เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ย้อมคราม

โดย : นายเพชรสมร ภาพเสรี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-31-13:19:24

ที่อยู่ : 1 หมู่ที่ 6 ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           การย้อมครามสมัยก่อนจะทำใช้เองในครัวเรือน เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอด  มาจากบรรพบุรุษ ครามจะย้อมกับผ้าฝ้าย  ทั้งยังเป็นอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัว และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จะย้อมผ้าฝ้ายครามไว้ใช้ และจำหน่ายให้กับผู้สั่งจอง ซึ่งเป็นรายได้ให้กับครอบครัว มีการทอลายสวยงาม โดยการมัดย้อมสีธรรมชาติ  เช่น เปลือกคลั่ง เปลือกประดู่  มะเกลือ

วัตถุประสงค์ ->

๒.กระบวนการ/วิธีขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้การไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

๑.      เนื้อคราม

๒.      ผงขี้เถ้า

๓.      ปูนขาว

๔.      หม้อดิน

๕.      เส้นฝ้าย

๖.      ถังมีฝาปิด

๗.      ขัน

๘.      ส้อมกวนคราม

๙.      ตะแกรงกรองคราม

๑๐.   ถุงมือ

 

 

 

 

 

         - ๒ - 

 

วิธีขั้นตอน

 

๑. การก่อหม้อครามเตรียมน้ำย้อม

                      ชั่งเนื้อครามเปียก ๑ กิโลกรัมผสมน้ำขี้เถ้า ๓ ลิตร ในโอ่งดิน โจกน้ำย้อม ทุกเช้า – เย็น สังเกต สีกลิ่น และฟอง วันที่ 3 ใช้มะขามเปียก ๑๐๐ กรัมต้นกับน้ำ ๑ ลิตร พักให้เย็น ผสมลงไปในโอ่งน้ำย้อม โจกครามทุกวันและสังเกตต่อไป ซึ่งน้ำย้อมจะใสขึ้น เปลี่ยนเป็นสีเขียวปนน้ำเงิน กลิ่นหอมอ่อน ฟองสีน้ำเงิน โจกครามทุกวันจนกว่าน้ำย้อมจะเป็นสีเหลืองอมเขียวหรือเขียวยอดตอง ขุ่นข้น ฟองสีน้ำเงินเข้มวาว ไม่แตกยุบ แสดงว่าเกิดสีคราม ในน้ำย้อมแล้ว ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 7 วัน

๒. การเตรียมน้ำขี้เถ้า

                      น้ำขี้เถ้าที่ใช้ ทำมาจากขี้เถ้าของไม้ต้นขี้เหล็กเท่านั้น และต้องเตรียมให้ได้ความเค็มคงที่ ซึ่งโดยทั่งไปมักใช้เหง้ากล้วยเป็นหลัก เพราะหาง่ายและทำให้สีครามติดฝ้ายได้ดีเตรียมโดยสับเหง้ากล้วยเป็นชิ้น ๆ ผึ่งแดดพอหมาด นำมาเผารวมกับทางมะพร้าว เปลือกผลนุ่นฯลฯ จนไหม้เป็นเถ้า ใช้น้ำพรมดับไฟ รอให้อุ่นจึงเก็บในภาชนะปิด ถ้าทิ้งไว้ให้ขี้เถ้าเย็น การละลายของเกลือในขี้เถ้าจะน้อยลง หรือถ้ารดน้ำดับไฟแล้วทิ้งไว้นานสารละลายเกลือจากขี้เถ้าก็ซึมลงดินบริเวณที่เผา ทุกอย่างจึงต้องแย่งชิงให้ถูกจังหวะ นำขี้เถ้าชื้นนั้นบรรจุในภาชนะทีเจาะรูด้านล่างไว้ อัดขี้เถ้าให้แน่นที่สุดเท่าที่ทำได้ เติมน้ำให้ได้ระดับเดียวกับขี้เถ้าก่อนกดอัด กรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งแรก แล้วเติมน้ำอีกเท่าเดิม กรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งที่สอง รวมกันกับน้ำขี้เถ้าครั้งแรก จะได้น้ำขี้เถ้าเค็มพอดีกับการใช้งานต่อไป

๓. การย้อมคราม

                     สีครามในน้ำย้อม แทรกเข้าไปอยู่ภายในโคร้างสร้างของเส้นใยฝ้ายได้ดีเมื่อยกเส้นใยพ้นน้ำย้อม สัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ สีครามจะถูกออกซิไดส์เป็นสีน้ำเงิน ขังอยู่ภายในเส้นใย เส้นใยที่ย้อมติดสีครามได้ดี โดยเฉพาะใยฝ้าย ดังนั้นก่อนย้อม ต้องทำความสะอาดฝ้ายและทำให้ฝ้ายเปียกด้วยน้ำสะอาด หากล้างฝ้ายไม่สะอาด เมื่อนำไปย้อมจะทำให้สีครามน้ำย้อมเปลี่ยนไปย้อมไม่ติด หรือหม้อหนี หากทำฝ้ายเปียกน้ำไม่ทั่ว เมื่อนำไปย้อม สีครามแทรกเข้าเส้นฝ้ายไม่ส่ำเสมอทำให้เกิดรอยด่าง เส้นใยเรยอนที่โรงงานอุตสาหกรรมนำเศษฝ้ายและเศษไม้มาปรับแต่งเป็นเส้นใยขนาดเล็กสม่ำเสมอ นุ่ม มันวาว ย้อมติดสีครามได้ดี ให้สีน้ำเงินเข้ม สวยงาม แต่ทนต่อการนุ่งห่มน้อยกว่าใยฝ้าย

 

 

 

 

 

 

- ๓ -

                      นอกจากสีครามน้ำย้อมและเส้นใยแล้ว น้ำย้อมที่เย็นจะย้อมติดสีครามได้ดีกว่า ดังนั้นจึงควรใช้โอ่งดินทำหม้อคราม เพราะน้ำที่ซึมจากโอ่งดินจะช่วยระบายความร้อนทำให้อุณหภูมิของน้ำย้อมเย็นกว่าปกติ หรือตอนเช้าและตอนเย็นเป็นเวลาทีเหมาะสมในการย้อมคราม เมื่อจะย้อมครามให้ตักน้ำย้อมประมาณ 1 ลิตร ออกไว้ก่อน จึงนำฝ้ายหมากน้ำลงย้อม ขณะย้อมต้องระวังให้อากาศสัมผัสน้ำย้อมน้อยที่สุด นั่นคือค่อยๆ กำเส้นฝ้ายใต้น้ำย้อม ให้แน่นแล้วคลายมือให้สีครามแทรกเข้าไปในทุกอณูของเส้นฝ้าย กำและคลายไล่เรียงไปตามวงเส้นฝ้าย สังเกตน้ำย้อม สีเหลืองจากไป สีน้ำเงินเข้ามาแทน ความข้นหนีลดลง จึงหยุดย้อม บิดเส้นฝ้ายให้หมาด กระตุกให้ฝ้ายเรียงเส้นและสัมผัสอากาศ แล้วเก็บฝ้ายชื้นนั้นในภาชนะปิด ถ้าตากฝ้ายที่ย้อมทันทีจะเกิดร้อยด่างในเส้นฝ้าย หากต้องการสีเข้มต้องย้อมซ้ำในหม้อครามอื่นอีกต่อไป พักไว้ 3-5 นาที จึงล้างให้สะอาดน้ำล้างใสไม่มีสี ผึ่งลมให้แห้ง นำไปใช้งานต่อไป ส่วนน้ำย้อมที่ตักไว้ใช้เป็นเชื้อ เทกลับคืนหม้อครามเดิมและเติมน้ำครามอีก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                    ๓. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑. ค้นหา สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ ให้มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ

๒. ขยายผลการการสานอวนกับชุมชน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                    เทคนิคเคล็ดลับในการผลิต

การดูแลน้ำย้อมในหม้อครามให้ย้อมได้ทุกวัน เช้า – เย็น ติดต่อกันนาน ๆ เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดในการทำสีคราม แต่ถ้าช่างย้อมเข้าในสีครามและหมั่นสังเกต อีกทั้งซื่อตรงสม่ำเสมอในการปฎิบัติ จะสามารถดูแลหม้อครามแต่ละหม้อได้นานหลายปี การดูแลหม้อครามเป็นงานที่ท้ายทายและเป็นตัวชี้วัดความชำนาญของช่างย้อม ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาฝึกฝน สังเกต และทดลองทุกวันตลอด 3-5 ปี ถ้าอยากเรียนลัดเป็นช่างที่ชำนาญการย้อมครามภายใน 1 ปี ต้องรู้จักสีครามให้ดี หลักการสำคัญ ต้องช่างสังเกต และสม่ำเสมอ ฝึกความชำนาญวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่ควรเปลี่ยนวัตถุดิบที่เคยใช้ และแต่ละกลุ่มไม่ควรเปลี่ยนคนย้อมและดูแลหม้อคราม

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา