เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายสงวน พันกุล ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-18-09:48:28

ที่อยู่ : 79 ม.8 บ.โนนชัย ต.ขมิ้น อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีความแห้งแล้ง

ไม่มีน้ำชลประทาน

ทำอาชีพตามฤดูกาล ใช้พืชที่ทนแล้ง ที่มีในชุมชน

เพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าให้ชุมชนมีความสุข

วัตถุประสงค์ ->

การปลูกมันสำปะหลัง

      โดยคัดเลือกต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่สมบูรณ์มีอายุแก่ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร แล้วนำไปแช่ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่เจือจางด้วยน้ำในสัดส่วน 1:500 หรือ 1:1,000 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดิน เพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดินให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่สะดวกต่อการกำจัดวัชพืช ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกฝัง 10-15 เปอร์เซ็นต์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เริ่มจากครอบครัวของตัวเราเอง ทำด้วยครอบครัว และตัวเราเอง ทำทีละเล็ก และคอยเพิ่ม ต้องมีใจรัก ทำเพื่อแก้ปัญหาจากตัวเราและขายไปในชุมชนเพิ่ม

อุปกรณ์ ->

การดูแลรักษา

      ทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับพืชปุ๋ยสด ทุก 7 วัน อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ เจือจาง 1:1,000 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชปุ๋ยสด และหลังจากปลูกมันสำปะหลัง 15 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำทางใบหรือลำต้นให้กับมันสำปะหลังหรือรดลงดิน ทุก 1 เดือน จนถึงระยะเก็บเกี่ยว กรณีที่ปลูกพืชแซมในขณะที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำกับมันสำปะหลัง ควรฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับพืชตระกูลถั่วที่ปลูกแซมแทรกระหว่างแถวมันสำปะหลังด้วย หากเกิดการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบจุดไหม้ ใบจุดขาว และแมลงต่าง ๆ เป็นต้น ให้ใช้สารสกัดธรรมชาติหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ส่วนการกำจัดวัชพืชที่ปลูกในช่วง 2-3 เดือนแรก สามารถกำจัดได้โดยวิธีกล

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การจัดการดินหลังเก็บเกี่ยว

       หลังจากเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันที ส่วนลำต้นเก็บเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป ส่วนกิ่ง ก้าน ใบ และส่วนที่เป็นวัสดุตอซัง ให้ไถกลบลงดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดิน และดำเนินการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปุ๋ยพืชสด และใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามคำแนะนำ จะสามารถลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการปฏิบัติเดิมของเกษตรกรได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา