ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกอ่อย

โดย : นาย เนรมิตร์ เชียงศรี วันที่ : 2017-03-13-09:44:56

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 352 หมู่ที่ 7 ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา

          พื้นฐานของครอบครัวในอดีตประกอบอาชีพ ทำการเกษตรมาตั้งแต่รุ่นพ่อและสืบทอดมาถึงรุ่นลูกในและได้เห็นชีวิตของอาชีพเกษตรกรทำไร่มาโดยตลอดใน ปี พ.ศ. 2531 ได้มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง  จำนวน 25 ไร่ และได้เรียนรู้ว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ลำบากต้องอาศัยความอดทนเป็นอย่างมาก ในระหว่างที่ประกอบอาชีพนี้ ได้มองเห็นปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งทางด้าน ต้นทุนการผลิต การดูแลรักษา พันธุ์พืชที่ใช้ในการเพะปลูก โรคพืชโรคแมลง ที่สำคัญที่สุดสำหรับเกษตรกร คือ ปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตต่ำ ต้นทุนสูงทำให้มีกำลังน้อย

ระยะแรกของการประกอบอาชีพทางการเกษตรยังขาดประสบการณ์ ในการดูแลบริหารจัดการเป็นอย่างมากจึงได้ลองผิดลองถูกมาโดยตลอดในระหว่างที่ประกอบอาชีพ จึงได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาอาชีพตนเองมาตลอด จึงได้รู้ว่า สิ่งสำคัญที่สุดให้การทำการเกษตร ต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การเตรียมดินที่ดี คัดพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักดี พันธุ์ที่ทนแล้ง ทนโรคทนแมลง การดูแลกำจัดวัชพืช และการให้ปุ๋ย โดยที่กล่าวมานั้นต้องทำให้เหมาะสมถูกช่วงทุกเวลาจึงจะเห็นผลดีที่สุด ในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรเข้ามาเป็นเครื่องทุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ย การทำรุ่นพรวนดิน  การพ่นยา  แม้กระทั่งการใช้รถตัด สามารถลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ซึ่งปัจจุบันแรงงานค่อนข้างหายากมาก  ในปัจจุบันมีที่ทำกินปลูกอ้อยโรงงานจำนวน 500 ไร่ โดยมีการนำระบบน้ำหยดมาใช้ในการเพิ่มผลิตให้สูงขึ้นและช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาภัยธรรมชาติ และได้แนะนำเทคนิคประสบการณ์ผลสำเร็จนำมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรเกษตรที่สนใจมาติดต่อสอบถามอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวความคิดอยากอาชีพการเกษตรสืบทอดลูกหลานและเกษตรกรรุ่นใหม่ที่สนใจในอาชีพการทำเกษตร อยู่ได้อย่างยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้

 

 

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์

เครื่องมือในการเกษตร

เครื่องจักร์ ใหญ่

เครื่องจักร์กล

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

ความคิดริเริ่มและการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับพื้นที่

      การจัดการดัดแปลงการผลิตและการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่

                 นายเนรมิตร์  เชียงศรี  ประกอบอาชีพทำไร่อ้อยด้วยความขยัน เอาใจใส่ และศึกษาหาความรู้ ในการเพิ่มผลิต มีการวิเคราะห์ ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ที่จะทำให้การประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จ ไม่ว่าการใช้อ้อยพันธุ์ดี การประยุกต์พื้นที่ให้ความเหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีการปรับปรุงดิน เพิ่มคุณภาพโดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น การปลูกอ้อยร่องคู่  การระเบิดดินดาน  การปลูกระยะห่างของอ้อย การปลูกอ้อยระบบน้ำหยด และมีการดัดแปลงอุปกรณ์การเกษตรให้เหมาะสมกับการผลิต เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต มีประสิทธิภาพในการทำงาน พร้อมทั้งสะดวกในการใช้งาน ดังนี้

๑.    รถปลูกอ้อย เดิมเป็นแบบร่องเดี่ยว และได้มาดัดแปลงเป็นแบบร่องคู่เพื่อเพิ่มจำนวนต้นในการปลูก เพราะร่องเดี่ยวได้จำนวนต้นน้อย การแตกตาจะน้อยกว่าแบบปลูกร่องคู่ การเพิ่มจำนวนต้นมากขึ้นจะทำให้การแตกตามากขึ้น พร้อมทั้งดูแลรักษาอย่างดี จะทำให้ผลผลิตมากขึ้น

การปลูกอ้อยแบบร่องเดี่ยว จะได้ผลผลิตเฉลี่ย ๑๐ ตัน/ไร่     ใช้ต้นพันธุ์ไป ๑.๘ ตัน/ไร่  ๓,๙๖๐ บาท

การปลูกอ้อยแบบร่องคู่      จะได้ผลผลิตเฉลี่ย ๑๕ ตัน/ไร่    ใช้ต้นพันธุ์ไป ๒.๒ ตัน/ไร่  ๔,๘๔๐  บาท

*ค่าต้นพันธุ์ ตันละ ๒,๒๐๐ บาท*

๒.    เครื่องม้วนสายน้ำหยด เดิมการเก็บสายน้ำหยดจะใช้แรงงานคนในการเก็บ ซึ่งจะใช้เวลาในการเก็บนานและเหนื่อยต่อการเก็บ จึงได้คิดค้นเครื่องทุ่นแรงในการเก็บ คือ เครื่องม้วนสายน้ำหยด เพื่อประหยัดเวลาและแรงงานในการเก็บสายน้ำหยด

      1.2 การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผลิตพืชในด้านต่างๆ

                 ในการประกอบอาชีพทำไร่อ้อยได้ศึกษาหาความรู้ ในการเพิ่มผลิต มีการวิเคราะห์ ริเริ่มสิ่งใหม่ที่จะให้การประกอบอาชีพมีผลสำเร็จ ไม่ว่าการใช้อ้อยพันธุ์ดี การประยุกต์พื้นที่ให้ความเหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีการปรับปรุงดิน เพิ่มคุณภาพโดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น การปลูกอ้อยร่องคู่  การระเบิดดินดาน  การปลูกระยะห่างของอ้อย การปลูกอ้อยระบบน้ำหยด

      1.3 แนวคิดในการทำงาน

                 เริ่มจากพัฒนาตนเองให้อยากรู้ อยากลอง อยากศึกษา ค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวงเป็นแบบอย่างการมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพ มีเหตุมีผล มีหลักการ ความเป็นไปได้ ลดต้นทุน คุ้มค่า คุ้มเวลาและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความยั่งยืนในอาชีพ

ผลงานและความสำเร็จของผลงาน ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

      ผลงาน    

ความสำเร็จในการประกอบอาชีพการเกษตร เริ่มต้นจากจำนวนพื้นที่เพียง ๒๕ ไร่ เมื่อปี ๒๕๓๑ ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ของการทำไร่อ้อยและค่อยๆ พัฒนาแก้ไขปัญหาต่างๆจนประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน และได้เป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกรทั่วไป ซึ่งมีความรู้ความชำนาญในการปลูกอ้อยโรงงาน โดยอายุเฉลี่ยของอ้อยแต่ละแปลงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ ๕-๖ ปี หลังจากนั้นจะให้ผลผลิตน้อยลงไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ก็จะเริ่มขั้นตอนการเตรียมพื้นที่การปลูกใหม่ ในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ จะดำเนินการเตรียมดิน การเตรียมพันธุ์ การปลูกและการดูแลรักษา สำหรับการคัดเลือกพันธุ์อ้อยโรงงานที่ใช้ปลูก คัดเลือกจากการทดลองปลูกในแต่ละแปลงที่สภาพดินไม่เหมือนกัน จากประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติและเรียนรู้จึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่าแปลงไหนเหมาะสมกับอ้อยพันธุ์ไหน เพราะการคัดเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูกนั้นมีความสำคัญในการเพิ่มผลผลิต และพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ พันธุ์ K 11  และขอนแก่น ๓ ซึ่งจะให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ ๑๕ – ๒๐ ตันต่อไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานทั้งหมด ๕๐๐ ไร่

            ๑. การผลิตอ้อยที่ถูกหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)

                   การเตรียมดิน

                             - หว่านปุ๋ยคอก
                             - ไถกลบด้วยพาน ๔

                   การปลูก

                             - คัดเลือกท่อนพันธุ์

                             - ปลูกโดยใช้รถปลูก

                   การดูแลรักษา

                             - การใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช

           ๒. การบริหารจัดการการผลิตและการตลาดที่ดี

                   การบริหารจัดการการผลิต

มีการวางแผนในการปลูกอ้อยทั้งระบบ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เหมาะสมต่อการส่งโรงงานน้ำตาล โดยมีการจดบันทึกข้อมูลและมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการผลิต ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว

- การเตรียมพื้นที่ปลูก  จะไถดินทั้งหมด ๒ ครั้ง จะหว่านปุ๋ยขี้ไก่รองพื้น โดยใช้รถหว่านปุ๋ยแล้วไถครั้งที่ ๑ แล้วตากดินทิ้งไว้อย่างน้อย  ๓๐ วัน และไถครั้งที่ ๒ ด้วยพาน ๔

- การปลูก การปลูกนั้นจะใช้รถปลูกแทนแรงงานคน ซึ่งรถปลูกได้ดัดแปลงเป็นแบบร่องคู่ ระยะปลูก ที่ใช้ระหว่างแถว ๑.๔๐ ม. ระยะห่างระหว่างคู่แถวประมาณ ๔๐ ซม. ซึ่งสะดวกในการใช้รถไถพรวนดินกำจัดวัชพืช สามารถใช้รถไถพรวนเข้ากำจัดวัชพืชได้ถึงอายุ ๖ ปี เพราะอายุอ้อยมากขึ้นการแตกกอจะเพิ่มขึ้นด้วยถ้าใช้ระยะปลูกถี่เกินไปรถไถพรวนจะไม่สามารถเข้าไปในร่องอ้อยได้ และยังช่วยลดต้นทุนค่าแรงงาน ค่าสารเคมีกำจัดวัชพืช พันธุ์อ้อยที่ใช้ คือ K ๑๑ สำหรับดินเหนียว และ ขอนแก่น ๓ สำหรับดินดำร่วน สำหรับการเลือกพันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกนั้น เลือกจากประสบการณ์และการทดลองปลูกในแต่ละแปลงที่มีสภาพดินไม่เหมือนกันจึงทำให้เกิดการเรียนรู้ วิเคราะห์ว่าพันธุ์ไหนที่เหมาะสมกับดินในแต่ละพื้นที่ เพราะการเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูกนั้นก็มีความสำคัญในการเพิ่มผลผลิต

- การดูแลรักษา เมื่ออ้อยมีอายุ ๑ เดือน จะใช้รถทำรุ่นเพื่อป้องกันและกำจัดวัชพืช  ต่อจากนั้นอ้อยมีอายุ ๒ เดือน ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพฉีดพ่นอ้อยเพื่อให้ปุ๋ยทางใบ เดือนละ ๑ ครั้ง ซึ่งปุ๋ยน้ำชีวภาพที่นำมาฉีดพ่นนั้นได้ผลิตใช้เอง และหลังจากนั้นเมื่ออ้อยมีอายุ  ๒ - ๓  เดือน จะใส่ปุ๋ยเคมี โดยจะใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ ๒ สูตร คือ สูตร ๒๑ – ๔ – ๒๑ สูตรเร่งความหวาน และสูตร ๒๗ – ๑๒ – ๖ สูตรเร่งความเจริญเติบโตของต้น โดยการใส่ปุ๋ยแต่ละสูตรนั้นขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของอ้อยแต่ละแปลงถ้าแปลงไหนการเจริญเติบโตของต้นสมบูรณ์ดีจะใส่ปุ๋ยสูตร ๒๑ – ๔ – ๒๑ สูตรเร่งความหวาน ส่วนแปลงอ้อยที่การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ดี จะใส่ปุ๋ยสูตร ๒๗ – ๑๒ – ๖ สูตรเร่งความเจริญเติบโตของต้น แต่ละสูตรปุ๋ยเคมีนั้นจะใส่จำนวน  ๒๕ กก. ผสมกับ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จำนวน ๒๕ กก. ผสมแล้วจะได้ ๕๐ กก. และนำมาใส่ในอ้อยเพื่อให้ปุ๋ยทางดิน ๒๕ กก./ไร่ สำหรับการใส่ปุ๋ยนั้นจะใช้รถใส่ปุ๋ยแทนแรงงานคน เพื่อลดต้นทุนค่าแรงงาน ประหยัดเวลา และช่วยให้การใส่ปุ๋ยนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะได้ไถฝังกลบไปด้วย  ตลอดอายุจนถึงการเก็บเกี่ยวจะใส่ปุ๋ยเคมีเพียงครั้งเดียว

- การเก็บเกี่ยวนั้น จะเน้นเก็บเกี่ยวอ้อยสด และจะเก็บเกี่ยวเมื่ออ้อยได้อายุประมาณ ๑ ปี โดยใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ช่วยประหยัดแรงงานคน และรวดเร็วในการเก็บเกี่ยวทำให้อ้อยมีระยะเวลาการเจริญเติบโตมากขึ้น และยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมช่วยลดมลภาวะทางอากาศ ส่วนเศษใบอ้อยก็จะช่วยปกคลุมดินให้ดินมีความชุ่มชื้น เป็นปุ๋ยหมักได้ และยังทำให้วัชพืชขึ้นช้าด้วย ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยไร่ละ ๑๕ ตัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา