เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมการทอเสื่อกก

โดย : นางปราณี ปากเมย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-03-12:51:07

ที่อยู่ : ๖๒ หมู่ที่ ๔ บ้านหนองหวาย ตำบลลำชี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เสื่อกก เป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสานที่จะเห็นทุกที่ ทุกหมู่ เป็นอาชีพที่ทำมาตั้งแต่ดั้งเดิมการทอเสื่อ เป็นไปเพื่อการใช้สอยในครัวเรือน  เสื่อในอดีตเป็นของใช้ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับปูนั่งหรือนอน  จนถึงกับมีคำกล่าวว่า  บ้านใดไม่มีเสื่อใช้  ถือว่า พ่อ แม่ ลูก เกียจคร้านไม่มีฝีมือ  หนุ่มสาวที่แต่งงานตั้งครอบครัวใหม่หรือขึ้นเรือนใหม่ จะต้องเตรียมที่นอน หมอน มุ้ง  ส่วนเสื่อฝ่ายหญิงจะจัดเตรียมทอสะสมไว้เป็นของขึ้นเรือน  นอกจากนี้ยังทอเพื่อถวายเป็นไทยทานให้กับวัด  เพื่อบำรุงศาสนาในฤดูเทศกาลต่างๆ  และยังนำเสื่อที่ทอไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกับหมู่บ้านใกล้เคียง

เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับการทอเสื่อกก  เป็นพื้นฐานความรู้ที่เริ่มตั้งแต่ครอบครัว  ที่ทำเพื่อไว้ใช้และทำเหลือจากใช้ไว้ขายเป็นรายได้เสริม เด็กๆ ได้ซึมซับรับรู้กรรมวิธีและขั้นตอนการทำ การทอนี้มาตลอด  เมื่อโตพอก็จะได้รับการฝึกฝนจนเป็นทักษะและความชำนาญ  และกลายเป็นที่ยอมรับ  กลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ไปในที่สุด แม้ปัจจุบันจะมีกระแสค่านิยมในอาชีพตามโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาเป็นทางเลือก ก็ยังมีคนรุ่นใหม่ไม่น้อยที่พึงพอใจจะอยู่สืบสานงานอาชีพด้านเกษตรกรรม และการทอเสื่อกกจากบรรพชนอยู่กับบ้าน  อีกทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ก็ไม่เคยปล่อยเวลาว่างให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์  ด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือล้วนอยู่ใกล้ตัว  เพียงหยิบฉวยเส้นกกขึ้นสอดใส่ไม่ช้าก็ได้เสื่อผืนงามที่ทำรายได้อย่างน่าพอใจในระดับหนึ่ง

อำเภอฆ้องชัย มีเอกลักษณ์ในการทำเสื่อกก ลายจะชิด มีความสวยงาม คงทน และที่สำคัญ เป็นงานที่มีความประณีต มีหลายขิต หลายรายและเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการ

  ๑.  การปลูกกกหรือทำนากก   นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัสดุในการทอเสื่อ  โดยเตรียมที่ดินด้วยการไถ  แล้วปักดำหัวกกลงในนาเหมือนการดำนาข้าว  จากนั้นมีการบำรุงรักษา ถอนหญ้า  ใส่ปุ๋ย ปลูกแซม  ด้วยเวลา  ๓-๔ เดือน  ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้
    ๒.  การตัดกก จะใช้มีดเล็กตัดเกือบถึงโคนต้นกก  แล้วนำมากองเรียงเพื่อคัดแยกขนาด ตั้งแต่ความยาว ๙ คืบ  ๘ คืบ  เรื่อยลงมาจนถึง  ๔ คืบ  จากนั้นนำแต่ละกองที่มีขนาดเท่ากันมัดเก็บไว้ด้วยกัน ตัดดอกทิ้งเพื่อทำการกรีดเป็นเส้น
    ๓.  การกรีดจะใช้มีดปลายแหลมที่ทำมาจากใบเลื่อย  กรีดแบ่งครึ่งกกแต่ละเส้นถ้าเป็นต้นเล็ก  ถ้าเป็นต้นใหญ่ก็กรีดเหมือนกัน  แต่จะมีส่วนที่กรีดทิ้ง  เพื่อให้แห้งง่าย
    ๔  หลังจากได้เส้นกกแล้ว ก็นำไปตาก  โดยแผ่วางเรียงเป็นแนวยาว  วันแรกจะตากเต็มวัน  จากนั้นนำมามัดเป็นมัดเล็กๆ  แล้วตากอีกราว ๒ วัน  ให้เส้นกกนั้นแห้ง
    ๕.  การย้อมสี  นำกกที่ตากแห้งแล้วมามัดแช่น้ำราว  ๑๐ ชั่วโมง  เพื่อให้เส้นกกนิ่ม  จากนั้นต้มน้ำให้เดือด  ใส่สีย้อม แล้วนำเส้นกกที่มัดเป็นกำแช่ลงไปในน้ำสีที่กำลังเดือดทิ้งไว้  ๑๐-๑๕  นาที  จึงนำไปแช่น้ำ  แล้วนำขึ้นตากในที่ร่มมีลมพัดผ่าน ๓-๔ วัน  เมื่อเส้นกกสีแห้ง  ก็สามารถนำไปใช้ในการทอได้
    ๖.  การทอจะร้อยเส้นเอ็นกับฟืมเป็นเส้นยืนตามขนาดของคืบที่กำหนด  แล้วใช้เส้นกกใส่กระสวยทอเรียงเป็นเส้นนอนคล้ายการทอผ้า  การใส่ลายสีในการทอนิยมใส่ตอนแรก และตอนสุดท้ายของการทอ  เมื่อจะเต็มผืน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยความสำเร็จ

การทำเสื่อกก ต้อง ทำด้วยความละเอียด จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมีความมีความอดทนและรักในงานที่ทำ บ้านหนองหวาย หมู่ ๔ มีผู้เชี่ยวชาญในกาทอเสื่อซึ่งเป็นผู้สูงอายุ และวัยกลางคน เชี่ยวชาญในการทำเสื่อมาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา