ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การกรีดยาง

โดย : นายสมโยง แสนโสภา วันที่ : 2017-08-10-11:08:08

ที่อยู่ : 194 บ้านวังยาว หมู่ที่ ๒ ตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้อมูลพื้นฐานยางพารา

 

ยางพารา ลักษณะทั่วไป
                 ยางพารา เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ นำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดตรัง ในปี พ.ศ. 2442-2444 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ อายุยาวนับร้อยปี เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ รากเป็นระบบรากแก้ว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน สีขาวปนเหลือง ใบเป็นใบประกอบ 1 ก้าน มีใบย่อย 3 ใบแตกออกมาเป็นชั้นๆ เรียกว่า ฉัตร ดอกยางมีลักษณะเป็นช่อ โดยมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ผสมพันธุ์แบบเปิดผลยางมีลักษณะเป็นพูแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีสีน้ำตาลลายขาวคล้ายเมล็ดละหุ่ง ยางพารามีส่วนสำคัญที่มนุษย์นำไปใช้ประโยชน์ คือ น้ำยาง ซึ่งเป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลือง ขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำยาง ซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในส่วนที่เป็นเปลือกของต้นยาง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 10 องศาเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีพื้นที่เป็นที่ราบถึงลาดเอียงเล็กน้อย อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 200 เมตร ลักษณะดินควรเป็นดินร่วน ระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขังมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5 และไม่เป็นดินเค็ม ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,350 มิลลิเมตร/ปี และมีวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วัน/ปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 24-27 องศาเซลเซียส

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ในการเปิดกรีดยาง
1. ไม้เปิดกรีด
2. มีดกรีดยาง
3. ถ้วยรองน้้ายาง รางและลวดพยุงถ้วย
 

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการเปิดกรีดยาง
1. ไม้เปิดกรีด
2. มีดกรีดยาง
3. ถ้วยรองน้้ายาง รางและลวดพยุงถ้วย
 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการกรีดยาง
ต้นยางทุกต้นมีท่อน้้ายางอยู่ที่เปลือก วนเวียนรอบ ๆ ต้นจากบนขวามาล่างซ้าย การกรีดยางจากขวามาซ้าย ซึ่งกรีดกัน
มาแต่ ก่อนนั้นท่อน้้ายางถูกตัดขาดน้อยกว่าการกรีดจากซ้ายมาขวา ฉะนั้นจึงควรกรีดจากซ้ายมาขวา เพื่อให้ท่อน้้ายางถูกตัดขาด
มาก จะท้าให้ได้น้้ายางมากขึ้น
ทางเดินของท่อน้้ายางและทิศทางที่ควรกรีด
การเปิดกรีดครั้งแรก ต้นติดตา
1. ต้นยางจะเปิดกรีดได้เมื่อวันรอบต้นตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 150 ซม. ได้ 50 ซม. ขึ้นไป โดยไม่ค้านึงถึงอายุของ
ต้นยาง และเปิดกรีด ณ จุดที่สูงจากพื้นดิน 150 ซม.
2. ในระยะ 3 ปีแรก กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน โดยไม่มีการกรีดชดเชย และควรหยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบ
3. กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน ตลอดไป หลังจากกรีดไปแล้ว 3 ปี และมีการกรีดชดเชย ถ้าวันกรีดน้อยกว่า 200 วันต่อปี
4. กรีดจากซ้ายมาขวา โดยท้ามุมให้เอียง 30-35 องศา กับแนวระดับ
ต้นกล้า
1. ต้นยางจะเปิดกรีดได้เมื่อวัดรอบต้นตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 75 ซม.ได้ 50 ซม. ขึ้นไป โดยไม่ค้านึงถึงอายุของต้นยาง
และเปิดกรีดที่จุดสูงจากพื้นดิน 75 ซม.
2. กรีดครึ่งต้น กรีดวันเว้น 2 วัน ส้าหรับหน้าแรก
3. กรีดครึ่งต้นวันเว้นวันส้าหรับหน้าต่อไป โดยไม่ต้องกรีดชดเชยแต่ควรหยุดกรีด เมื่อต้นยางผลัดใบ
4. กรีดจากซ้ายมาขวา โดยท้ามุมให้เอียง 30-35 องศา กับแนวระดับ

ข้อพึงระวัง ->

การสิ้นเปลืองเปลือก
ทุกครั้งที่กรีดยาง เปลือกยางจะถูกตัดออกไป ฉะนั้นเดือนหนึ่ง ๆ ควรกรีดเปลือกยางหมดประมาณ 1 นิ้ว หรือขนาดความกว้าง
ของเหรียญบาท
และควรท้าเครื่องหมายไว้เพื่อตรวจสอบความสิ้นเปลืองของเปลือกยาง เมื่อกรีดมาถึงโคนหรือใกล้พื้นดิน ค่อย ๆ เลื่อนถ้วยรับ
น้้ายางจากขวาไปซ้ายตามความหดสั้นลงของรอยกรีด เพื่อใช้เปลือกบริเวณโคนให้หมด โดยไม่ต้องขุดหลุมฝังถ้วยแต่อย่างใด
 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเลย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา