เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ปลูกผักปลอดสาร

โดย : นายวิชิต นามสกุล บุตรสมบัติ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-12-13:48:45

ที่อยู่ : 236 หมู่ที่ 2 ตำบลร่องคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในการดำรงชีวิตประจำวัน คนในชุมชนมีการบริโภคผักและประกอบอาหารพื้นเมือง ต้องใช้พืชผักเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นมาก  ซึ่งการปลูกผักส่วนมากจะใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโตและการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช  ทำให้เกิดสารตกค้างในพืชผักเหล่านี้  ทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคผักที่มีสารปนเปื้อน              แทบทุกมื้ออาหาร  จากการเจาะเลือดคนในชุมชนพบว่าส่วนมากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ปลอดสารพิษ ส่งผลให้ประชาชนเกิดโรคภัยต่างๆ มากมาย  จึงควรส่งเสริมอาชีพให้คนชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมแปลงปลูก จึงทำ การไถพลิกหน้าดินตากแดดไว้ เพื่อทำ ลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูที่อาศัยอยู่ในดิน

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

           ก่อนนำ เมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกในแปลงปลูกหรือแปลงกล้าเกษตรกรควรทำ ความสะอาดเมล็ด

พันธุ์ก่อน ตามขั้นตอนดังนี้

1. คัดแยกเมล็ดพันธุ์ โดยการคัดเมล็ดที่เสีย เมล็ดวัชพืชที่มีอยู่ปะปน และสิ่งเจือปนต่างๆออก

2. แช่เมล็ดพันธุ์ในนํ้าอุ่น ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซีย สเป็น เวลา 15-30 นาที จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์และยังกระตุ้นการงอกของเมล็ดอีกด้วย

3. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครานํ้าค้าง และโรคใบจุดควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี

การปลูกและการดูแล

           การเลือกวิธีการปลูก ระยะปลูกเป็นเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผักที่เกษตรกรเลือกปลูก

แต่มีข้อแนะนำ คือ เกษตรกรควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อให้มีการ

ระบายอากาศที่ดี เป็นการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้ควรหมั่น

ตรวจแปลงอยู่เสมอ โดยอาจเลือกสำรวจเป็นจุดๆ ประมาณ 10-20 จุด/ไร่ ถ้าพบว่ามีการระบาดของ

โรคและแมลงในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผักนั้น ก็ควรดำ เนินการกำ จัดโรคและแมลงที่พบทันที

การใช้สารสกัดจากพืช

           พืชที่นิยมนำ มาใช้สกัดเป็นสารควบคุมโรคและแมลง คือ สะเดา เนื่องจากในสะเดามีสาร

อะซาดิแรคติน (Azadirachtin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันและกำ จัดแมลงได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วิธีการควบคุมใดที่ใช้ได้ผลแล้ว เกษตรกรอาจใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชนั้นๆ คือ

1. เป็นสารเคมีที่เหมาะสมกับศัตรูพืชชนิดนั้น

2. สารเคมีนั้นสลายตัวได้เร็ว

3. ใช้ในอัตราที่เหมาะสมตามคำแนะนำ

4. เว้นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามคำแนะนำ

ทั้งนี้เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีสารพิษตกค้างในพืชผักนั้น และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย

อุปกรณ์ ->

หมั่นตรวจแปลงปลูกพืชของตนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเป็นการพยากรณ์สถานการณ์ของศัตรูพืชในแปลงของตน เมื่อทราบสถานการณ์แล้ว  จึงพิจารณาเลือกใช้วิธีการป้องกันและกำจัดที่เหมาะสม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในการปฏิบัติจริงของเกษตรกรนั้น เกษตรกรต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกพืชของตนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเป็นการพยากรณ์สถานการณ์ของศัตรูพืชในแปลงของตน เมื่อทราบสถานการณ์แล้ว  จึงพิจารณาเลือกใช้วิธีการป้องกันและกำจัดที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมหรือไม่มี

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา