ความรู้สัมมาชีพชุมชน

แทงหยวกกล้วย

โดย : นายสมพร มีทะโจล วันที่ : 2017-03-13-09:17:43

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๔๕ หมู่ ๑ ตำบล ผึ้งรวง อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัด สระบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา

          งานแทงหยวกกล้วยเป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดมาตั้งแต่อดีต เป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่งที่อยู่ในช่างสิบหมู่ ประเภทช่างสลักของอ่อน โดยใช้วัสดุคือต้นกล้วยมาสร้างงานฝีมือ ซึ่งมักใช้ในงานตกแต่งประดับประดา เมรูเผาศพ/เชิงตะกอน, งานบวช, งานกฐิน

         ซึ่งปราชญ์ผู้ให้ความรู้ ได้สืบทอดเรียนรู้การแทงหยวกมาจากลุง แรกเริ่มจาการเป็นลูกมือของลุง ตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งสมัยก่อนจะแทงหยวกกล้วยเพื่อประดับเชิงตะกอน แต่ปัจจุบันเชิงตะกอนไม่มี เปลี่ยนเป็นเมรุแทน และการประดับตกแต่ง จะใช้โฟมและการผูกผ้าแทน และได้มีการสืบทอดภูมิปัญญา โดยเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และหน่วยงานราชการที่จัดฝึกอบรม

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

          หยวกกล้วยเป็นวัสดุที่อ่อน ชำรุดเสียหายง่าย การแทงหยวกต้องอาศัยความชำนาญ มีดที่ใช้ในการแทงหยวกต้องมีความคม หากผู้แทงไม่มีความชำนาญ จะทำให้ลวดลายขาดออกจากกัน หยวกกล้วยที่นำมาใช้จะเป็นกล้วยตานี เพราะกาบกล้วยอ่อน ไม่แตกง่าย และเก็บไว้ได้นาน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการแทงหยวก คือวิธีการจับมีดจะต้องให้ตั้งฉากกับหน้าตัดของหยวก จะทำให้รอยตัดตั้งฉากสวยงาม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา