ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนาปลอดสารพิษ

โดย : นายสุจิน ทองอร่าม วันที่ : 2017-03-13-09:35:38

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 53 หมู่1 ตำบลหนองควายโซ อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คุณลุงสุจิน ทองอร่าม เกษตรกร บ้านโพน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองควายโซ อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี  ยึดถือแนวทางการใช้สารเคมีเป็นหลักในการทำนา  คือการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว เมื่อประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคหรือแมลงศัตรูข้าวก็จะใช้สารเคมีในการป้องกัน กำจัด แต่เนื่องจากต้องฉีดยาเองบวกกับอายุที่มากขึ้น ทำให้เริ่มฉีดยาเคมีไม่ไหวแล้ว เลยคิดอยากจะเปลี่ยนแนวการทำนา หันมา ลด ละ เลี่ยง เลิก การใช้สารเคมี หันมาทำแบบปลอดสารพิษบ้าง ก็เลยลองหาข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่จะมาแนะนำวิธีการลดใช้สารเคมี พอดีมาเจอโฆษณาของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ก็เลยสนใจและได้โทรเข้ามาปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ แล้วเกิดความสนใจแนวทางการทำนาปลอดสารพิษของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ      เลยนำไปปรับใช้ในแปลงนาของตัวเอง

                คุณลุงสุจิน แจ้งกับทางชมรมว่าการทำนาเที่ยวนี้ต่างจากที่เคยทำโดยสิ้นเชิงเริ่มตั้งแต่ดินในนา  จะมีความนุ่มและร่วนซุยดี ต้นข้าวมีความแข็ง ใบแข็ง กอข้าวแข็ง ข้าวไม่ล้ม รากข้าวจะขาวและยาวกว่าเดิม แต่ที่น่าแปลกใจคือข้าวที่ทำ ต้นข้าวจะไม่สูง ต้นเตี้ยๆจนชาวบ้านใกล้เคียงแซวว่าข้าวต้นแบบนี้จะได้ข้าวหรอ แต่พอตอนเก็บเกี่ยวข้าวมา ได้ข้าวไร่ละ 80 ถัง ทำเอาชาวบ้านแถบนั้นที่เคยแซวไว้ตกใจกันเป็นแถว คุณลุงสุจิน เองก็ตกใจเหมือนกันไม่คิดว่ามันจะได้ขนาดนี้ แต่เรื่องที่คุณลุงสุจิน พอใจมากที่สุดก็คือเรื่องสุขภาพเพราะหันมาทำแบบปลอด สารพิษแล้วสุขภาพดีขึ้นไม่ต้องคอยเหม็นเวลาฉีดยาเหมือนแต่ก่อนแล้ว ตอนนี้สามารถใส่เสื้อกล้ามกางเกงขาสั้น ไม่ต้องปิดหน้าปิดตาเหมือนแต่ก่อนแล้ว ตอนนี้คุณลุงสจิน ได้เริ่มทำนารอบใหม่แล้วและยังคงทำตามแนวทางของชมรมเกษตรปลอดสารพิษเช่นเดิม ตามสโลแกนที่ว่า ทำนาปลอดสารพิษ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ชีวิตยืนยาว

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเลือกพื้นที่ปลูก
                  เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร

              2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
                พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก และให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว และมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ

       3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
                 เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีความงอกดี ผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศจากโรค แมลงและเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์อนุโลมให้นำมาแช่ในสารละลาย จุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก

              4. การเตรียมดิน
                        วัตถุประสงค์หลักของการเตรียมดินคือสร้างสภาพที่เหมาะสมต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติดิน สภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกและวิธีการปลูก โดยไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก

              5. วิธีปลูก
                การปลูกข้าวแบบปักดำจะเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การควบคุมระดับน้ำในนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะ ช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ  30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลายเนื่องจากในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิด โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับปลูกข้าวโดยทั่วไปเล็ก น้อยคือ ระยะระหว่างต้นและแถว ประมาณ 20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 3-5 ต้นต่อกอ และใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ในกรณีที่ต้องปลูกล่าหรือปลูกหลังจากช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละ พันธุ์ และมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน แนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่เหมาะสม เช่น หว่านข้าวแห้ง หรือหว่านน้ำตม

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา