ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปลาส้ม และปลาร้า

โดย : นางสิริกร คงสกุล วันที่ : 2017-04-04-15:03:23

ที่อยู่ : 4 ม.1 ต.พุคา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2552 ชาวบ้านที่หมู่บ้านหนองเกวียนหักก็ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ทำให้ขาดรายได้มาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง  ชาวบ้านจึงต้องการหาอาชีพเสริม ลดรายจ่าย  จึงรวมกลุ่มกันทำปลาร้า เพราะแทบทุกบ้านจะต้องมีปลาร้าติดครัว เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อให้ชาวบ้านลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ 

2. เพื่อให้ชาวบ้านในหมู่บ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- ปลาตะเพียนสด 200  กิโลกรัม

- กระเทียมสับ  15  กิโลกรัม

- เกลือเม็ดใหญ่  25  กิโลกรัม   

- ข้าวสาร   ๒  ถัง  (เพื่อหุงใส่ผสมกับกระเทียมสับ ยัดในพุงปลาส้ม)

- ข้าวเหนียว  ๒  กิโลกรัม (เพื่อทำข้าวคั่วใส่ในปลาร้า)

อุปกรณ์ ->

- ถุงใส่ปลา ขนาด 8x12 นิ้ว  ๓  ห่อ

- หนังยาง (รัดถุงใส่ปลา)  ๑  ห่อ

- ถุงมือยาง  ๑๐  แพ็ค

- กะละมัง เบอร์ 604/68  ๖  ใบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทำปลาส้ม

1. นำปลามาขอดเกล็ด ควักใส้ พุง ออก ล้างให้สะอาดด้วยน้ำเกลือ จนหมดกลิ่นคาว

2. นำเนื้อปลามาคลุกเคล้ากับเกลือเม็ด นำใส่ภาชนะใส่ฝาปิดทิ้งไว้ 2 วัน

3. นำมาล้างให้สะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ
4. นำตัวปลามาคลุกเคล้ากับกระเทียม นำข้าวสารที่หุงแล้วเคล้ากับกระเทียมยัดเข้าไปในพุงปลา
5. บรรจุตัวปลาใส่ในถุง รัดหนังยางให้แน่น ทิ้งไว้ ๕ วัน ก็นำมารับประทานได้

 

วิธีทำปลาร้า

1. นำปลามาขอดเกล็ด ควักใส้ พุง ออก ล้างให้สะอาดด้วยน้ำเกลือ จนหมดกลิ่นคาว

2. นำเกลือ ข้าวคั่ว มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

๓. นำปลาใส่ลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด  ให้ปลาต่ำกว่าขอบภาชนะเล็กน้อย ปิดฝาให้สนิท

๔. หมักจนเกลือละลายเป็นน้ำท่วมตัวปลา หมักประมาณ ๘ สัปดาห์ จนปลาเป็นสีแดงก็สามารถนำมาใช้ได้

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง

๑) ควรใช้ปลาที่มีตัวใหญ่ไม่มาก เพราะถ้าใหญ่เกิน ๑ กิโลกรัม/ตัว ต้องใช้เวลาหมักนาน

๒) ปลาที่นำมาทำปลาร้า หากมีขนาดใหญ่ต้องขอดเกล็ดก่อน หากมีตัวเล็ก เช่น ปลาซิว ก็ไม่ต้องขอด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา