เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นายบุญลบ ขันดี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-31-21:37:35

ที่อยู่ : 150 ม.12 ต.หนองกุงศรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังฤดูกาลการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านไม่มีอาชีพเสริม ไม่มีรายได้มาช่วยจุนเจือครอบครัว ชาวบ้านจึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อทำการเพาะเห็ดฟาง ซึ่งมีผู้รู้ มีความสามารถนำพาสมาชิกกลุ่มทำการเพาะเห็ด เพื่อให้เกิดรายได้ในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1. เตรียมดิน โดยถางหญ้าออก พรวนดินปรับเป็นกองหลังเต่า ตากแดดก่อนเพาะ 2-3 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค ปรับสภาพให้เป็นกลางรดน้ำให้ชุ่มก่อนเพาะ เพื่อให้ดินอุ้มน้ำได้ดี

2. นำฟางแช่น้ำ 1 คืน หรืออย่างน้อย 6 ชั่วโมง แช่ให้เปียกทั่ว นำอาหารเสริมประเภทย่อยง่าย เช่น ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวาสับตากแห้ง จอกแหนสับตากแห้ง ต้นกล้วยสับตากแห้ง แช่น้ำเช่นเดียวกับฟาง

3.             นำแบบเพาะทำด้วยไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดสูง 35-40 ซ.ม. ฐานกว้าง 35-40 ซ.ม.  ด้านบนกว้าง 25-30 ซ.ม.  ยาว 1-1.5 เมตร วางลงบนแปลง

4.  นำฟางที่สะเด็ดน้ำ ประมาณ 7 - 8 ก.ก.  ใส่ในแบบเพาะ กดให้แน่นหนาประมาณ 4-6 นิ้ว

5.  นำอาหารเสริมประมาณ 0.5-1 ก.ก. ที่สะเด็ดน้ำโรยในแบบเพาะรอบขอบ กว้างประมาณ 2 นิ้ว หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วจึงเอาเชื้อเห็ด 1 ถุง หนักประมาณ 3-4 ขีด แบ่งเป็น 3 ส่วน โรยส่วนที่ 1 ทับอาหารเสริมให้ทั่วรอบขอบแบบเพาะ เป็นอันเสร็จชั้นที่ 1 ทำสลับกันแบบนี้สามชั้น แล้วเอาฟางประมาณ 2-5 ก.ก. ปิดทับชั้นที่ 3 ให้หนา 1-2 นิ้ว

6. ยกแบบเพาะออก แล้วทำการเพาะเช่นเดียวกันต่อไปเรื่อยๆ โดยเว้นระยะห่างแต่ละกองประมาณ 1 คืบ และรดน้ำให้ชุ่มทุกกอง

7. เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก ควรพรวนดินระหว่างกองเพาะ แล้วนำเชื้อเห็ดมาคลุกกับอาหารเสริมในอัตราส่วน 1:10 หว่านบนผิวดินที่พรวน

8. เอาผ้าพลาสติกคลุมโดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางกอง ให้คลุมพื้นที่ดินรอบกองเพาะออกมาประมาณ 50 ซ.ม. เพื่อให้ดอกเห็ดเกิดบนดินได้สะดวก

9. นำฟางแห้งคลุมทับผ้าพลาสติกให้มิด เพื่อป้องกันแสงแดด ถ้าอากาศร้อนให้คลุมทับหนา อากาศหนาวคลุมบาง

การดูแลรักษา

1. ในช่วงวันที่ 1-3 เห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 32-38 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ต้องระบายความร้อน โดยเปิดผ้าพลาสติกตรงกลางกองเพาะออก 2 นิ้ว

2. ถ้ากองเพาะแห้งเกินไป (ดูได้จากการดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดูจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย) ให้ใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น ระวังอย่าให้แฉะเกินไป

3. ช่วงวันที่ 4-7 อุณหภูมิไม่ควรเกิน 32 องศาเซลเซียส ถ้าเกินต้องเปิดผ้าพลาสติกตรงกลางกองเพาะออก 3 นิ้ว ประมาณวันที่ 7 จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาวเล็ก ๆ ช่วงนี้ต้องอย่ารดน้ำโดนเห็ด เพราะดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกองเพาะ

4. ในช่วงวันที่ 7-12 เป็นระยะการเจริญของดอกเห็ด ต้องการอากาศมากขึ้น ให้เปิดผ้าพลาสติกตรงกลางกองเพาะออก 5-6 นิ้ว อุณหภูมิที่เหมาะสม 28-32 องศาเซลเซียส รักษาสภาพนี้ไว้จนดอกเห็ดโตเต็มวัย คือก่อนที่จะบานจึงเก็บได้

การเก็บดอกเห็ด

เก็บโดยใช้มือจับทั้งกอเบาๆ หมุนซ้าย-ขวาเล็กน้อย แล้วค่อยๆ ดึงขึ้น พยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน ผลผลิตที่ได้ประมาณ 1-2 กก. ต่อ 1 กองเพาะ ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกอ มีทั้งดอกเล็กและดอกใหญ่ ถ้ามีดอกเล็กมากกว่า ควรรอเก็บรุ่นที่ 2 ซึ่งห่างจากรุ่นแรกประมาณ 2-3 วัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การดูลักษณะของดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ดสีขาว ต้องเปิดพลาสติกที่คลุมออก หรือทำท่ออากาศให้อากาศมีการถ่ายเถ ระบายอากาศออก จะทำให้ดอกเห็ดมีสีคล้ำเล็กน้อย ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด การรดน้ำ ไม่ควรรดน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เห็ดไม่ออกดอก

อุปกรณ์ ->

ให้ระวังเกี่ยวกับอากาศที่จะร้อนมากจนเกินไป หรือเย็นเกินไป เราควรดูแลอย่างใกล้ชิด

การหว่านเชื้อเห็ด การหว่านปุ๋ยควรหว่านให้สม่ำเสมอ

การรดน้ำ ไม่ควรรดน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เห็ดไม่ออกดอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา