ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำสวนยาง

โดย : นายพรชัย ติ่งสาระ วันที่ : 2017-08-10-14:02:11

ที่อยู่ : 170 ม.2 ต.เสี้ยว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้ทำการเรียนรู้ด้านการเกษตรอย่างจริงจัง สมัครตนเป็นประมงอาสา อบรมการทำบัญชี และเป็นอาสาสมัครด้านบัญชี สมัครเป็นครูยางของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ทำให้ได้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในด้านการทำสวนยางแบบสมัยใหม่ ซึ่งนำมาปรับใช้ควบคู่ตามแบบที่บรรพบุรุษทำสืบต่อกันมา ได้หัดกรีดยางตามหลักวิชาการและได้นำความรู้มาขยายสู่ชุมชน เป็นบุคคลที่มีจิตอาสา ชอบช่วยเหลือสังคมและเกษตรกรทั่วไป

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การทำปุ๋ยหมัก

มูลแพะ                      200           กิโลกรัม

เศษใบไม้, หญ้า           1,000           กิโลกรัม

ปุ๋ยสูตร 21 – 0 – 0           2          กิโลกรัม

พด.1                            1          ซอง

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 การดูแลต้นยางหลังจากเปิดกรีด ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 20 – 8 – 20 ในอัตราต้นละ 1 กระป๋องนม ใส่รอบต้นในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม (ก่อนแล้ง) และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผสมปุ๋ยเคมี ในอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม ในช่วงหมดฝน

    การแก้ไขโรคใบร่วงของยางพารา จะแก้ไขโดยตัดแต่งหญ้าในสวนให้โล่งเตียน แล้วใช้ล้อยางรถยนต์เผาไฟให้ควันไฟกระจายไปทั่วในสวน จะทำให้โรคใบร่วงดีขึ้น

ในภาวะที่ราคายางตกต่ำ การใช้ปุ๋ยเคมี จะทำให้เกิดการผลิตที่มีต้นทุนสูง จึงหันมาตัดแต่งหญ้า กิ่งไม้
มากองทับในระหว่างแปลงยาง ทำให้เกิดการเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยในดินในแปลงยาง เป็นการบำรุงดินทำให้เกิดไส้เดือนดินจะดีขึ้น โดยไม่ใช้สารเคมีเพื่อทำลายวัชพืชในสวน และหันมาทำปุ๋ยหมักใช้เอง โดยใช้สูตรดังนี้

การทำปุ๋ยหมัก

มูลแพะ                      200           กิโลกรัม

เศษใบไม้, หญ้า           1,000           กิโลกรัม

ปุ๋ยสูตร 21 – 0 – 0           2          กิโลกรัม

พด.1                            1          ซอง

วิธีทำ

นำปุ๋ยสูตร 21 - 0 – 0 ละลายน้ำ คลุกเคล้ากับส่วนผสมต่างๆ หมักไว้ 2 สัปดาห์ นำไปใช้ได้

วิธีการใช้

อัตราส่วน 1 – 2 กิโลกรัม/ต้น ใช้ในช่วงหน้าฝน

ข้อสังเกต การใช้มูลแพะจะทำให้ยางเปลือกนิ่มและผลิตน้ำยางได้ดี น้ำยางออกมาก

การทำปุ๋ยหมักน้ำ

เศษปลา Em กากน้ำตาล พด.2  นำส่วนผสมทั้งหมดหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำไปผสมน้ำในอัตรา 1:100 ฉีดพ่นหน้ายาง ถ้ามีอาการหน้ายางแห้ง หรือมีขีดดำ ให้ฉีดในช่วงปิดกรีดยางหน้าแล้ง 

 

 

 

 

 

 

4. การแปรรูป/การเพิ่มมูลค่า

    การเพิ่มมูลค่าของยางพารา เกษตรกรจะไม่สามารถกำหนดราคาของยางพาราได้เอง ขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของภาวะตลาดโลก สิ่งที่เกษตรกรทำได้ คือ การลดต้นทุนในการผลิต หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเอง อนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะดิน พยายามดูแลปรับปรุงดินให้ดี ให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เกิดไส้เดือนดิน
ให้มากๆ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ให้ใช้ในช่วงที่เหมาะสม จะทำให้ต้นยางได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ผลิตน้ำยางได้มาก และในช่วงแล้งให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 20 – 8 – 20 ละลายน้ำในอัตรา น้ำ 20 ลิตร : ปุ๋ย 5 กิโลกรัม ฉีดรอบๆ ต้นยาง ส่วนผสมนี้จะใช้รดต้นยางได้ 10 ต้น และฉีดพ่นหน้ายางด้วยปุ๋ยหมักน้ำในช่วงปิดกรีด เมื่อถึงฤดูกาลเปิดกรีดใหม่จะทำให้หน้ายางนิ่มและให้ผลผลิตที่สูง

 

5. การตลาด

    ในสวนยางพาราที่มีพื้นที่ความลาดชันสูง ไม่สะดวกที่จะเก็บน้ำยางและขายเป็นน้ำยางสดจำหน่ายได้ทุกวัน และเก็บผลผลิตเป็นยางก้อน 1 สัปดาห์ จะขาย 1 ครั้ง โดยรวบรวมกับสมาชิกที่มีสวนยางพื้นที่ติดต่อกัน 4 – 5 ราย ในสวนของตนเอง 1 สัปดาห์ เก็บผลผลิตยางก้อนได้ประมาณ 300 กิโลกรัม บรรจุกระสอบประมาณกระสอบละ 45 กิโลกรัม รวบรวมผลผลิตกับสมาชิกคนอื่นๆ ประมาณ 1 ตัน บรรทุกรถไปจำหน่ายยังจุดรับซื้อยางก้อน ในอำเภอท่าแพ (บ้านควนเก) และในเขตอำเภอควนกาหลง (ผังปาล์ม 4, ผังปาล์ม 1, ผังปาล์ม 7) โดยเช็คราคาในวันที่จะไปจำหน่ายว่า ลานรับซื้อไหนให้ราคาสูงสุดก็จะนำไปยังลานรับซื้อนั้น โดยจ้างเหมารถบรรทุกในอัตราราคา 2.50 บาท/กิโลกรัม สมาชิกจะเฉลี่ยกันจ่ายค่าบรรทุก โดยในปี 2555 ราคายางก้อนสูงมาก ได้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85 บาท และราคายางก้อนลดลงมาเรื่อยๆ ในปี 2557 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท เท่านั้น

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเลย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา