ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นางน้ำค้าง คนหลัก วันที่ : 2017-03-20-14:21:44

ที่อยู่ : บ้านเลขที่......82.. หมู่ที่....1... ตำบล....หนองควายโซ....อำเภอ..หนองแซง... จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์....๑๘๑๗๐..

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

(๑)...สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้

(๒). ต้นทุนการผลิต การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีลดลง ทำให้มีผลกำไรมาก

(๓)..เป็นทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น นำกลับมาใช้ประโยชน์

วัตถุประสงค์ ->

(๑).เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับผู้สนใจ.สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมได้

(๒). สร้างรายได้แก่ครัวเรือน สู่ชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(๑) ฟาง 

(๒).ขี้วัว

(๓).น้ำ

อุปกรณ์ ->

(๑).ตะขอเขี่ยฟาง

(๒) บัวรดน้ำ

(๓).บุ้งกี๋

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(1). นำฟาง 4 เข่ง "วางหนา 10 ซม." บนพื้นดิน ฐานกว้าง 2.5 ม. โรยทับด้วยขี้วัว 1 เข่ง (เพื่อให้เป็นสัดส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร

(2). ทำชั้นที่ 2 ซ้ำขั้นตอนข้างต้น แล้วรดน้ำ ... ทำชั้นสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ชั้นเศษพืชหนาเพียง 10 ซม. โดยให้กองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยม สูงรวม 1.5 ม. ปกติก็จะมีจำนวน 15 - 20 ชั้น ... การทำเป็นชั้นบาง ๆ ก็เพื่อให้จุลินทรีย์ในมูลสัตว์สามารถออกมาย่อยสลายเศษพืชได้ทั่วถึง

(3). ภายในเวลา 2 เดือนให้ดูแลน้ำอย่างปราณีต ได้แก่ รดน้ำวันละครั้ง ในปริมาณที่ไม่ทำให้น้ำไหลนองออกมามากเกินไป . แล้วทุก 10 วันก็ให้เอาไม้เจาะกองปุ๋ยถึงพื้นดิน ระยะห่างรู 40 ซม.      รอบกอง กรอกน้ำลงไปในปริมาณที่ทำให้ภายในกองปุ๋ยชื้นพอดี ๆ ไม่มีน้ำไหลนองออกมา

(4) พอครบสองเดือน กองปุ๋ยก็จะยุบเหลือแค่ 1 เมตร กระบวนการก็จะยุติโดยไม่ต้องพลิกกองเลย แล้วทิ้งให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว ไม่เป็นอันตรายต่อพืช แห้งแล้วค่อยเอาไปใช้หรือเก็บใส่กระสอบ เก็บในร่มได้นาน 3-4 ปี

ข้อพึงระวัง ->

(๑). ห้ามเหยีบกองปุ๋ย เพราะจุลินทรีย์ในมูลสัตว์ไม่สามารถย่อยสลายเศษพืชได้ทั่วถึง

(๒)  ห้ามเอาผ้าคลุม เพราะจะทำให้อากาศไหลเวียนเข้าไปในกองปุ๋ยไม่ได้

(๓)  รดน้ำกลางปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ

 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา