เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

โดย : นางลัดดา นาเทียมเขต ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-18-17:02:29

ที่อยู่ : 144 ม. 6 ต.เนินยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เส้นไหมไทย ราชินีแห่งเส้นใย สานต่อผ้าไหมไทย หลายๆคนรู้จักผ้าไหมไทย เพราะเป็นสิ่งทอไทยที่มีความงดงาม และเป็นเสน่ห์ต่อผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็คงยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่ทราบว่า กว่าจะเป็นผืนผ้าไหมที่มีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์ของความเป็นผ้าไหมไทยนั้น ต้องผ่านขั้นตอน กระบวนการต่างๆ ผนวกกับภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยมาอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นเรามารู้จักต้นกำเนิดของความเป็นผ้าไหมไทยกันเถิด จุดเริ่มต้น คือ เป็นการร่วมประสานกันระหว่างพืชและสัตว์ นั่นคือ ต้นหม่อนกับตัวหนอนไหม

ต้นหม่อน เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างเป็นไม้ทรงพุ่ม เป็นพืชยืนต้น ใบหม่อนเป็นอาหารที่ดีที่สุดของหนอนไหม ผลผลิตเส้นไหมจะมีคุณภาพดีหรือไม่ ผลผลิตต่อไร่จะมากหรือน้อย คุณภาพของใบหม่อนมีส่วนสัมพันธ์โดยตรง รวมทั้งกระบวนการบริหารจัดการแปลงหม่อนเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดด้วย

วัตถุประสงค์ ->

อุปกรณ์การเลี้ยงไหม

ในการเลี้ยงไหม เกษตรกรจะต้องจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงไหมไว้ให้พร้อมและมีจำนวนที่เหมาะสมกับ แผนการเลี้ยงไหม ได้แก่ โต๊ะเลี้ยงหรือกระด้งเลี้ยงไหม ตาข่ายถ่ายมูลไหมทั้งวัยอ่อนและวัยแก่ ตะกร้าเก็บใบหม่อน จ่อ มีด เขียง ตะแกรงร่อนยา ขนไก่ ตะเกียบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ในการฉีดพ่นสารเคมีอบฆ่าเชื้อโรค เช่น เครื่องพ่นสารเคมี หน้ากาก ซึ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีไว้เพื่อการเลี้ยงไหมในแต่ละรุ่น

สำหรับวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่น ได้แก่ น้ำยาฟอร์มาลีน ฟอร์มาดีไฮด์ผง 3% หรือเพบโซล คลอรีน ปูนขาว สบู่ และกระดาษรองเลี้ยงไหม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเลี้ยงหม่อนต้องมีโรงเรือน  และต้องดูแลเป็นอย่างดี

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา