ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงแพะ

โดย : นายวินัย ประกาสิต วันที่ : 2017-03-20-09:18:27

ที่อยู่ : บ้านเลขที่....109/4.... หมู่ที่.......11........ ตำบล....บ้านป่า.......อำเภอ.....แก่งคอย....... จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์........18110........

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ด้วยในชุมชนมีชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก มีการเลี้ยงแพะแบบปล่อยเพื่อบริโภค จึงมี   แนวคิดว่าหาก  เลี้ยงแบบขังคอกน่าจะได้น้ำหนักดีและใช้พื้นที่น้อยกว้าจึงได้ทดลองเลี้ยงจนเกิด ความชำนาญ และกลายเป็นอาชีพลัก

วัตถุประสงค์ ->

(๑)เพื่อเป็นการสร้างอาชีพภายในครอบครัว

(๒)เป็นแหล่งอาหารต้นทุนต่ำเพื่อบริโภคในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(๑) อาหารข้อสำหรับเลี้ยงแพะ

(๒)เศษวัชพืชในชุมชน

(๓)แพะ

อุปกรณ์ ->

(๑)โรงเรือนสำหรับเลี้ยงสัตว์ ยกพื้นสูง

(๒) กระบะสำหรับใส่อาหาร/น้ำ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการเลี้ยงแพะขุน

          การเลี้ยง แพะขุน จะแตกต่างจากการเลี้ยงแพะเพื่อเอาน้ำนมซักเล็กน้อยเพราะการเลี้ยงแพะขุนเราให้อาหารเสริมเพื่อเสริมกล้ามเนื้อให้เนื้อแน่นน้ำหนักเยอะ โดยวิธีการเลี้ยงแพะขุนจะแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ

          1.การเลี้ยงแพะขุนด้วยวิธีการปล่อย วิธีนี้เราจะเห็นอยู่ตามสวนยางหรือสวนปาล์มทางภาคใต้ ซึ่งข้อดีในการเลี้ยงวิธีนี้ก็คือ แพะได้เดินเหมือนกับการออกกำลังกายไปในตัว แต่สถานที่ที่ปล่อยให้แพะไปหาอาหารต้องมีอาหารที่เพียงพอต่อการเลี้ยงแพะด้วยเช่นกัน แต่เราก็ควรดูด้วยเมื่อแพะอิ่มเราควรไล่แพะเข้าคอกทันที และสถานที่เลี้ยงต้องมีน้ำเพียงพอให้กับแพะด้วย ผลพลอยได้จากการเลี้ยงวิธีนี้คือทำให้วัชพืชในสวนยาง สวนปาล์มนั้นลดน้อยลง แต่สิ่งสำคัญอย่างให้แพะโดนแดดโดนฝนมาก เพราะจะทำให้แพะป่วยได้

                   2.การเลี้ยงแพะขุนด้วยวิธีขังคอก ซึ่งจะเป็นคอกที่ยกสูงจากพื้นดินก็ได้หรือจะเป็นคอกที่         อยู่ติด  พื้นก็ได้เช่นกัน การเลี้ยงแพะขุนแบบขังคอกจะต้องคำนึงเสมอเรื่องของอาหารที่จะต้อง    เพียงพอด้วย    โดยให้อาหารเพียง 2 เวลาเท่านั้น สิ่งสำคัญในการเลี้ยงแพะก็คือน้ำและความ      สะอาดเราควรมีแหล่งน้ำ        ให้แพะอย่างสม่ำเสมอและไม่ขาดแคลน    

การให้อาหารแพะขุนจะมีทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น

                   อาหารที่ให้ก็ควรมีทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น โดยอาหารหยาบจะเป็นอาหารที่ได้จาก      ตาม ธรรมชาติ อาทิ หญ้าเลี้ยงสัตว์ และยอดกระถิน ซึ่งเป็นอาหารหลักของแพะ แต่เราก็ควร        จะ      เพิ่มอาหาร ข้นเข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับแพะขุน  หลังจากเลี้ยงไปได้ประมาณ 4 เดือน     ก็        สามารถนำมาขาย ได้แล้วแต่ส่วนมากเกษตรกรที่เลี้ยงแพะจะยังไม่ขายจะเลี้ยงต่อไปอีก ประมาณ 4 ถึง 5 เดือนเพื่อเพิ่ม น้ำหนักให้มากขึ้น โดยน้ำหนักเฉลี่ยจะได้ตามที่ตลาด  ต้องการอยู่ที่ 25         กิโลกรัม ถึง 27 กิโลกรัม

ข้อพึงระวัง ->

(๑) ระวังเรื่องโรค ของสัตว์เท้ากีบเช่น ปากเท้าเปื่อย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา