นที่ได้นั้น ต้องเริ่มจากการสร้าง กระบวนการเรียนรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพและชุมชน ผ่านการทำบัญชีครัวเรือนหรือบัญชีกลุ่ม เพื่อให้เห็น โอกาส เห็นตลาดภายในพื้นที่ชุมชน จากนั้นให้เรียนรู้บัญชีทุนทรัพยากร บัญชีทุนทางสังคม บัญชี ทุนเศรษฐกิจ บัญชีทุนวัฒนธรรม และเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการทุนที่มีอยู่ในพื้นที่โดยองค์กรชุมชน เป็นแกนกลาง ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันวิชาการ และภาคเอกชน ด้วยการคิดและทำให้เป็นระบบ โดยใช้หลักการห่วงโซ่เศรษฐกิจ ทำให้ครบวงจร

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา