ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกมะนาวนอกฤดูกาล

โดย : นายชาญ เทียนเทศ วันที่ : 2017-06-21-11:02:14

ที่อยู่ : 23 ม.8 ต.โคกตูม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

1. สามารถบังคับให้มะนาวออกลูกนอกฤดูหรือตลอดทั้งปีได้ง่าย

2. ไม่เปลืองแรงงานหรือเกิดค่าใช้จ่ายในการเตรียมแปลงหรือปรับพื้นที่

3. ง่ายต่อการดูแล และการให้น้ำมีประสิทธิภาพ

4. ป้องกันโรคบางชนิดได้ง่ายจากสภาพดินที่ไม่เหมาะสม

5. เหมาะสำหรับการปลูกไว้รับประทานเองหรือเพื่อส่งจำหน่าย

6. สามารถใช้เป็นไม้ประดับได้อีกทาง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. บ่อซีเมนต์บ่อซีเมนต์ที่ขายในท้องตลาดมีหลายขนาด ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 80-120 เซนติเมตร

2.1.      ดินเนื่องจากดินที่ใช้มีปริมาณมากกว่าการปลูกมะนาวในกระถาง อัตราส่วนการผสมจึงอาจแตกต่างกันได้ตามงบประมาณการลงทุน โดยใช้ดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายผสมกับมูลสัตว์ แกลบหรือผสมวัสดุอื่น เช่น ขี้เถ้า กากมะพร้าว เป็นต้น ในอัตราส่วนดินต่อวัสดุอื่น 2:1 หรือ 3:1 พร้อมผสมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ 10 กิโลกรัม/ดิน 1 คิว

3.1.      กิ่งพันธุ์มะนาวตอน

4. 1.      ไม้ไผ่ และเชือกฟาง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. จัดวางฝาปิดบ่อซีเมนต์ในระยะห่างระหว่างแถว และระหว่างต้นในระยะ 2-4 x 2-4 เมตร พร้อมนำบ่อซีเมนต์วางทับด้านบน 1 ไร่ จะได้ประมาณ 100-400 ต้น ตามระยะที่ใช้

2. นำดินที่ผสมแล้วใส่ในกระถาง ให้ระดับดินต่ำกว่าขอบบ่อประมาณ 10 เซนติเมตร ให้ใส่ดินประมาณ 2 ใน 3 ของบ่อ แล้วนำต้นมะนาวลงบ่อ แล้วจึงใส่ดินกลบทีหลังหรืออาจใส่ดินให้ได้ระดับก่อนค่อยขุดหลุมปลูกทีหลังก็ได้ โดยนำถุงพลาสติกหรือกระถางออกก่อนปลูกทุกครั้ง หลังจากนั้นกลบหน้าดินให้แน่นพอประมาณ พร้อมนำวัสดุอินทรีย์โรยกลบปากบ่อ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขุยมะพร้าว เศษใบไม้ ปุ๋ยหมัก และมูลโค เป็นต้น ทั้งนี้ ให้หลีกเลี่ยงการใส่ขี้เถ้าจำนวนมาก เนื่องจากขี้เถ้ามีสารอนินทรีย์ที่เป็นแร่มาก เมื่อละลายน้ำจะให้กรด อาจทำให้รากมะนาว และต้นมะนาวเหี่ยวตายได้ หรือดินมีสภาพเป็นกรดมาก

3. สำหรับต้นมะนาวขนาดเล็กให้ใช้ไม้ไผ่ปักข้างลำต้น พร้อมผูกเชือกรั้งให้ลำต้นตรง ส่วนต้นมะนาวขนาดใหญ่ไม่ต้องรั้งต้นด้วยไม้ก็ได้ หากแต่ต้นมีกิ่งสาขาแผ่กว้างให้ใช้ไม้ไผ่ปักค้ำทั้ง 4 ด้าน

4. เมื่อปลูกเสร็จให้รดน้ำให้ชุ่ม โดยสังเกตน้ำที่ซึมออกบนฝารองด้านล่าง และนำฟางข้าว แกลบหรือเศษใบไม้มากลบบริเวณโคนต้น และปากบ่อทั้งหมด เพื่อรักษาความชุ่มชื้นหน้าดิน

ข้อพึงระวัง ->

- ตัดแต่งกิ่ง เด็ดผลที่เหลือบนต้นออก เพื่อบำรุงต้น เร่งการสร้างยอดใหม่ ใบใหม่โดย ผลมะนาวที่คุณภาพดีที่สุดคือผลที่เกิดจากยอดใหม่ ผลที่เกิดจากกิ่งเก่าคุณภาพจะด้อยลงมา ผลที่คุณภาพต่ำสุดคือผลที่เกิดติดกิ่ง หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จใช้ปุ๋ยเคมี 15 – 15 – 15 ใส่หนึ่งกำมือต่อวง หากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ต้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร และพบอาการผลเหลืองที่ไม่ได้เกิดจากอาการม้านแดดมากกว่าปกติ เนื่องจากการให้ผลผลิตในปีที่ผ่านมาต้นมะนาวใช้ธาตุอาหารในการเลี้ยงลูกในปริมาณที่มาก

- เพิ่มวัสดุปลูกในวงบ่อเนื่องจากในแต่ละปีวัสดุปลูกจะยุบลง เพิ่มกาบมะพร้าวบริเวณโคนต้น เนื่องจากาบมะพร้าวผุพังไปบ้างในปีที่ผ่านมา กาบมะพร้าวเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาความชื้นได้อย่างดี และยังเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาปุ๋ยที่จ่ายมาทางระบบน้ำก่อนจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ต้นมะนาวใช้ ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารอันเกิดจากการไหลบ่า หรือการระเหย

- การให้ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการหมักหอยเชอรี่30 กก. เศษผลไม้ 10 กก. กากน้ำตาล 10 กก. เชื้อพด.
2 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สูตรนี้สามารถใช้ฉีดพ่นทางใบ ในอัตรา 20 - 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรได้ ในส่วนของการให้ทางระบบน้ำนั้น เทคนิคคือใช้ปุ๋ยชีวภาพในอัตรา 5 ลิตร ต่อน้ำ 1,250 ลิตร ให้ทุก 5 - 7 วัน โดยใน
การให้จะให้ครั้งละ 3 – 5 นาทีเพื่อให้กาบมะพร้าวบริเวณโคนต้นชุ่มก็พอ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตาม รอบปกติ น้ำจะค่อย ๆ ละลายธาตุอาหารลงไปให้ต้นมะนาวใช้ เป็นการจัดการที่ประหยัดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

- ในระยะนี้ต้องรักษาใบและยอดให้ดี เนื่องจากมีโรค แมลงที่สำคัญเข้าทำลายในระยะยอดอ่อนถึงเพสลาดคือ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ในเรื่องสารเคมี บางระยะยังต้องมีการใช้อยู่ แต่ต้องเลือกใช้ในระยะที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค คือใช้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 2 เดือน

- หลักการใช้สารเคมีในแปลงมะนาว นอกจากเพลี้ยไฟ โรคแคงเกอร์แล้วยังมีโรคและศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น หนอนชอนใบ หนอนกัดกินใบ แมลงค่อม โรคยางไหล โรคราเข้าขั้ว การเลือกใช้ชนิดของสารเคมีและระยะที่ใช้จึงมีความจำเป็น หากอยู่ในระยะที่ใช้สารเคมีได้ เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบมีสารเคมีที่ เลือกใช้ในการป้องกันกำจัดคือ อะบาแม็กติน อัตรา 3 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ( ทั้งนี้อัตราการใช้แล้วแต่ความเข้มข้นของแต่ละบริษัทที่ผลิต ) หากพบการระบาดมากจะใช้สาร อิมิดาคลอพริด อัตรา 3 – 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงค่อมหรือด้วงปีกแข็งใช้สารคาร์โบซัลแฟน อัตรา 20 – 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน อัตรา 5 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โรคราเข้าขั้วใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบ็นดาซิม อัตรา 10 – 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ความถี่ในการฉีดพ่น ทุก 7 - 15 วัน หรือแล้วแต่สภาพการระบาดของโรคแมลง

นอกเหนือจากระยะนี้แล้ว 2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว ใช้น้ำหมักชีวภาพที่มีฤทธิ์ไล่ และกำจัดแมลง โดยใช้น้ำหมักที่หมักจากสมุนไพรที่ มีรสเผ็ด ขม เหม็น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด บอระเพ็ด สะเดา ใช้สมุนไพรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง30 กก. กากน้ำตาล 10 กก. พด. 7 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร หมัก 20 วัน นำมาฉีดพ่นในอัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20ลิตรทุก 7 - 15 วัน

- เนื่องจากมะนาว มีอายุ ประมาณ 5 เดือนสามารถเก็บขายได้ในเดือนที่ 6 การวางแผนการบังคับให้ออกนอกฤดู คือต้องทำให้ออกดอก เดือนตุลาคม เดือนกันยายนต้องงดปุ๋ย งดน้ำ จะเลือกใช้จังหวะฝนทิ้งช่วงประมาณ 7 – 15 วัน เป็นการงดน้ำไปในตัว

- งดน้ำจนใบเหี่ยว สลด และหลุดร่วงประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นให้น้ำตามปกติ ปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อเปิดตาดอกในระยะนี้คือ ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูงเช่น 12 – 24 – 12 หรือ 15 – 30 -15 ปริมาณ 1 กำมือต่อวงรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
- หลังติดดอกแล้วให้น้ำตามปกติเช้า – เย็น เวลาละ 5-10 นาที
- ปุ๋ยทางดินที่ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ตลอดฤดูการผลิตคือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักจากเศษพืช มูลสัตว์ กากหอยเชอรี่ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดภาวะดินเสื่อมโทรม ปรับสภาพดินให้สมบูรณ์ อย่างยั่งยืน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา