เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทอเสื่อกกมัดหมี่

โดย : นางสมหมาย แก้วสอนสรี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-01-11:54:49

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 73 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 9 ตำบลเจ้าท่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอเสื่อกกมัดหมี่นั้น  ชาวบ้านหนองบัว หมู่ที่ 9 ตำบลเจ้าท่า  อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์                                                                                                                                 ก็มักจะใช้เวลาที่ว่างเว้นจากการทำไร่นา มาทอเสื่อกกเพื่อใช้ในครัวเรือน และขายเป็นรายได้เสริมทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการทอเสื่อกก หรือภาษาอิสานเรียก “สาด” เป็นของใช้ประจำครัวเรือนของคนไทยมาแต่โบราณ มีการทอตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย โดยเริ่มแรกมีการใช้กกเหลี่ยม หรือที่เรียกว่า ผือนา ทอและยังไม่มีการย้อมสี หรือทำลวดลาย เสื่อที่ทอจะเป็นสีเหลืองอ่อนตามธรรมชาติ ปัจจุบันนิยมใช้กกกลม หรือที่เรียกว่า ต้นกก มาใช้แทนผือนา เนื่องจากหาง่ายเกิดขึ้นตามธรรมชาติปลูกง่ายโตเร็ว เมื่อนำมาทอเป็นเสื่อแล้วมีคุณสมบัติเหนียวและเป็นมันวาว มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นกว่าการทอจากต้นกกเหลี่ยมหรือผือนาที่มีสีเหลืองอ่อนตามธรรมชาติได้มีการพัฒนาด้วยการนำมาย้อมสีและการทอลายมัดหมี่และลวดลายอื่นตามความต้องการ ให้มีสีสันและลวดลายที่สวยงาม เพื่อให้เสื่อได้ใช้ประโยชน์ที่หลากหลายจึงมีการพัฒนาโดยการนำเสื่อกกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เสื่อพับ หมอนอิง และหมอนสมุนไพร กล่องใส่กระดาษทิชชู่ ที่รองแก้ว รองจาน และของใช้อื่นๆ

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนการทอเสื่อกก
1.นำเชือกไนลอนร้อยใส่ฟืมเสื่อให้เต็มรู โดยต้องดึงเชือกให้ตรึงเรียกว่าเส้นยืน
2.นำเส้นที่จะทอมาพรมน้ำให้ชุ่ม เพื่อให้เส้นกกนุ่มทอง่ายและเส้นไม่หัก
3.เมื่อสอดกกเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกแน่นติดกันเป็นลายต่าง ๆ โดยใช้เส้นกกร้อยกับรูไม้สอด แล้วแทงเข้าไปในเส้นพุ่ง ทำลวดลาย โดยกดเส้นพุ่งตามลายที่ออกแบบไว้ กระแทกฟืมกลับเข้าหาลำตัวต้องทำให้แรงและสม่ำเสมอ เพื่อให้เส้นกกแน่นและเกิดลวดลายชัดเจน
4.ลายที่ทอเป็นประจำจะเป็นลายมัดหมี่ ลายกระจับ ลายต้นสน ลายผีเสื้อ ลายตะขอ ลายไทยข้าวหลามตัด ลายสัตว์ต่างๆ
5. จากนั้นก็นำเสื่อที่ทอแล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ทำเป็นเสื่อพับ เสื่อปิ๊กนิก หมอนหนุน หมอนอิง หนอมข้าง (หมอนทอฟฟี่) หมอนสมุนไพร เบารองโชฟา เบาะรองนั่ง ที่รองแก้ว,จาน ฯลฯ
การออกแบบลวดลาย
1. ตีเส้นเป็นตารางสี่เหลี่ยมจตุรัสลงในกระดาษด้วยปากกกาสีต่าง ๆ ให้เต็มหน้ากระดาษ
2. ใช้ปากกาสีต่าง ๆ ขีดทำลวดลายตามที่ต้องการ จนเสร็จแต่ละลาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       ลวดลายสวยงาม ตรงตามความต้องการของตลาด

2.       ทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

3.       ใช้แรงงานภายในหมู่บ้าน

4.       ใช้วัตถุดิบภายในหมู่บ้าน

5.       ต้นทุนการผลิตต่ำ

6.       สามารถแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้อย่างอื่นได้

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา