เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทำการเกษตร

โดย : นางสาคร ผลถวิล ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-10-16:45:01

ที่อยู่ : 89 ม.3 ต.กลางหมื่น อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ดิฉันเกิดในครอบครัวที่ประกอบอาชีพทำนาในวัยเด็กดิฉันได้ช่วยเหลือพ่อกับแม่ทำนามาโดยตลอดจน เก็บยังทำนาและการทำนาโดยใช้สายพันธุ์ข้าวพันพื้นเมืองซื้งได้รับผลผลิตไว้ติดต่อมาได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเข้ารับการฝึกอบรมณ์การทำนาแบบปักดำ จะได้รับผลผลิตดีกว่าการว่านต้นข้าวก็จะแตกกอใหญ่และรวงข้าวใหญ่เมล็ดก็ดีเริ่มต้นด้วยการไถเตรียมดินเตรีมแปลงและใช้ปุ๋ยอินทรย์รองพื่้นจากนั้นก็ทำการปักดำเพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะไม่มีผลต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมแต่การทำนาแบบปักดำก็มีอุปสรรคเพราะศัตรูพืชจะเป็นอุปสรรคของการเจริญเติบโตของข้างเราจึงใช้น้ำหมักจากการสะเดาและตะบองเพชรและกากน้ำตาลนำมาและข้าวเจริญตเิบโตเราก็ใช้ปุ๋ยชีวภาพอีกคร้งและได้ผลผลิต

วัตถุประสงค์ ->

) การทำนาดำ

     เป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ (แปลงกล้า) ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วถอนต้นกล้าไปปักดำในกระทงนาที่เตรียมไว้ และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิต การทำนาดำนิยมในพื้นที่ที่มีแรงงานเพียงพอ

     การทำนาดำ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

     การเตรียมดิน
     การเตรียมดินสำหรับการทำนา ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น น้ำ ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่ ตลอดจนแบบวิธีการทำนา และเครื่องมือการเตรียมดินที่แตกต่างกัน
     การเตรียมดินแยกได้เป็น 2 ขั้นตอนคือ   

1. การไถดะ และไถแปร
     การไถดะคือ การไถพลิกหน้าดินครั้งแรกเพื่อกำจัดวัชพืช และตากดินให้แห้ง 
     การไถแปร คือการไถครั้งที่สองโดยไถขวางแนวไถดะ เพื่อย่อยดินและคลุกเคล้าฟาง วัชพืช ฯลฯ ลงไปในดิน
     การไถ ไถด้วยแรงงานสัตว์ เช่น วัว ควาย รถไถเดินตาม รถแทรกเตอร์

 2. การคราดหรือใช้ลูกทุบ      คือการกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำต่อจากขั้นตอนที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดินที่เหมาะสมในการคราด การใช้ลูกทุบหรือเครื่องไถพรวนจอบหมุน (Rotary)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

   ข้อควรระวังในการเตรียมดิน
     
1. ควรปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้งได้ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ เช่นแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) และกรดอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งถ้าสารเหล่านี้มีปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อรากข้าวได้ 
     2. ควรมีการหมักฟาง หญ้ารวมทั้งอินทรียวัตถุเพื่อให้สลายตัวสมบูรณ์ ประมาณ 2 สัปดาห์ หลังการไถเตรียมดิน เพื่อให้ ดินปรับตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่ต้นข้าว
     3. ดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ (pH ต่ำกว่า4.0) ควรขังน้ำไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนปักดำข้าว เพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ตลอดจนความเป็นกรดของดินลดลงสู่สภาวะปกติ และค่อนข้างเป็นกลางเสียก่อน ดินกลุ่มนี้ถ้ามีการขังน้ำตลอดปี หรือมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็จะเป็นการลดสภาวะความเป็นกรดของดิน และการเกิดสารพิษลงได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของข้าวสูงขึ้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา