ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงจิ้งหรีด

โดย : นายสมควร จันพางาม วันที่ : 2017-03-20-09:29:49

ที่อยู่ : บ้านเลขที่.....10/4..... หมู่ที่.......2........ ตำบล....ห้วยแห้ง.....อำเภอ......แก่งคอย.......... จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์........18260...........

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันของข้าพเจ้า ในแต่ละวันจะมีภาระค่าใช้จ่าย จึงมีแนวความคิดที่จะหางานทำ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และพอที่จะมีเงินเก็บไว้ใช้ในอนาคต จึงพยายามหางานเสริมที่ไม่จำเป็นต้องทำตลอดเวลา เช่น การทำการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ จึงได้ศึกษาเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีดจากเพื่อนที่ชื่อ นายไพรวัลย์ฯ ซึ่งเพื่อนคนนี้ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี (ตำบลเดียวกัน คนละหมู่บ้าน) เริ่มต้นด้วยการซื้อพันธุ์จิ้งหรีดมา 8 ขัน และทำกระบะเลี้ยงจิ้งหรีดเอง โดยดูตัวอย่างมาจากเพื่อน และขอคำแนะนำจากเพื่อนเมื่อเกิดปัญหาในการเลี้ยงจิ้งหรีด มาจนถึงวันนี้เป็นเวลา 2 ปีที่เลี้ยงจิ้งหรีดมา ซึ่งประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงจิ้งหรีด สามารถเพิ่มรายได้จากการทำงานเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีเงินใช้ เงินเก็บพอสมควร ประกอบกับเป็นผู้นำหมู่บ้านจึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชาวบ้าน ซึ่งปัจจุบันก็ได้เป็นจิตอาสาช่วยเหลือสังคม ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ที่มีให้แก่ชาวบ้าน และช่วยเหลือชาวบ้านให้มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และสอนให้ชาวบ้านรู้จักการทำบัญชีครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

     (1) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

     (2) เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ให้กับผู้ที่มีความสนใจในการประกอบอาชีพการเลี้ยงจิ้งหรีด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

     (1) ดินเพาะชำต้นไม้

     (2) ไข่จิ้งหรีด                                                      

     (3) อาหารจิ้งหรีด                                                

     (4) น้ำ

 

อุปกรณ์ ->

    (1) เหล็กกล่อง ขนาด 1 นิ้ว

    (2) กระเบื้องแผ่นเรียบ (กxยxส)120x240x60 เซนติเมตร

    (3) แผงไข่กระดาษ                                     

    (4) กระบอกฉีดน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเลี้ยงจิ้งหรีด  ได้ทำศึกษาถึงความคุ้มค่า  ความเสี่ยงจากผู้ที่มีความรู้ก่อน เพื่อเป็น

ภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพไม่ให้เกิดความล้มเหลว

          จิ้งหรีดเป็นแมลงที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ มีขนาดประมาณ 2 ซม.X1 ซม. มีสีน้ำตาลปนเหลือง ชอบกระโดด กินพืชเป็นอาหาร ปัจจุบันคนนิยมเลี้ยงเพื่อบริโภค โดยการทอด คั่ว แกง ห่อหมก และยำ จิ้งหรีดมีโปรตีนสารอาหารสูง ปลอดสารพิษสามารถแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารได้ เลี้ยงง่ายขยายพันธุ์เร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ไว้บริโภค หรือเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม สามารถใช้เวลาว่างจากการทำเกษตรมาดูแลจิ้งหรีดได้ ภายใน 1 ปีจะสามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ถึง 5 รุ่น

 

 

 

 

 

 

 

ระยะไข่ รูปร่างยาวเรียวคล้ายเมล็ดข้าวสาร สีขาวขนาด 1 มม. ตัวอ่อนลำตัวสีน้ำตาล ดำ ฟักออกจากไข่ช่วงแรกจะไม่มีปีก จะเริ่มมีตุ่มปีกในเมื่อถึงกลางวัยอ่อนพอลอกคราบ 8 ครั้งจะเข้าถึงวัยแก่ (รวมอายุวัยอ่อนถึงแก่ ประมาณ 45-55 วัน

          ระยะโตเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เพศผู้ปีกคู่หน้าย่นมีหนามไว้ทำเสียง เพศเมียมีปีกเรียบและมีเข็มวางไข่อยู่ส่วนท้ายของลำตัว อายุวัยแก่ประมาณ 38- 49 วัน

          การผสมพันธุ์ จิ้งหรีดตัวเต็มวัยอายุ 3-4 วันจะเริ่มผสมพันธุ์ ตัวผู้จะขยับปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียงดังหลายจังหวะ หลายสำเนียงในการสื่อสารความหมายต่างๆ สำหรับการผสมพันธุ์จะเกิดตลอดอายุตัวเต็มวัย โดยตัวเมียจะขึ้นคร่อมหลังตัวผู้

                 ลักษณะของจิ้งหรีดเพศผู้กับเพศเมีย                                                การผสมพันธุ์

 

 

การวางไข่ ตัวเมียเริ่มวางไข่เมื่อผสมพันธุ์ผ่านไป 3-4 วัน โดยวางไข่ไว้ใต้ดินและฟักออกเป็นตัวภายใน

7 วัน

          ส่วนผสม

          1. ไข่จิ้งหรีด                                                   15   ขัน

          2. อาหารจิ้งหรีด                                              30   กิโลกรัม

          3. ผักปลอดสารพิษ                                           30   กิโลกรัม

          4. น้ำสะอาด                                                   60   ลิตร 

          5. กล่องสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด (120x240x60 ซ.ม.)     1   กล่อง

          6. ถาดวางไข่กระดาษ                                      150   แผง

          7. ขวดพลาสติก

          8. ขวดสเปรย์ สำหรับพรมน้ำ

ขั้นตอน

                1. จัดเลี้ยงถาดวางไข่กระดาษ 150 แผง เพื่อเป็นที่อาศัยของจิ้งหรีด

          2. วางขันไข่จิ้งหรีดบนแผงไข่ในตำแหน่งที่ชิดผนังกล่อง

          3. เมื่อจิ้งหรีดฟักเป็นตัว 3 วันแรก ใช้สเปรย์พรมน้ำให้จิ้งหรีดได้กินน้ำ

          4. จิ้งหรีดอายุได้ประมาณ 3-10 วัน ให้อาหารเสริมและผัก  และยังใช้สเปรย์ฉีดพรมน้ำ

          5. จิ้งหรีดอายุ 10-20 วัน ให้น้ำโดยการใส่ภาชนะที่ไม่สูงเกินไป ใช้ก้อนหินให้จิ้งหรีดไต่

          6. ให้อาหาร และผักตามปกติ

          7. จิ้งหรีดอายุ 35 วัน เริ่มผสมพันธุ์กัน

          8. วันที่ 40 จิ้งหรีด ผสมพันธุ์กัน ตัวเมียมีไข่แก่พร้อมวางไข่

          9. วันที่ 41-42 วางขันขัน วันที่ 42-45 ให้ฟักทอง 1 วัน แล้วจึงจับจำหน่าย/รับประทานได้

          การให้อาหาร

                   พืชอาหาร ได้แก่ ต้นอ่อนและยอดอ่อนของพืชหรือหญ้าสดทุกชนิด หญ้าขน ผักตบชวา ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง โดย 2 วันให้หญ้า 1 ครั้ง มากน้อยตามความเหมาะสมของความหนาแน่นของจิ้งหรีด หญ้าเก่าไม่ต้องนำออก ทิ้งไว้ให้เป็นที่อาศัยของจิ้งหรีดต่อไป

                   อาหารเสริม รำอ่อนหรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงไก่ และตอนนี้มีอาหารสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีดโดยตรงแล้วแต่ราคาค่อนข้างสูง  30 กก.ราคา 470 บาท สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ 2 รุ่น

          การให้น้ำ

          ให้โดยการใช้สเปรย์ฉีดเป็นละอองตามที่อาศัยของจิ้งหรีด ไม่ให้แฉะเกินไปเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้ ใช้กล่องหรือฝาปิดอาหารที่มีความสูงไม่เกิน 1 ซม.แล้วนำผ้ามาวางในฝา เพื่อป้องกันจิ้งหรีดจมน้ำตาย ให้น้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง จิ้งหรีดยิ่งโตยิ่งกินน้ำเก่ง

 

 

          การเก็บไข่จิ้งหรีด

          ใช้ขันพลาสติกขนาด 15X5 ซม. นำดินร่วนผสมแกลบดำใส่ในขันจนเกือบเต็มขัน วางไว้ใกล้ติดกับผนังคอกจิ้งหรีด หรือวางติดพื้นคอกและให้ชิดกับรังไข่ไก่เพื่อจิ้งหรีดจะได้ไต่ขึ้นวางไข่ได้ง่าย แล้วปล่อยให้จิ้งหรีดวางไข่ ประมาณ 2 วัน แล้วนำขันไข่ออก (หากปล่อยไว้นานจิ้งหรีดจะโตไม่เท่ากัน)

          การจับจิ้งหรีด

          ก่อนจะจับจิ้งหรีดให้นำฟักทองมาหั่นให้จิ้งหรีดกิน (พร้อมกับการวางขันไข่จิ้งหรีด) เป็นเวลา 2 วัน เพื่อลดกลิ่นของอาหารจิ้งหรีด และทำให้จิ้งหรีดมีรสชาติอร่อยไม่มีกลิ่นฉุน

         เตรียมน้ำเปล่าใส่ถัง แล้วจับจิ้งหรีดมาแช่น้ำประมาณ 10 นาที แล้วจิ้งหรีดจะตาย (น็อกด้วยน้ำ) แล้วนำจิ้งหรีดไปต้มให้สุกประมาณ 3 นาที บรรจุใส่ถุงแล้วนำไปแช่แข็งเพื่อเก็บไว้ได้หลายวันหรือทำอาหารต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

(1) การเลี้ยงจิ้งหรีดต้องเอาใจใส่ตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยง อุปกรณ์ในการเลี้ยงต้องสะอาด ต้องป้องกันศตรูของจิ้งหรีดไม่ให้มาทำลาย เช่น มด จิ้งจก แมงมุม และอื่นๆ

(2) การให้อาหารควรให้เหมาะสมกับการกินของจิ้งหรีด ไม่ให้มากเกินไป เพราะหากจิ้งหรีดกินอาหารไม่หมดจะทำให้เกิดเชื้อรา จิ้งหรีดกินอาจทำให้จิ้งหรีดท้องเสีย และทำให้จิ้งหรีดตายได้ ไม่ควรเอาผักที่มีสารเคมีให้จิ้งหรีดกินอาจทำให้จิ้งหรีดตายได้

          (3) การให้น้ำจิ้งหรีดในระยะตัวอ่อน ต้องใช้กระบอกฉีดน้ำให้เป็นละออง เนื่องจากจิ้งหรีดยังตัว

เล็กยังไม่แข็งแรงมาก หากให้น้ำมากเกินไปจะทำให้จิ้งหรีดจมน้ำตายได้ หากน้ำมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวก็ต้องเปลี่ยนน้ำใหม่ทันที

(4) เมื่อเลี้ยงจิ้งหรีดได้ 40-45 วันสามารถจับจิ้งหรีดได้ โดยก่อนที่จะจับ ต้องให้จิ้งหรีดกินฟักทองก่อนเพื่อเป็นการล้างท้องจิ้งหรีดไม่ให้มีกลิ่นคาวของอาหารจิ้งหรีดและถือเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้จิ้งหรีดไปด้วย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา