เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การจักสาน

โดย : นายทองนาค ภูดวงศรี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-18-15:30:33

ที่อยู่ : 71 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวบ้านอิสานสมัยก่อนเครื่องมือในการหาปลา ของใช้ในครัวเรือน เช่น ไซจับปลา สุ่มดักปลา  ตะกร้า กระบุง ฯลฯ นิยมเอาไผ่มาทำเนื่องจากต้นไผ่เกิดขี้นทั่วไปตามท้องนา ปัจจุบันภูมิปัญญาเรื่องการจักสานได้ลดน้อยลงเนื่องจากไม่มีคนสืบทอด จึงได้นำมาพัฒนาให้เป็นกลุ่มจักสานไม้ไผ่

วัตถุประสงค์ ->

ตัวอย่างการจักสานตะกร้า

วิธีการจักตอก

1. การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนใยข้างในออก จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง

2. การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตาก

การสาน

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก

การรมควัน

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่ ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

การถักและพัน

เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย มีการผูกปาก พันขา ใส่

ฐานและหูหิ้ว

นำตอกยืน 4 เส้น วัดกึ่งกลางเส้นแล้ววางตัดกันเป็นเครื่องหมาย + เพื่อก่อก้น โดยสานลายสองขัดบีในขั้นตอนนี้จะใช้ตอกยืนทั้งหมด จนได้แผ่นพื้นตะกร้าตามขนาดที่ต้องการจากนั้นนำเข้าแบบพิมพ์ตะกร้า (ตัวแบบพิมพ์ทำจากท่อนไม้เป็นรูปกลมขนาดใหญ่ – เล็ก) เพื่อสานผนังตะกร้าต่อจากก้นโดยใช้ตอกสานเส้นกลมสานลายหนึ่งคือข้ามหนึ่งสอดหนึ่งโดยใช้เส้นตอกยืนเป็นหลักสานไปเรื่อยๆจนได้ขนาดของตะกร้าตามต้องการโดยให้เหลือส่วนปลายของตอกยืนไว้ ประมาณ 15 ซม. เผื่อไว้พับเป็นปากตะกร้าจากนั้นนำออกจากแบบพิมพ์
       การล้มปาก  คือการพับปากตะกร้า  โดยตอกยืนที่เหลือไว้นั้นจับรวมกันจับละ 4-5เส้นแล้วม้วนสอดเข้าตามช่องของปากตะกร้าในลักษณะเอียงล้มไปในทิศทางเดียวกันให้สวยงาม และแข็งแรง ใช้ไม้คัดก้น 2 อัน สอดปลายแหลมเข้าที่มุมก้นตะกร้าในลักษณะไขว้กัน (เครื่องหมาย X) เพื่อให้เกิดความคงรูปแข็งแรง และตอกตีนคือไม้ตรงปล้องไม้ไผ่ทำเป็นปุ่มปลายแหลม จุ่มเทียนแล้วตีเข้ามุมก้นเป็นขาของตะกร้า 4มุม

      การรมควันนำตะกร้าไปรมควันไฟใช้ฟางข้าวที่ไม่ใช้แล้วเป็นเชื้อเพลิงรวมควันเพื่อกันมอดแมลงเพื่อให้เศษไม้ เศษเสี้ยนไม้ไผ่ที่สานหลุดออกสร้างสีสันดูให้เกิดความแข็งแรงแล้วนำไปเข้ารวงตะกร้า  รวงตะกร้าใช้ไม้เสียวหรือตอไม้ไผ่ก็ได้เป็นไม้ที่หาได้จากหมู่บ้านเป็นทรัพยากรในชุมชนที่นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยแต่งไม้กลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม.ดัดให้โค้งเสียบเข้าขอบปากตะกร้าแล้วใช้หวายหรือเครือไม้ผูกร้อยให้หูรวงและขอบตะกร้ายึดติดกันแน่น นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้ หากต้องการความสวยงามเพิ่มขึ้นก็ทาแลกเกอร์เพื่อรักษาไม้และให้ความสวยงาม
       การใช้ประโยชน์ตะกร้าสำหรับใส่สิ่งของทั่วไป ตะกร้าขนาดเล็กเหมาะนำไปเป็นของฝากของที่ละลึกสำหรับใส่ของใช้ชิ้นเล็กน่ารัก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ประชาชนมีรายได้เพิ่ม ความเป็นอยู่ดีขึ้น

2.ใช้แรงงานภายในหมู่บ้าน

3. เกิดความรักความสามัคคี

4. มีปราชญ์เรื่องการทอผ้าจำนวนมากในหมู่บ้าน

5. ผลิตได้อย่างต่อเนื่องทันต่อความต้องการของลูกค้า

อุปกรณ์ ->

         ๑.มีใจรัก ขยันเรียนรู้ หมั่นฝึกฝนพัฒนาฝีมืออยู่เสมอ

          2.เรียนรู้จากประสบการณ์

          3.เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์

4.มีความต่อเนื่องในการทำ ส่งผลให้เกิดความชำนาญ และสามารถทำเป็นอาชีพหลักเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัวได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา