ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ช่างไม้ ช่างปูน

โดย : นายอัศนัย ผาสุโอด วันที่ : 2017-03-13-09:31:32

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 8 หมู่5 ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันงานปูนมีความจำเป็นมากในการก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะบ้านเรือนที่จะสร้างใหม่ ส่วนใหญ่ การสร้างโดยใช้ปูนในการก่อสร้าง ทำให้ มีความสนใจในการเป็นช่างปูน และเป็นการหารายได้เสริมจากการทำอาชีพเกษตรกร

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์

1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานฉาบ

2. เกียงไม้ และเกรียงพลาสติก

3. ฟองน้ำ และแปรงสลัดน้ำ

4. อุปกรณ์ผสมปูน

5. ถังปูน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการฉาบปูน

1. รอผนังที่ก่อเซ็ทตัวอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน โดยระหว่าง 7 วันนั้นให้มีการรดน้ำบ่มผนังอย่างต่อเนื่องด้วย

2. เช็คสภาพผิวผนังว่าอิฐยึดเกาะกันดี ผนังไม่โอนเอนเคลื่อนไหวได้ หากผนังมีการโน้มเอียงหรือเว้ายุบ จนเกินกว่าที่ปูนฉาบจะปิดผิวและทำให้ได้ระดับเท่ากัน (เมื่อฉาบไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร) ให้สกัดส่วนเว้าแอ่นออก  เพื่อลดโอกาสหลุดล่อนจากการฉาบที่หนาเกินไป

3. จับเซี้ยมและจับปุ่ม เพื่อเป็นการฉาบให้ได้ระดับ และความหนาที่เหมาะสม โดยสามารถดูได้จากภาพประกอบ ซึ่งนิยมใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท มาผสมกับทรายให้มีส่วนของปูนเข้มขนกว่าการใช้งานทั่วไป เรียกว่า ปูนเค็ม นอกจากนี้ควรมีการ “สลัดดอก” หรือการสะบัดปูนลงบนผิวคานและเสาคอนกรีตเพื่อเพิ่มความขรุขระให้กับผิวก่อนฉาบด้วย

4. ติดลวดตะแกรง หรือกรงไก่ บริเวณมุมวงกบประตูและหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสแตกร้าวจากการยืดหดตัวของปูนซีเมนต์ รวมถึงรอยต่อของวัสดุต่างชนิด เช่น ระหว่างส่วนก่ออิฐกับเสาเอ็นและคานทับหลัง ระหว่างร่องการเดินท่อเดินสายไฟซึ่งปิดทับด้วยปูนแล้วกับส่วนก่ออิฐ

5. ก่อนการฉาบ 1 วัน ให้มีการรดน้ำในช่วงเย็น จากนั้นก่อนทำการฉาบในวันถัดไปให้รดน้ำผนังในช่วงเช้า ทิ้งให้หมาดก่อนทำการฉาบ ห้ามฉาบขณะที่ผนังยังเปียกน้ำ เพราะจะทำให้ปูนไม่ยึดเกาะกับ

6. การฉาบชั้นแรก สามารถเลือกใช้ปูนซีเมนต์ที่มีความหยาบกว่า ฉาบทั่วไป โดยควรฉาบไม่เกิน 1.5 เซนติเมตรเท่านั้น เพราะจะต้องมีการฉาบในชั้นถัดไปเพี่อให้ผิวได้ระดับและเรียบเนียน จากนั้นให้ใช้ไม้บรรทัดปาดปูนในการปรับผิวหน้าให้ได้ระดับ หมายระยะตามที่จับเซี้ยมและจับปุ่มไว้ โดยสามเหลี่ยมปาดปูนจะทำหน้าที่เฉือนเนื้อปูนที่ล้นเกินจากระดับที่จับปุ่มและเซี้ยมไว้ และสามารถเติมเนื้อปูนในส่วนที่ยังพร่องไปได้ หรือหากเป็นผนังก่ออิฐมวลเบาสามารถใช้ เสือ มอร์ตาร์ ฉาบอิฐมวลเบา ในการฉาบในชั้นนี้ เพื่อให้เนื้อปูนสามารถยึดเกาะกับอิฐมวลเบาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. การฉาบทับหน้า เป็นการขึ้นปูนเนื้อละเอียด อย่าง เสือ มอร์ตาร์ ฉาบละเอียด จากนั้นทำการตีน้ำลงฟอง เพื่อให้ผนังเรียบเนียน โดยใช้แปรงสลัดน้ำไปที่เนื้อปูนที่เริ่มแห้งหมาด ๆ ใช้เกรียงไม้ลูบไปมาให้ทั่วเพื่อเกลี่ยเม็ดทรายที่ผสมอยู่ให้เรียงตัวเรียบเนียนเสมอกัน จากนั้นใช้ฟองน้ำที่ชุบน้ำและบิดจนแห้ง ประกบบนเกียงไม้ลูบซ้ำอีกครั้งให้ทั่วผนัง ทั้งนี้ เมื่อรวมกับผิวชั้นก่อนหน้านี้ไม่ควรหนาเกินไปกว่า 2.5 เซนติเมตร

8. การบ่มผิว ควรมีการรดน้ำผนังอย่างต่อเนื่องไปอีกวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 7 วัน หากอากาศร้อน มีแดดจัด หรือลมพัดแรง จนทำให้ผนังเสียน้ำเร็วเกินไป ควรเพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และยืดระยะเวลาการลดออกไป อาจใช้การบังแดดลมด้วยการขึงผ้าใบช่วยในบริเวณที่สัมผัสกับอากาศที่รุนแรง

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา