เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เพาะเห็ดฟาง

โดย : นางสาวนงค์นุด ผลรักษา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-09-10:24:14

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 53 หมู่ที่ 7 ตำบล โนนแหลมทอง อำเภอ สหัสขันธ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการดำเนินการ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในปี พ.ศ. 2556 ที่ได้รับงบประมาณจาก   กรมการพัฒนาชุมชน  ทำให้พี่น้องชุมชนได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้สอดคล้อง กับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต โดยคิดที่จะสร้างภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพหลังฤดูทำไร่ – ทำนา จึงได้ค่อยๆรวมตัวกัน    เป็นกลุ่มอาชีพผู้ปลูกเห็ดฟาง ใน ปี พ.ศ. 2557 และได้รับงบประมาณในการส่งเสริมอาชีพกลุ่มผู้ปลูกเห็ดฟาง             ในปีพ.ศ. 2559 งบประมาณจาก โครงการสร้างอาชีพเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจน (กยจ.)             จำนวน 150,000 บาท และสมาชิกได้ร่วมดำเนินการพัฒนาแนวทางในการจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ        จึงได้ดำเนินงานให้มีการลงหุ้น เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการกู้ยืมไปประกอบอาชีพในกลุ่มสมาชิก และได้วางระเบียบให้เป็นเครื่องหมายนำทางการดำเนินงานกลุ่มเห็ดฟาง อีกทั้งเพื่อการช่วยเหลือกันในสมาชิกกลุ่มเห็ดฟางจึงได้ดำเนินการจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกยามเจ็บป่วยอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย 

1.      เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค 

2.      การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ ปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้กองได้เลย

3.      หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกระบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมีลักษณะป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก ส่วนปลายอยู่ด้านในใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควรระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป

4.      นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้ง 4 ด้าน              หนาประมาณ 1 นิ้ว

5.      แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้ง 4 ด้าน     ก็เป็นการเสร็จขั้นที่ 1

6.      ทำขั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับขั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง

7.      นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป

8.      ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกับกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว

9.      ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น

10.  คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อย     โดยคลุมเป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัดการคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ      ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํC และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 ํC

11.       นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ  ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๓.๑ มีการบริหารจัดการกลุ่ม/องค์กร ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรมทุกขั้นตอน  โดยยึดตามหลัก 5 ก

๓.๒ มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและกลุ่ม

๓.๓ มีความเสียสละ

๓.๔ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและการพนัน

 

 

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำ  ชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกอง จึงทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสมต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้ อีกด้วย

2.      ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้

3.      หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ80 ซม. ทำแบบการเพาะเห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6-8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ดได้อีกมากพอสมควรเก็บได้ประมาณ 10-15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วย  โดยแทบไม่ต้องผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็นปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์

4.      เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟางที่ได้จากการเพาะเห็ด ไปเพาะเห็ดนางรมเป๋าฮื้อ ก็ได้

5.      การขุดดินตากแดด 1 สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20%เพราะเห็ดเกิดบนดิน รอบ ๆ ฟางได้

6.      การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ 4 นับจากการเพาะ เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา