ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไส้เดือน

โดย : นายประเวทย์ ทองมั่น วันที่ : 2017-03-17-15:04:20

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 5 ตำบล หนองปลาไหล อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18000

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

(๑)  แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ : ประชากรในหมู่ที่  5  ตำบลหนองปลาไหล  เกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกร  ประกอบกับปุ๋ยไส้เดือนเป็นปุ๋ยที่มีราคาสูง แต่ให้ผลผลิตที่มาก จึงเกิดแรงบันดาลใจในการลดต้นทุนทางการเกษตร

(๒) ความเป็นมา :  จากการประชุมของปราชญ์ชาวบ้านจำนวน  5  คน  และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน  20  ครัวเรือน  พบว่า  จากการทำเกษตรกรรมของครัวเรือน พบว่า มูลไส้เดือนมีธาตุอาหารพืชหลัก คือ  ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส  และโปรตัสเซีม  (N  P  K) เมื่อนำมาใช้ในการเกษตรจะได้ผลผลิตที่ดีกว่าปุ๋ยชนิดอื่น ในการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ย และขายพันธุ์ไส้เดือนในปัจจุบัน มีราคาค่อนข้างสูง  และกำลังเป็นที่นิยมของตลาดในปัจจุบัน  จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

(๑) เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายสัมมาชีพ 20 ครัวเรือนได้มีความรู้และมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการนำไปจำหน่ายและใช้ในครัวเรือน

(2) เกิดการพึ่งพาตนเอง ครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

(3) ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

(4) เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

(5) ประหยัดต้นทุนการซื้อปุ๋ย ลดรายจ่าย

(6) เป็นความภาคภูมิใจและสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดินให้กับชุมชน

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(๑) เบดดิ้ง  อาหารไส้เดือน  ขี้วัวแห้ง เก็บเศษฟาง หรือวัสดุที่ปนมากับขี้วัวออกให้เหลือแค่ขี้วัว

(๒) ไส้เดือนดินพันธ์ุแอฟริกัน

 

อุปกรณ์ ->

(๑) กะละมังสีดำ

(2)  บัวรดน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ไส้เดือน หรือ ไส้เดือนดิน  เป็นสัตว์ไม่มีกระดูดสันหลัง  มีลักษณะตัวเป็น ข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดิน ใต้กองใบไม้ หรื มูลสัตว์ เป็นสัตว์ 2 เพศ  ในตัวเดียวกัน มีการสืบพันธ์ทั้งแบบอาชีพเพศ  และไม่อาศัยเพศ
          ประโยชน์ของปุ๋ยไส้เดือน ช่วยรักษาระบบนิเวศ ช่วยการย่อยอินทรียวัตถุในดิน การเคลื่อนไหวของไส้เดือน  เหมือนการพรวนดิน  เติมช่องว่างในดิน  เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน  และมีทั้งธาตุหลักและธาตุรอง  มีจุลินทรีย์ มีทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย  และฮอร์โมน

(1) วิธีเลี้ยงไส้เดือนด้วยกะละมัง

     - นำกะละมังไปเจาะรูโดยใช้สว่าน 2 หุน เจาะให้ทั่วกะละมัง เพื่อให้น้ำไหลผ่านออกได้สะดวก

     - นำขี้วัว เบดดิ้ง มาทำการรดน้ำ ให้ขี้วัวเปียก เพื่อล้างความร้อนของขี้วัวและแก๊สออกให้หมด

รดน้ำขี้วัว ประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วแต่ความร้อนของขี้วัว ผสมเข้ากันแล้วนำไปใส่ในกะละมัง ประมาณครึ่งกะลังมัง 

              - ใส่ไส้เดือนลงบนขี้วัวผสมไว้ในกะละมัง แล้วนำไว้ในโรงเรือนที่เย็น โดยทำเป็นชั้นเหล็ก หรือชั้นท่อพีวีซีก็ได้ ไส้เดือนชอบความชื้นและเย็น รดน้ำ ให้ความชื้นกับไส้เดือน 3-4 วันต่อครั้ง ประมาณ 1 ครึ่งหรือ 2 เดือน จะได้ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน เต็มกะละมัง สามารถนำไปใส่ พืช ผักผลไม้ หรือจำหน่ายได้

              - ควรลดน้ำไส้เดือนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ไส้เดือนตัวแห้งเพราะถ้าไส้เดือนตัวแห้งอาจ  จะทำให้ไส้เดือนตายได้เช่นกัน และต้องระวังเรื่องศัตรูของไส้เดือนด้วยซึ่งจะมี มด หนู และไก่     เป็นต้น

         (2) การเก็บผลผลิตจากไส้เดือน

         หลังจากเลี้ยงไปประมาณ 45 ถึง 60 วัน จะสังเกตเห็นได้ว่า ไส้เดือนจะมีการขยายพันธุ์ประมาณ 100 ถึง 120 ตัวต่อหนึ่งกะละมัง ควรแยกไส้เดือนออกก่อน และนำดินที่อยู่ในกะละมังมาร่อนเพื่อเอามูลไส้เดือน โดยหนึ่งกะละมังจะได้มูลไส้เดือนประมาณ 4 ถึง 5 กิโลกรัม แต่ถ้าเลี้ยงไว้ปริมาณมาก ๆ อาจจะได้สูงถึง 800 ถึง 900 กิโลกรัมเลยทีเดียว 

(3) การเก็บมูลไส้เดือนดิน
เมื่อเริ่มการเลี้ยงไส้เดือน ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ จะเริ่มเห็นมูลไส้เดือนปะปนอยู่กับเบดดิ้งด้านบน

ผิว พอถึงสัปดาห์ที่สอง มูลไส้เดือนจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ควรทำการเก็บมูลไส้เดือน โดยการปาดเก็บบริเวณผิวด้านบน ขั้นตอนดังนี้

- เอียงกะละมัง ประมาณ 40 องศา
- ใช้มือปาดให้มูลไส้เดือนดิน
- นำมูลไส้เดือนดินที่ปาดเก็บได้ นำไปใช้ได้เลย

         (4) "การตรวจสอบว่า เบดดิ้งใช้ได้หรือยัง"

          - ให้นำมือล้วงในกองเบดดิ้ง ถ้ายังมีความร้อนอยู่แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีความร้อนแล้วแสดงว่าใช้ได้แล้ว            

          - ให้นำเบดดิ้งที่คิดว่า เย็นแล้ว สะเด็ดน้ำแล้ว เอามาสัก 1 ขัน นำไส้เดือนตัวน้อยๆๆ มาสัก 4 - 5 ตัว ปล่อยลงไปก่อน โดยถ้าไส้เดือนชอบเบดดิ้งใหม่ ไส้เดือนจะมุดหาไปเลย ถ้าเบดดิ้งนั้นหมักยังไม่ได้ที่ไส้เดือนก็จะหนีไม่มุด ก็ต้องหมักเบดดิ้งใหม่

 

ข้อพึงระวัง ->

สาเหตุที่ไส้เดือนหนี มีหลายประการด้วยกัน
(1) เบดดิ้ง ที่ใช้นั่น ยังแช่หรือหมักไม่นานพอ ทำให้เกิดความร้อนและกลิ่น ส่งผลให้ไส้เดือนหนี

สำหรับท่านที่ใช้ขี้วัวนม นั่น ต้องทำการแช่น้ำ ไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ แล้วนำมาทิ้งให้สะเด็ดน้ำ จะได้เบดดิ้งคุณภาพดี
          (2) ให้เศษอาหารมากเกินไป ถ้าได้กลิ่นจากเศษอาหาร แปลว่า เศษอาหารกำลังเน่า ส่งความร้อน จะทำให้ไส้เดือนหนี
          (3) รดน้ำ แฉะเกินไป หรือปล่อยให้แห้งมากเกินไป ถ้าเกิดการแฉะในวัสดุเลี้ยงมาก ไส้เดือนจะหนี ถ้าปล่อยให้แห้ง ไส้เดือนจะตัวเล็กลง วัสดุเลี้ยง ถ้าแฉะเร็ว แปลว่า เป็นขี้ไส้เดือนหมดแล้ว  เพราะขี้ไส้เดือนจะเก็บน้ำได้ดีมาก
          (4) มีสัตว์อื่นรบกวน เช่น คางคก จิ้งหรีด หนู   

          (5) โรงเรือนที่เลี้ยงไส้เดือน คือ ต้องเป็นพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แดดส่องบ้าง แต่ไม่ให้ร้อนจัด

��บัติเทียบเท่ากับ  มูลค้างคาวเลยทีเดียว ทำให้สามารถนำไปใช้กับพืชได้ทุกชนิด เพียงใส่ปริมาณไม่มากก็สามารถเพิ่มแร่ธาตุในดินได้แล้ว

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา