ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นางสาวปราณี เขียวมณีย์ วันที่ : 2017-03-21-10:52:50

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑ ตำบล ไผ่ขวาง อำเภอ บ้านหมอ จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๘๑๓๐

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

(๑)   การเพาะเห็ดฟางเป็นอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง                       

(๒)   คนในชุมชนต้องการมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

วัตถุประสงค์ ->

(๑)  เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน                                             

(๒)  เพื่อส่งเสริมการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(๑)   มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก                                                                                   

(๒)   รำละเอียด                                                                                              

(๓)   อาหารหมักสำหรับเห็ดถุงสีแดง                                                                     

(๔)   ยิปซั่ม                                                                                                   

(๕)   ถุงเงิน       

                

(๖)   ขี้กุ้ง                                                                                                      

(๗)   ปูนหอยสำหรับเห็ด                                                                                    

(๘)   บีไลต์                                                                                                    

(๘)   ปูนขาว             

อุปกรณ์ ->

(1) พัดลมดูดเป่า และ ระบายอากาศ เป็นพัดลมทรงกระบอกธรรมดา ขนาดใบพัด 16-20เซ็นติเมตร แต่ดัดแปลงทำกล่องสังกะสีสวมปากทางลมออก โดยให้มีลมออกได้ 2 ทาง ทางหนึ่งต่อเข้าภายในโรงเรือน อีกทางหนึ่งออกภายนอก ทั้งสองจะมีลิ้นเปิดปิด ส่วนทางออกลมก็เช่นเดียวกัน คือ ทำทางดูด 2 ทาง ต่อเข้าภายในด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอยู่ข้างนอก และมีลิ้นปิดเปิดเช่นกัน สำหรับทางออกลมก็ต่อเข้าภายในโรงเรือนโดยต่อขึ้นไปข้างบนขนานกับสันจั่ว อาจทำด้วยท่อเอสล่อนหรือใช้ผ้าพลาสติกเย็บให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางพอสวมปากท่อได้ ตรงท่อที่ขนานจั่วนั้นต้องทำการเจาะรูเท่าม้วนบุหรี่เพื่อให้อากาศออก                                                                                                      
     (2) เทอร์โมมิเตอร์ คือ เครื่องมือสำหรับวัดอุณภูมิภายในห้อง ควรใช้ขนาดที่สามารถวัดได้ตั้งแต่     0-100 องศาเซลเซียส อยู่ติดผนังสูงจากพื้นประมาณ 1.50 เมตร อยู่ด้านในของโรงเรือนก็ได้ ช่องที่เจาะใส่เทอร์โมมิเตอร์นั้นจะต้องกลวง เพื่อให้เทอร์โมมิเตอร์สัมผัสกับอากาศภายในส่วนด้านนอกของโรงเรือนปิดด้วยกระจกใสเพื่อง่ายต่อการอ่านค่า                                                                    
     (3) กระบะไม้หรือแบบพิมพ์ไม้สำหรับหมักวัสดุ จะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ได้ขนาดความกว้างและความยาวเท่ากันประมาณ 1-15 เมตร สูง 50 เซนติเมตร                                                     
     (4) เครื่องตีปุ๋ยหมัก ใช้ตีปุ๋ย หลังจากหมักได้ที่แล้ว เครื่องตีปุ๋ยหมักควรเป็นเครื่องที่กำลังแรงสูง อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 5 แรงม้า อาจดัดแปลงจากเครื่องตีน้ำแข็ง หรือเครื่องตีหินก็ได้ ตีปุ๋ยหมักให้ละเอียดและฟู                                                                                                                            
     (5) อุปกรณ์อื่นๆ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ เครื่องพ่นฝอย เครื่องวัดความชื้น ตะกร้าเก็บเห็ด        

    

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(1)   โรยปูนขาวให้ทั่วคอกหมักประมาณ 3 กำมือ เพื่อป้องกันเชื้อรา                              

(2)   โรยฟางสับ ทับปูนขาวให้ทั่วคอกหมัก ประมาณ 1 กระสอบ                                  

(3)   ตักขี้มันสำปะหลังใส่ตาม ประมาณ 1 ตัน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของคอกหมัก เกลี่ยให้เรียบสม่ำเสมอกันทั้งคอกหมัก                                                                                             

(4)   ตามด้วยวัสดุเพาะเห็ดที่ผสมเตรียมไว้แล้ว 1 ส่วน เลี่ยให้ทั่วทับบนขี้มันสำปะหลัง        

(5)   ตักน้ำที่ผสม น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ดดยใส่ทั้งหมด 100 ลิตร ถือว่าเสร็จ 1 ชั้น       

(6)   ทำต่ออีก 1 ชั้น โดยทำเหมือนเดิม                                                                 

(7)   เมื่อเสร็จชั้นที่ 2 ให้โรยฟางปิดให้ทั่วบาง ๆ แล้วฉีดน้ำหรือราดน้ำสะอาดซ้ำอีกครั้งให้ฟางยุบพอประมาณ                                                                                                                  

(8)   หาพลาสติก ปิดทับให้มิด หมักทิ้งไว้ 5 คืน ขึ้นไป แล้วมาทำการเตรียมโรงเรือนต่อไป    

(9)   เตรียมโรงเรือน                                                                                        

(10) อบฆ่าเชื้อโรงเรือน                                                                                    

(11) การเตรียมหัวเชื้อเห็ดฟางและการดูแลรักษา                                           

ข้อพึงระวัง ->

(๑)  ในฤดูแล้งจะต้องรดน้ำทุกวัน                                                                         

(๒)  ควรเปิดช่องระบายอากาศที่ส่วนหัวและท้ายร่อง ให้มีขนาดพอประมาณ                    

(๓)  ในช่วงที่เห็ดฟางติดดอกใหม่ๆ ห้ามรดน้ำ เพราะจะทำให้ดอกเห็ดเกิดการยุบตัว

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา