เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้าไหมแพรวา

โดย : นางสวาท ติชาวัน ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-18-15:36:50

ที่อยู่ : 67 ม.7 ต.เนินยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าแพรวา หรือ ผ้าไหมแพรวาเป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทยหรือภูไท การทอผ้าแพรวามีมาพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวภูไท ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) อพยพเคลื่อนย้ายผ่านเวียดนาม ลาว แล้วข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพานทางภาคอีสานของไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับการแต่งกาย

ผ้าแพรวามีการทอกันมาแต่โบราณ เป็นการทอผ้าไหมที่มีภูมิปัญญาในการทอใช้วิธีการเก็บลายโดยการขิดลาย มีการทำลวดลายบนผืนผ้าโดยการใช้นิ้วก้อยในการล้วงเกาะ ไม้หนึ่งเกาะ2เที่ยวเพื่อให้ลายนูน การทอลักษณะนี้จะทำให้ลวดลายผ้าปรากฎอยู่ด้านล่าง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เดิมการทอผ้าแพรวาเพื่อใช้เป็นผ้าสไบ มีหน้ากว้าง 30 เซนติเมตร ต่อมามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีขนาดหน้ากว้างประมาณ 60 หรือ 80 เซนติเมตร ใช้สีพื้นเป็นสีแดงใช้ครั่งเป็นสีย้อม ส่วนลวดลายต่างๆบนผืนผ้าแพรวาก็จะมีหลากหลาย โดยแบ่งเรียกตามลายหลักในแต่ละช่องหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าดอก ผ้าแพรวาแต่ละผืนจะมีจำนวนลายไม่เท่ากัน ยิ่งมีลวดลายมากก็จะยิ่งทำยากและใช้เวลาในการทอค่อนข้างนาน ซึ่งในแต่ละลายก็จะมีลายคั่นเป็นตัวคั่น

นอกจากนี้การทำลวดลายที่ใช้นิ้วก้อยเกาะเกี่ยวเส้นไหมจะทำให้สามารถเกิดความหลากหลายของสีในแต่ละลายบนผืนผ้าแพรวาได้ การให้สีสันของลายแต่ละลายของผ้าแพรวาจะนิยมสีค่อนข้างเข้ม เช่น
เขียว เหลือง น้าเงินดำ เป็นต้น คุณลักษณะดังที่กล่าวมานั้นก็คือความเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะของผ้าแพรวาในสมัยโบราณที่ทำลวดลายแบบล้วงเกาะหรือเรียกว่าแพรวาเกาะ

วัตถุประสงค์ ->

จะต้องนำเส้นมาคัดเส้นไหมที่มีขนาดเส้นสม่ำเสมอ และมีการตกแต่งไจไหมที่เรียบร้อย คือ เส้นไหมจัดเรียงแบบสานกันเป็นตาข่ายหรือเรียกชื่อทางวิชาการว่าไดมอนด์ครอส มีการทำไพประมาณ 4-6 ตำแหน่ง ขนาดน้ำหนักไหมต่อไจโดยประมาณ 80-100 กรัม ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในขั้นตอนการลอกกาว ย้อมสี และการกรอเส้นไหม

ทำการค้นเส้นด้ายลักษณะเดียวกับการค้นเส้นยืน จากนั้นนำเส้นด้ายมาร้อยเข้ากับฟืม โดยการร้อยผ่านช่องฟันหวีแต่ละช่องทุกช่องๆละ2เส้น แล้วใช้ท่อนไม้ไผ่เล็กๆสอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อยเข้าช่องฟันหวีเพื่อทำการขึงเส้นด้ายให้ตรึงและจัดเรียงเส้นด้ายให้เรียบร้อย ส่วนด้านหน้าของฟืมก็จะมีท่อนไม้ไผ่เช่นเดียวกับด้านหลังเพื่อทำการขึงเส้นด้ายให้ตรึงเช่นเดียวกับด้านหลังของฟืมที่กล่าวมาแล้ว จากนั้นให้ทำการเก็บตะกอฟืมแบบ2ตะกอ เราก็จะได้ชุดฟืมทอผ้าที่พร้อมสำหรับการทอผ้า

เตรียมน้ำย้อมสีเส้นไหม โดยทั่วไปผ้าแพรวาในสมัยโบราณเส้นยืนจะใช้สีแดง ที่มาจากครั่ง นำครั่งมาตำให้ละเอียด จากนั้นนำไปแช่น้ำนานประมาณ 1 คืน ทำการกรองน้ำย้อมสีด้วยผ้าบาง ปริมาณครั่งที่ใช้ในการเตรียมน้ำย้อมประมาณ 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตรต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม นำเส้นไหมที่เตรียมไว้มาทำการย้อม โดยเริ่มจากการการย้อมเย็นเพื่อให้น้ำย้อมสีสามารถซึมเข้าไปในเส้นไหมได้อย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ ป้องกันการเกิดสีด่างบนเส้นไหม เมื่อน้ำย้อมได้ซึมเข้าเส้นไหมจนทั่วแล้ว ก็ให้ยกหม้อต้มย้อมขึ้นตั้งบนเตาเพื่อเพิ่มความร้อนจนกระทั่งอุณหภูมิอยู่ที่ระดับ 90 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรือสังเกตได้จากการที่น้ำย้อมจะใส จากนั้น ให้นำเส้นไหมที่ย้อมสีเรียบร้อยแล้วไปล้างน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง แล้วทำการบีบน้ำให้แห้ง ทำการตากผึ่งให้แห้ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผ้าแพรวามีการทอกันมาแต่โบราณ เป็นการทอผ้าไหมที่มีภูมิปัญญาในการทอใช้วิธีการเก็บลายโดยการขิดลาย มีการทำลวดลายบนผืนผ้าโดยการใช้นิ้วก้อยในการล้วงเกาะ ไม้หนึ่งเกาะ2เที่ยวเพื่อให้ลายนูน การทอลักษณะนี้จะทำให้ลวดลายผ้าปรากฎอยู่ด้านล่าง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เดิมการทอผ้าแพรวาเพื่อใช้เป็นผ้าสไบ มีหน้ากว้าง 30 เซนติเมตร ต่อมามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีขนาดหน้ากว้างประมาณ 60 หรือ 80 เซนติเมตร ใช้สีพื้นเป็นสีแดงใช้ครั่งเป็นสีย้อม ส่วนลวดลายต่างๆบนผืนผ้าแพรวาก็จะมีหลากหลาย โดยแบ่งเรียกตามลายหลักในแต่ละช่องหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าดอก ผ้าแพรวาแต่ละผืนจะมีจำนวนลายไม่เท่ากัน ยิ่งมีลวดลายมากก็จะยิ่งทำยากและใช้เวลาในการทอค่อนข้างนาน ซึ่งในแต่ละลายก็จะมีลายคั่นเป็นตัวคั่น

นอกจากนี้การทำลวดลายที่ใช้นิ้วก้อยเกาะเกี่ยวเส้นไหมจะทำให้สามารถเกิดความหลากหลายของสีในแต่ละลายบนผืนผ้าแพรวาได้

อุปกรณ์ ->

การทำลายบนผืนผ้าแพรวา ใช้ไม้เก็บขิดมีลักษณะแบนกว้างประมาณ 7-8 เซนติเมตร ยาว1 เมตร ปลายแหลมในการเก็บขิดลาย

ผ้าแพรวาโบราณในแต่ละผืนจะมีจำนวนลายหลักแต่ผืนไม่เท่ากัน อย่างผ้าแพรวาที่กำลังทอผืนนี้จะมีหลายหลักอยู่ 10 ลายหลัก ประด้วยไม้ลายหรือตะกอกว่า1,000 เขา /ตะกอ ซึ่งการทำลายบนผืนผ้าแพรวาโบราณจะทำโดยใช้ไม้เก็บขิดลายเก็บลายก่อน แล้วใช้ไม้ยกลายหรือไม้เผ่าสอดเข้าจนหมดหน้าฟืม โดยให้ยกไม้ยกลายที่สอดเข้าไปให้อยู่ในแนวตั้ง จากนั้นใช้นิ้วก้อยในการล้วงเกาะเส้นไหมสีต่างๆตามลายที่กำหนด ไปจนสุดขอบผ้า แล้วจึงเหยียบไม้เหยียบตะกอฟืมเพื่อสอดกระสวย แล้วใช้ฟืมกระทบเส้นไหมเพื่อให้ผืนผ้าแน่น ไม้หนึ่งเกาะ 2 เที่ยว เพื่อให้ลายนูนเด่น ในการทอผ้าแพรวาจะต้องมีการเก็บลายไปตลอดการทอ การทอผ้าแพรวาลวดลายผ้าจะอยู่ด้านล่างของกี่ทอผ้า ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการทอผ้ามัดหมี่หรือผ้าอื่นๆ และด้านล่างของผืนผ้าแพรวา จะมีท่อนไม้เล็กๆ แบนๆดันยึดริมผ้าทั้ง2ด้านให้ตรงและตึงตลอดเวลาเรียกว่าไม้คันผัง โดยมีหน้าที่ยึดผ้าที่ทอให้ขอบผืนผ้าตรงและตึงตลอดเวลา ทำให้ลวดลายบนผ้าสวยงามผ้าแพรวาชนิดนี้ เรียกว่า แพรวาเกาะ ซึ่งเป็นแพรวาที่มีความสวยงามมาก ค่อนข้างทำยาก และใช้เวลาในการทอค่อนข้างนาน ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงตามไปด้วย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา