ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นางดวงรัตน์ ตลับเงิน วันที่ : 2017-03-21-13:29:17

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๓๗/๑ หมู่ที่ ๒ ตำบล หรเทพ อำเภอ บ้านหมอ จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๘๑๓๐

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

(๑) เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพตามโครงการอบรมสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน จึงจัดทำบันทึกความรู้สัมมาชีพชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจ

 (๒)  เพื่อเป็นบันทึกสานต่อภูมิปัญญาไปสู่รุ่นลูก/หลาน

วัตถุประสงค์ ->

(๑) เพื่อเป็นแนวทางในการแนะนำเกษตรกรให้หันมาใช้สารที่ผลิตจากธรรมชาติ

(๒) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืชและผัก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(๑) ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม เช่น ฟักทอง(เอาทั้งเมล็ด), กล้วยน้ำว้า, มะละกอ, สับปะรด(เอาทั้งเปลือก) ให้ทำการสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามภาพ

          (๒) น้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลโตนดที่ไม่ผ่านการฟอกสีหรือเจือปนด้วยน้ำยากันเสีย หรือใช้กากน้ำตาล จำนวน 4 กิโลกรัม

          (๓) น้ำสะอาด 40 ลิตร ควรเป็นน้ำฝน หากจำเป็นต้องใช้น้ำประปาก็ควรใส่ตุ่มตากแดดเพื่อไล่คลอรีนให้หมดก่อน

          (๔) ภาชนะหมัก ควรเป็นภาชนะชนิดทึบแสงและมีฝาปิดสนิท ก่อนใช้ควรล้างให้สะอาดและถ้าตากแดดก่อนใช้ก็ยิ่งดี ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเนื่องจากเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะถูกกัดจนทะลุได้

          (๕) ไม้พาย ควรเตรียมไว้ โดยล้างให้สะอาดพร้อมตากแดดก่อนใช้

         

 

อุปกรณ์ ->

(๑)  ถังหมัก

(๒)  ไม้พาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(๑) ใส่น้ำสะอาด 40 ลิตร ลงในถังหมักขนาด 60 ลิตร 

          (๒) ใส่กากน้ำตาล  จำนวน 4 กิโลกรัม ลงในถังหมัก แล้วใช้ไม้พายกวนให้เข้ากัน

          (๓) ใส่ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม ลงในถังหมัก กวนให้พอเข้ากัน (หลักการผสมคือ ผลไม้

               สุก 3 กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม : น้ำ 10ลิตร)

          (๔) หลังจากใส่ส่วนผสมทั้งหมดแล้วควรมีพื้นที่ว่างเพื่อให้มีอากาศอยู่ประมาณ หนึ่งในห้า

               ของภาชนะ ทำการปิดฝาให้สนิท เขียนป้ายบอกวันที่ผลิต และถังหมักควรอยู่ในที่ร่ม

          (๖) เมื่อครบ 7 วันให้เปิดฝาถังหมักดู ถ้ามีราขาวเกิดขึ้น พร้อม ๆ กับมีกลิ่นส้มฉุน แสดงว่าการ

              หมักของเราได้ผลดี  แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นบูด และน้ำเป็นสีดำ ให้ทำการเพิ่มน้ำตาลหรือ

               กากน้ำตาลลงไปอีก แล้วปิดฝา (ถ้ามีหนอนเกิดขึ้น ก็ไม่เป็นไร เพราะอาจจะเกิดจากการปิด

               ฝาไม่สนิท ต่อมาหนอนจะตายกลายเป็นอาหารพืชไปเอง)

          (๗) เมื่อครบกำหนด 3 เดือน ก็เป็นอันเสร็จ ให้กรองเอาเฉพาะน้ำใส ๆ ด้านบนหรือน้ำหมัก

              จุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งาน โดยต้องผสมน้ำก่อน ตามอัตราส่วน ดังนี้

                น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
                น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ฉีดพ่นหน้ากรีดหรือหน้ายางเพื่อเพิ่มน้ำยาง(1-2 สัปดาห์

                ต่อครั้ง)
                น้ำหมัก : น้ำ 1: 500 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกไม้ยืนต้น
                น้ำหมัก : น้ำ 1:1000 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกพืชผัก
                น้ำหมัก : น้ำ 1:1 หรือใช้น้ำหมักอย่างเดียว(ให้ทดลองว่าแบบใดได้ผลดีกว่า) เพื่อฉีดพ่นกำจัด           วัชพืช
                   นอกจากนี้ เมื่อหมักครบ 3 เดือนแล้ว ก็สามารถนำไปขยายหัวเชื้อต่อ ได้อีก

          (๘) นำกากที่เหลือไปทำปุ๋ย โดยเทรอบ ๆ โคนต้นในรัศมีพุ่มใบต้นไม้ หรือปล่อยกากที่เหลือไว้ก้น ถังหมักเพื่อขยายหัวเชื้อต่อ

 

ข้อพึงระวัง ->

ระหว่างการหมัก หรือก่อนครบ 3 เดือน ถ้าสังเกตุเห็นว่าถังบวม ให้รีบเปิดฝาเพื่อระบายอากาศออก แล้วรีบปิดฝาให้สนิททันทีเพื่อป้องกันเชื้ออื่นแทรกลงไป

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา