ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดฮังการี

โดย : นางหอม วิระปัต วันที่ : 2018-03-30-09:18:26

ที่อยู่ : 65 บ้านดงน้อย ตำบลศรีสงคราม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีอาหารที่ปลอดภัยรับประทาน ลดรายจ่านในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

เป็นอาชีพเสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุ/อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ (ตัวอย่างสูตรตามฟาร์มเห็ด)
1. ขี้เลี่อยหรือฟางข้าวหรือชานอ้อยบด หากเป็นไม้ควรเป็นไม้เนื้ออ่อน 100 กก.
2. รำข้าว 2 กก.
3. ปูนขาวหรือยิปซั่ม 1 กก.
4. เชื้อ EMหรือน้ำหมักชีวภาพ 2 ลิตร
5. มันแห้งบดหรือแป้งข้าว 1 กก.
6. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7×11 หรือ 12หรือ13 นิ้ว
7. ปอกรัดคอถุง
8. ยางรัดคอถุง
9. หม้อนึ่ง

อุปกรณ์ ->

1. ขี้เลี่อยหรือฟางข้าวหรือชานอ้อยบด หากเป็นไม้ควรเป็นไม้เนื้ออ่อน 100 กก.
2. รำข้าว 2 กก.
3. ปูนขาวหรือยิปซั่ม 1 กก.
4. เชื้อ EMหรือน้ำหมักชีวภาพ 2 ลิตร
5. มันแห้งบดหรือแป้งข้าว 1 กก.
6. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7×11 หรือ 12หรือ13 นิ้ว
7. ปอกรัดคอถุง
8. ยางรัดคอถุง
9. หม้อนึ่ง ถุงพลาสติ

พลั่ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการเตรียมก้อนเชื้อ

1. นำส่วนผสมต่างๆมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

2. เติมน้ำลงไปผสม ควรผสมให้ความชื้นกระจายให้ทั่วสม่ำเสมอ
ทดสอบให้ได้ความชื้นประมาณ 65-75 % โดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดู
ถ้ามีน้ำซึมออกมาแสดงว่าชื้นเกินไปให้เติมขี้เลื่อยลงไป
ถ้าไม่มีน้ำซึมออกมาให้แบมือออก ส่วนผสมจะจับกันเป็นก้อนและแตกออก 2-3
ส่วนแสดงว่าใช้ได้

3. บรรจุใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่ใช้เพาะเห็ด ถุงละประมาณ 8-10 ขีด
อัดให้แน่นพอประมาณใส่คอขวดพลาสติก หุ้มด้วยสำลีและกระดาษ

4. นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (น้ำเดือด)นาน 3-4 ชั่วโมง

5. หลังจากนึ่งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่เชื้อลงไป นำก้อนเชื้อไปบ่มในที่มืดและอุณหภูมิสูงประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส
เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใย เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มถุงประมาณ 3-4 สัปดาห์

6. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง เพื่อให้เส้นใยสะสมอาหารและพร้อมจะ
เจริญเป็นดอกเห็ดแล้วนำไปเปิดดอกในโรงเรือนต่อไป ดูรายละเอียด การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ดนางรม
ทำได้ 4 วิธี คือ

1. การเปิดปากถุงโดยการม้วนปากถุงลง โดยการดึงคอขวดออก
พร้อมกับม้วนปากถุงลงไปจนถึงก้อนเชื้อ แล้วนำไปวางบนชั้นภายในโรงเรือน
ข้อเสียของการเปิดถุงโดยวิธีนี้คือ โอกาสที่น้ำจะขังในถุงและทำให้ก้อนเชื้อเสียมีมาก

2. การเปิดปากถุงโดยใช้มีดปาดปากถุงบริเวณคอขวดออก แล้วนำไปวางบนชั้นเพาะเห็ด วิธีนี้มีข้อเสียคล้ายกับวิธีแรก


3. การกรีดปากถุงโดยใช้มีดคมๆ กรีดข้างถุงเป็น 4 แนว แล้วนำไปวางตั้งหรือแขวนในแนวตั้ง ข้อเสีย คือ
เปลืองเนื้อที่ในการวางก้อนเชื้อ

4. ดึงจุกสำลีออกแล้วนำก้อนเชื้อมาวางเรียงซ้อนกันภายในโรงเรือน ให้เห็ดเจริญออกมาทางปากถุงทางเดียว
เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะประหยัดเนื้อที่ภายในโรงเรือนและน้ำไม่ขังในก้อนเชื้อ
ดูรายละเอียด การเปิดดอกเห็ดนางรม-ฮังการี

ขั้นตอนการเตรียมก้อนเชื้อ
1. นำขี้เลื่อยใส่ในถังหรือกะละมังหรือภาชนะผสมตามขนาดที่พอเหมาะกับปริมาณที่ต้องการเพาะ
2. ใส่รำข้าว ปูนขาว มันบด สำหรับรำข้าว มันบดหรือแป้งมันหากไม่มีไม่เป็นไร เพราะถือว่ามีรำข้าวแล้ว หรือ อาจใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างรำข้าวกับแป้งมันหรือมันบด
3. เติมน้ำเชื้อ EM หรือน้ำหมักชีวภาพ พร้อมคลุกผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งข้อควรระวังในการใช้น้ำผสม ไม่ควรให้น้ำมากจนเนื้อก้อนเชื้อเปียกชุ่มมากเกินไป การสังเกตให้ใช้วิธีการกำด้วยมือให้แน่น แล้วคลายออก หากเป็นก้อนติดกันไม่แตกออกถือเป็นใช้ได้
4. ใช้ฝาปิดหรือใช้ผ้าคลุมปิดให้มิดชิดเพื่อหมักวัสดุเพาะเห็ดประมาณ 3 วัน แต่ควรให้สามารถมีช่องว่างเพื่อการระบายอากาศด้วย
5. เมื่อครบกำหนดให้ทำการคลุกกลับวัสดุเพาะเห็ด แล้วทำการบรรจุใส่ถุง
6. นำก้อนเชื้อที่บรรจุแล้วใส่หม้อนึ่ง นึ่งด้วยอุณหภูมิน้ำเดือดนานอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด พร้อมนำออก และพักให้เย็นตัว โดยควรเก็บพักบริเวณโรงเพาะที่สะอาด

การเพาะเห็ด
1. นำเมล็ดข้าวฟ่างที่เขี่ยเชื้อเห็ดนางรมแล้วใส่ในถุงเพาะเห็ด 10-20 เม็ด พร้อมเขย่าให้เมล็ดกระจายตัว
2. นำถุงเพาะเห็ดมาตั้งเรียงตามแนวนอนในโรงเรือน ประมาณ 15-30 วัน เชื้อเห็ดจะเจริญเติบโต และแพร่กระจายทั่วก้อนเชื้อเห็ด
3. ในช่วงขั้นตอนนี้ ให้ทำการรดน้ำโรงเรือนเป็นประจำเพื่อรักษาความชื้นทั้งบนหลังคา และบนพื้น โดยหากวัดอุณหภูมิอากาศได้ (ใช้เทอร์โมมิเตอร์ ราคาไม่แพง) ให้วัดอุณหภูมิอากาศ โดยให้รักษาอุณหภูมิให้ได้ในช่วง 28-35 องศาเซลเซียส
4. เมื่อเชื้อเห็ดเจริญเติบโต และแพร่กระจายเป็นเส้นใยเต็มก้อนเชื้อแล้ว ในช่วง 20-30 วัน ให้ทำการเปิดถุง และดึงคอจุกออก โดยม้วนพับถุงลง และรอเห็ดออกดอก

ข้อพึงระวัง ->

1. เส้นใยไม่เจริญเติบโต และแพร่เข้าก้อนเพาะเห็ด อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
– เชื้อเห็ดอ่อนแอ และตาย
– เชื้อเห็ดยังอ่อนเกินไปหรือเป็นเชื้อเห็ดที่ใช้งานมาหลายครั้งแล้ว
– มีการปนเปื้อนของเชื้อราชนิดอื่นหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เชื้อเห็ดตาย หรือไม่สามารถเจริญเติบโตแข่งกับเชื้ออื่นได้ รวมไปถึงวัสดุเพาะเห็ดที่มีความชื้นมากเกินไปอันเป็นสาเหตุให้เชื้ออื่น เจริญเติบโตได้ง่าย
– มีการปนเปื้อนสารเคมีจากวัสดุเพาะเห็ด เช่น ฟางข้าว รำ ปูนขาว เป็นต้น สารเคมีที่ปนเปื้อนอาจมีผลยังยั้งการเจริญของเชื้อเห็ด

2. เส้นใยมีลักษณะบาง และน้อย
– เชื้อเห็ดอ่อนหรือไม่แข็งแรง
– มีอาหารในถุงเพาะน้อย วัสดุที่ใช้ไม่ได้คุณภาพ

3. เส้นใยเห็ดเดิน และหยุด
– ก้อนเพาะเห็ดมีน้ำหรือความชื้นมากเกินไป
– ก้อนเพาะเห็ดเกิดการเน่า สังเกตจากกลิ่น และมีน้ำไหลออก
– วัสดุเพาะเห็ดมีเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆเจริญเติบโตได้มากกว่า
– วัสดุเพาะเห็ดมีการปนเปื้อนสารเคมี

4. ดอกเห็ดงอกช้า
– ความชื้นไม่เพียงพอ
– อากาศร้อน การระบายอากาศไม่ดี

5. ดอกเห็ดงอก แล้วไม่เจริญเติบโต
– เชื้อเห็ดที่ใช้อายุน้อยหรือไม่แข็งแรง
– อาหารจากวัสดุเพาะเห็ดมีน้อย ใช้วัสดุเพาะเห็ดที่ไม่มีคุณภาพ
– มีการปนเปื้อนสารเคมีในวัสดุเพาะเห็ด
– การพ่นน้ำสัมผัสกับดอกเห็ดโดยตรง และมากเกินไปจนเป็นสาเหตุให้ดอกเห็ดเน่า

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเลย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา