เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เศรษฐกิจครัวเรือนหมูหลุม

โดย : นายวัชรพงษ์ เรืองแสน ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-18-15:22:12

ที่อยู่ : 20 ม.6 ต.นาบอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ที่มาของหมูหลุม
   “หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก  โดยใช้วัสดุรองพื้น  ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น  มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจาการเกษตรเท่านั้น  แต่มีปรัชญาและแนวคิดอยู่เบื้องหลัง  เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์เกษตรในฟาร์ม  วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร  ดิน  พืช  สัตว์  จุลินทรีย์  พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด  น้ำและดิน  นำมาปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์กินพืช  นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน  รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น  และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลางที่เหมาะสมกับทรัพยากร  ภูมิปัญญาในท้องถิ่น  และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน  โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายที่การพัฒนาชนบท  การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  การอยู่ดีกินดีของคนชนบท  และสุขภาพของประชากร นำไปสูการแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
ทฤษฎีเกษตรธรรมชาติ
 

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมคอก การเลี้ยงแบบเดิมจะเป็นพื้นราดปูนแข็ง เพื่อง่ายแก่การทำความสะอาด ซึ่งทำให้หมูเครียดเพราะอยู่ไม่สบาย แต่การเลี้ยงแบบนี้จะเป็นพื้นอ่อน และโรงเรือนจะต้องสัมพันธ์กับจำนวนหมู โดยให้มีขนาดคอกกว้าง 2 X 6 เมตร สามารถเลี้ยงได้คอกละ 9 ตัว เริ่มด้วยการขุดพื้นคอกลึกลงไป 90 เซนติเมตร (หรือขุดเพียง 45 ซม. แล้วเอาดินที่ขุดขึ้นมานั้นถมด้านข้างก็จะได้ความลึก 90 ซม.) ในการมุงหลังคานั้นควรให้ตีนชายคากว้างกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาในคอก และเมื่อตีฝาคอกแล้ว ต้องใช้อิฐบล็อกหรือไม้ไผ่กั้นรอบ ๆ คอกลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร เพื่อกันไม่ให้หมูขุดออกนอกคอกได้ (การกั้นฝาคอกควรติดตั้งประตูปิด-เปิดได้ไว้ เพื่อความสะดวกในการนำหมูเข้า–ออก) สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือบริเวณที่จะสร้างคอกไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำน้ำท่วมขัง และควรเป็นที่ร่มใต้ต้นไม้มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะหมูเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอากาศร้อน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเลี้ยงหมูหลุม  เป็นการผลิตเนื้อหมูสำหรับคนบริโภคในท้องถิ่น  เน้นเทคนิคด้วยการจัดการคอกไม้ไม่ให้มีน้ำเสียจากฟาร์ม  มูลสัตว์สามารถกำจัดในคอก  โดยการทำงานของจุลินทรีย์ท้องถิ่น  ของเสียเหล่านั้นถูกนำกลับเป็นปัจจัยการผลิตในการปลูกพืช  ทั้งที่เป็นพืชที่ปลูกเป็นรายได้และพืชที่เป็นอาหารสัตว์ เช่น ข้าว ผัก ผลไม้  เป็นการหมุนเวียนใช้พลังงานธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเองในชุมชน

อุปกรณ์ ->

การเลี้ยงหมูหลุม  เป็นการผลิตเนื้อหมูสำหรับคนบริโภคในท้องถิ่น  เน้นเทคนิคด้วยการจัดการคอกไม้ไม่ให้มีน้ำเสียจากฟาร์ม  มูลสัตว์สามารถกำจัดในคอก  โดยการทำงานของจุลินทรีย์ท้องถิ่น  ของเสียเหล่านั้นถูกนำกลับเป็นปัจจัยการผลิตในการปลูกพืช  ทั้งที่เป็นพืชที่ปลูกเป็นรายได้และพืชที่เป็นอาหารสัตว์ เช่น ข้าว ผัก ผลไม้  เป็นการหมุนเวียนใช้พลังงานธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเองในชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การให้อาหารและน้ำ อาหารผสม หรืออาหารสำเร็จที่เคยให้เป็นหลักนั้นจะต้องลดลง เหลือเพียงประมาณร้อยละ 30 เช่น เราเคยให้ตัวละ 2 กก. ต่อวัน ก็จะต้องเหลือแค่ตัวละ 6 ขีด ต่อวัน ส่วนอาหารที่จะให้หมูกินเป็นหลักคือผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป เหมือนการเลี้ยงในสมัยก่อน เช่น หยวกกล้วย ผักเบี้ย ผักขม ผักตบชวา ยอดกระถิน ยอดข้าวโพด ใบมัน ฯลฯ โดยนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วแช่ในน้ำที่ผสมน้ำหมักชีวภาพไว้นานประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง ซึ่งใช้สูตรเดียวกับน้ำที่ให้หมูกิน คือผสมน้ำหมักชีวภาพกับน้ำ ในอัตราส่วนตั้งแต่ 1 ต่อ 1,000 สำหรับหมูเล็ก, 1 ต่อ 800 สำหรับหมูรุ่นและ 1 ต่อ 500 สำหรับหมูใหญ่ หรือหมูพ่อ-แม่พันธุ์ (น้ำ 1 ปี๊บ มี 20 ลิตร หากเป็นหมูเล็กผสมแค่ 2 ช้อนโต๊ะ,หมูรุ่น ผสม 3 ช้อนโต๊ะ, หมูใหญ่ ผสม 4 ช้อนโต๊ะ)

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา