ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำไร่อ้อย, การเลี้ยงโคนม

โดย : นายนรินทร์ กล้าหาญ วันที่ : 2017-03-13-09:30:55

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 88 หมู่ที่17 ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา

          นรินทร์ฟาร์ม ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ ๘๘ หมู่ที่ ๑๗ บ้านซับแห้ง ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี มีคุณนรินทร์  กล้าหาญ หรือพี่ครึ้ม เป็นเจ้าของ ที่นี่เป็นฟาร์มเลี้ยงโคนมต้นแบบที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของอำเภอวังม่วง ด้วยบนเส้นทางแห่งความสำเร็จในวันนี้เกิดขึ้นด้วยความทุ่มเท และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          จุดเริ่มต้นของชายผู้นี้ในอาชีพการเลี้ยงโคนม เกิดขึ้นเมื่อได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม แม้จะไม่ได้เรียนมาทางด้านการเกษตรโดยตรง แต่ด้วยอาศัยใจรัก และความมุมานะ เรียนรู้เทคนิคการบริหารจัดการฟาร์ม โดยอาศัยทั้งการสอบถามจากผู้เรียน และการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตนเองจากในฟาร์ม จึงทำให้การเลี้ยงโคนมสามารถเดินหน้าไปได้อย่างน่าพอใจ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

          “การศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม เป็นสิ่งที่สำคัญที่ผมเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา แม้การเลี้ยงทุกวันนี้ผมยังต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถดูแลฟาร์ม แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ในเบื้องต้น แต่ถ้าอะไรที่หนักหนาเกินความสามารถจึงจะแจ้งให้สัตวแพทย์เข้ามาช่วยดูช่วยแก้ไข” พี่ครึ้มกล่าว

          “การเลี้ยงโคนมให้อยู่รอดเวลานี้ ต้องอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า เลี้ยงแบบฉลาด เลี้ยงเป็นเลี้ยงรอด งั้นไม่เหลือ ไม่ว่าเรื่องอาหาร หรือเรื่องของการจัดการดูแลในฟาร์ม ที่เกษตรกรเจ้าของฟาร์มควรเป็นผู้ลงมือทำเอง ทำด้วยใจ อย่าไปพึ่งลูกน้อง ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เห็นผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ลงทุนเลี้ยง แต่เน้นการใช้คนงานมาทำแทน เรียกว่าเอาแบบอลังการ มีลูกน้องแบ่งเป็นแผนก ๆ ปรากฏว่าเจ๊ง เพราะคนอื่นจะมาดูแลเอาใจใส่มากเหมือนเจ้าของเองไม่มี ฟาร์มของผมมีผมกับภรรยาเป็นแรงงานหลัก ช่วยกันทำ ช่วยกันดูแล และเราสองคนจะคุยกับโคนมที่เลี้ยง เพราะทุกตัวมีชื่อเรียกหมด” ในส่วนของด้านอาหารสำหรับโคนมนั้นถือว่าเป็นต้นทุนหลักอันหนึ่ง พี่ครึ้มบอกว่า “ถ้าไปเน้นการใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปจากบริษัท รับรองว่าอยู่ไม่ได้ จะเอาสบายเพราะง่าย แต่จะลำบากในเรื่องต้นทุนที่สูงมาก ดังนั้น ต้องรู้จักหาสูตรที่นำมาใช้แล้วเหมาะสมกับฟาร์มของเรา อย่างผมจะเส้นการผสมอาหารใช้เอง”

          “การเลี้ยงโคนมของผมนั้น ต้องผ่านการแก้ไขปัญหามาโดยตลอด อย่างอาหารที่ใช้เลี้ยง ด้วยผมมีพื้นที่ทำฟาร์มน้อย ทำให้ไม่สามารถปลูกหญ้าเองได้มาก และฟางอัดก้อนที่นำมาใช้จะซื้อเฉพาะฟางที่มาจากการทำนาปีเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องมีปรับแก้ไขด้วยการใช้อาหารข้นเป็นหลักแทน เพื่อให้โคนมอ้วน มีผลผลิตที่คุ้มค่า”

          พี่ครึ้มบอกว่า ในส่วนของอาหารข้นที่ใช้เป็นหลักของฟาร์มนั้น จะเน้นการใช้อาหารผสม ที่มีการคิดค้นสูตรขึ้นมาให้เหมาะสม และสามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายในพื้นที่ ดังนั้น การพลิกแพลงแก้ไขปัญหา จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่พี่ครึ้มใช้มาโดยตลอด

          “ถ้าผมไปใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปมาเลี้ยง รับรองอยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนสูงมาก ส่วนอาหารข้นที่ผมใช้นั้น เป็นสูตรที่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพของเรา แต่มีคุณค่าสูง เพราะฟาร์มของเราเน้นการใช้อาหารข้นเป็นหลัก นอกจากนี้ จะมีการเสริมเรื่องของวิตามินและแร่ธาตุผงเพิ่ม โดยนำมาใส่ในรางอาหารให้โคกิน ผมมองว่าการปล่อยให้แม่โคเลือกกินเองตามความต้องการ จะดีกว่าการใช้วิธีการฉีดให้แม่โค เพราะบางตัวนั้นไม่ได้ต้องการวิตามิน แร่ธาตุหรือยาบำรุงมาก หรือบางครั้งไม่ต้องการเลย ซึ่งการฉีดให้เท่ากับสูญเสียมาก แต่แบบนี้ด้วยสัญชาตญาณของโคจะบอกเองว่าต้องการมากหรือน้อย ถ้าต้องการมาก แม่โคก็จะกินมากเอง สิ่งนี้ผมได้มาจากการศึกษาวิถีชีวิตของแม่โคแต่ละตัวว่าเป็นอย่างไร หากใส่ใจสังเกตโคในฟาร์มเสมอจะรู้เลยว่าแม่โคแต่ละตัวนั้นเป็นอย่างไร ต้องการมากหรือน้อย ถ้าที่ให้แบบปกติไม่พอ ผมจะใช้วิธีการฉีดเสริมให้ด้วย เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของตัวแม่โคสูงสุด

          สำหรับในส่วนของฟางอัดก้อน พี่ครึ้มได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ปีหนึ่งจะซื้อฟางอัดก้อนเข้ามาเก็บไว้เพื่อใช้ทั้งปีเพียงครั้งเดียว ปัจจุบันราคาอยู่ที่ ก้อนละ 21 บาท และสาเหตุที่เน้นเฉพาะฟางข้าวนาปี เพราะต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องสารเคมีที่ตกค้าง

          “ในช่วงการทำนาปรังของพื้นที่เขตนี้จะประสบปัญหาการระบาดของหอยเชอรี่เป็นอย่างมาก เกษตรกรส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาด้วยการฉีดพ่นสารเคมีฆ่าหอยเชอรี่ จึงทำให้เกิดการตกค้าง และหากนำมาเลี้ยงโคนมจะส่งผลให้เกิดอันตรายตามมาได้ จึงหลีกเลี่ยง”

          การพัฒนาสายพันธุ์ภายในฟาร์ม เป็นอีกหนึ่งจุดที่พี่ครึ้มได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะเลือกซื้อน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวแทนนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย

“ผมจะใช้วิธีการผสมเทียม โดยใช้น้ำเชื้อแช่แข็งของพันธุ์บราวสวิส พันธุ์เลือดเดน รวมพันธุ์โฮลสไตล์ฟรีเชี่ยนเข้ามาผสมกับแม่พันธุ์หลัก ซึ่งเป็นสายพันธุ์โฮลสไตล์ฟรีเชี่ยน ทั้งนี้ เพราะต้องการให้ได้ลูกโคที่มีประสิทธิภาพการให้น้ำนมสูง"

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา