ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายบำรุง อิ่มภู วันที่ : 2017-03-19-10:45:26

ที่อยู่ : 56 หมู่ที 5 คำบลเขาสมอคอคน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เอง เรียนรู้จากเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล แล้วนำมาปฏิบัติจนเห็นว่า ใช้ได้ผลดี จึงทำมาเรื่อย และยังได้เรียนรู้จากผู้ที่มีความรู้และทางอินเตอร์เน็ต เพ่ื่อให้รู้เชิงวิชาการมากขึ้น น้ำหมักชีวภาพ คือ น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. การหมักแบบต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์
2. การหมักแบบไม่ต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์
ชนิดของน้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพแบ่งตามประเภทวัตถุดิบที่ใช้หมัก 3 ชนิด คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
– ชนิดที่ใช้ผัก และเศษพืช เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษพืช เศษผักจากแปลงเกษตรหลังการเก็บ และคัดแยกผลผลิต น้ำหมักที่ได้มีลักษณะเป็นน้ำข้นสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน กรดแลคติค และฮอร์โมนเอนไซม์
– ชนิดที่ใช้ขยะเปียก เป็นน้ำหมักที่ได้จากขยะในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ น้ำหมักที่ได้มีลักษณะข้นสีน้ำตาลจางกว่าชนิดแรก และมีกลิ่นหอมน้อยกว่า บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็นบ้างเล็กน้อย ต้องใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสม
2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษเนื้อต่างๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหอย เป็นต้น น้ำหมักที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้ม มักมีกลิ่นเหม็นมากกว่าน้ำหมักที่ได้จากวัตถุหมักอื่น ต้องใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสม
3. น้ำหมักชีวภาพผสม เป็นน้ำหมักที่ได้จาการหมักพืช และเนื้อสัตว์รวมกัน ส่วนมากมักเป็นแหล่งที่ได้จากเศษอาหารในครัวเรือนเป็นหลัก
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
๑) ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดิน และน้ำ
๒) ใช้เติมในดิน ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน และน้ำ
๓) ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน และน้ำ
๔) ใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์เพื่อเร่งการเกิดราก และการเจริญเติบโตของพืช
๕) เป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืช กระตุ้นการเกิดราก และการเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิต และคุณภาพสูงขึ้น
๖) ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตร ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช
๗) ใช้ฉีดพ่นในแปลงผัก ผลไม้ หรือผลผลิตต่างๆ เพื่อป้องกันการทำลายผลผลิตของแมลง
 

วัตถุประสงค์ ->

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อให้เกิดการทำใช้ภายในครัวเรือน เป็นการลดรายจ่าย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หมักจากผักและผลไม้ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 7 วัน)
– ผัก หรือผลไม้ 4 ส่วน
– กากน้ำตาล 1 ส่วน
– น้ำ 1 ส่วน
– สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)
หมักจากปลาหรือหอยเชอรี่ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 21 วัน)
– ปลา 3 ส่วน
– กากน้ำตาล 1 ส่วน
– ผลไม้ 1 ส่วน
– น้ำ 1 ส่วน
– สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)

อุปกรณ์ ->

๑. ถังพลาสติกขนาด ๕๐ ลิตร พร้อมฝาปิด
๒. สถานที่เก็บนำหมักชีวภาพ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ
การทำน้ำหมักชีวภาพจะเลือกใช้วัสดุใดในการหมักนั้น ควรเลือกใช้วัสดุหมักที่สามารถหาได้ง่ายในครัวเรือน แปลงเกษตรของตนเองหรือหาได้ง่ายในท้องถิ่น ส่วนหัวเชื้อสามารถเลือกใช้สารเร่งพด.2 หรือ พด.6 ตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้เป็นหลัก
น้ำหมักชีวภาพ สูตรหมักจากผักและผลไม้ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 7 วัน)
– ผัก หรือผลไม้ 4 ส่วน
– กากน้ำตาล 1 ส่วน
– น้ำ 1 ส่วน
– สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)
น้ำหมักชีวภาพ สูตรหมักจากปลาหรือหอยเชอรี่ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 21 วัน)
– ปลา 3 ส่วน
– กากน้ำตาล 1 ส่วน
– ผลไม้ 1 ส่วน
– น้ำ 1 ส่วน
– สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)
การใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสมในตัวหมักจะทำให้ได้น้ำหมักที่มีสีน้ำตาลเข้ม แต่หากหมักด้วยอินทรีย์วัตถุเพียงอย่างเดียวจะได้น้ำหมักเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือตามสีของวัตถุที่เติมลงหมัก
น้ำหมักชีวภาพสูตรหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน
เศษอาหารในครัวเรือน ทำได้โดยเตรียมชุดน้ำหมักข้างต้น (น้ำ+สารเร่ง+กากน้ำตาล) ในถังให้พร้อมก่อน หลังจากนั้น จึงเทเศษอาหารลงในแต่ละวันที่เกิดขึ้น อาจเทได้ประมาณ 7-15 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดถังที่เตรียม และต้องเตรียมชุดน้ำหมักเพียงค่อนถังหรือครึ่งถัง

ข้อพึงระวัง ->

การหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนมักมีข้อจำกัด คือ เน่าง่าย และมีกลิ่นเหม็น และเกิดในปริมาณน้อยในแต่ละวัน จึงเป็นปัญหาในการรวบรวม
 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา