ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เพาะชำพันธุ์ไผ่ (ไผ่ตงลืมแล้ง)

โดย : นายเอนก สิทธิ์น้อย วันที่ : 2017-03-13-09:38:11

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 19 หมู่ 4 ตำบล แสลงพัน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา

ไผ่ตงลืมแล้งหรือไผ่กิมซุง กำลังเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรในหลายพื้นที่ ด้วยคุณสมบัติในการให้หน่อดกมาก ให้หน่อตลอดปี หน่อมีรสชาติหวานพอควร ทั้งยังทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังและสภาพแห้งแล้งได้ดีอีกด้วย ลักษณะโดยทั่วไปของไผ่ตงลืมแล้งหรือไผ่กิมซุง มีต้นสูงได้กว่า ๒๐ เมตร ลำต้นตรง เป็นข้อหรือปล้อง ขนาดของลำต้นใหญ่ เนื้อไม้หนา ยอดอ่อน หรือหน่ออ่อนมีเปลือกหุ้มสีเขียว ไม่มีขน หน่อที่โผล่เหนือดินเรียกว่า หน่อไม้ไผ่ตง เนื้อในรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ขนาดของหน่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๕-๗ กิโลกรัมต่อหัว มีหน่ออ่อนตลอดทั้งปี ไผ่ตงลืมแล้งจะมีลักษณะเด่น คือ ทนแล้ง น้ำท่วมยังไงก็ไม่ตาย ไม่มีหนาม ไม่มีขน ออกหน่อตลอดทั้งปี กินน้ำน้อยมาก ที่สำคัญไผ่ตงลืมแล้งจะชอบอากาศร้อนชื้น จะเป็นไผ่ที่ไม่ผลัดใบ ใบไผ่จะเขียวตลอด และหน่อไม้หรือหน่ออ่อนของไผ่ตงลืมแล้งจะมีหน่อยาวใหญ่ มีสีทอง รสชาติดี กรอบ กินดิบได้ เนื้อแน่นละเอียด เวลานำไปแกงหรือต้มก็ไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง ลักษณะพิเศษของไผ่ตงลืมแล้งอีกอย่างหนึ่งคือ กอของไผ่ตงจะไม่ลอยเหมือนกับไผ่พันธุ์อื่น ๆ เวลาออกหน่อจะช้อนลงดินก่อนแล้วค่อยโผล่ขึ้นมา จะออกเป็นหน่อแผดหรือออกหน่อคู่ และถ้ามีน้ำช่วยหน่อย หน่อไม้ที่ออกมาจะไม่ติดขม

วัตถุประสงค์ ->

                 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กิ่งแขนงไผ่ที่เลือกนั้นให้สังเกตที่รากของกิ่ง ให้เลือกรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง

และมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว

                  

อุปกรณ์ ->

วัสดุ-อุปกรณ์

                   ๑. แกลบดำ

                   ๒. ถุงเพาะชำ ขนาด ๔x๖ จำนวนตามต้องการ

                    ๓. กะละมังใส่น้ำไว้แช่กิ่งแขนงไผ่

                   ๔. มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การขยายพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งด้วยวิธีการปักชำกิ่งแขนง กิ่งแขนงของไผ่ คือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้ชัด การใช้กิ่งแขนงขยายพันธุ์เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยม เพราะสะดวก ง่าย และโตเร็ว

          การคัดเลือกกิ่งแขนง มีวิธีการคัดเลือกดังนี้

                   ๑. ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร โดยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้วขึ้นไป

                   ๒. กิ่งแขนงไผ่ที่เลือกนั้นให้สังเกตที่รากของกิ่ง ให้เลือกรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง และมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว

                   ๓. ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ ๔-๖ เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี

          การปักชำ วัสดุ-อุปกรณ์

                   ๑. แกลบดำ

                   ๒. ถุงเพาะชำ ขนาด ๔x๖ จำนวนตามต้องการ

                    ๓. กะละมังใส่น้ำไว้แช่กิ่งแขนงไผ่

                   ๔. มีด

          วิธีการปักชำ

                   ๑. เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ จากนั้นตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว ๘๐-๑๐๐ เซนติเมตร

                   ๒. เตรียมถุงเพาะชำ โดยใส่แกลบดำให้เต็มถุงปักชำ นำมาเรียงเป็นแถวเพื่อให้สะดวกต่อการปัก

                   ๓. นำกิ่งแขนงที่ได้ตัดมานั้น ปักชำลงในถุงเพาะชำที่ได้เตรียมไว้ กดแกลบให้แน่นพอสมควร แล้วรดน้ำ จากนั้นนำไปวางไว้ใต้ร่มไม้หรือใต้ร่มไผ่ก็ได้ หมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน

                   ๔. หลังจากปักชำแล้วประมาณ ๒-๓ เดือน กิ่งแขนงที่ชำไว้จะแตกแขนงใบและราก ตั้งตัวได้ และมีความแข็งแรง พร้อมที่จะย้ายลงปลูกได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา