ความรู้สัมมาชีพชุมชน

หมอดินอาสา

โดย : นายเฉลียว ไกยราช วันที่ : 2017-04-02-14:14:26

ที่อยู่ : 7 หมู่ 1 ตำบลวังจั่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

“ดิน” คือ วัตถุตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากผลของการผุพังสลายตัวของหินและแร่ ต่างๆ ผสมคลุกเคล้ารวมกับอินทรียวัตถุหรืออินทรียสารที่ได้มาจากการสลายตัวของเศษซากพืชและสัตว์จนเป็นเนื้อเดียวกัน มีลักษณะร่วนไม่เกาะกันแข็งเป็นหิน เกิดขึ้นปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวในการเจริญเติบโตของพืช  ที่ผ่านมาเราใช้ดินและที่ดินอย่างประมาท ขาดการระมัดระวัง ปัจจุบันทั้งสภาพทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดิน(สุขภาพของดิน) จึงเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก บางแห่งถึงขั้นวิกฤติที่เรียกว่า      ” ดินป่วย ” ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างคุ้มค่า หมอดินต้องทำหน้าที่รักษา (ปรับปรุง) ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ดีดังเดิม หรือมั่นคอยดูแลรักษา(อนุรักษ์) ดินที่อุดมสมบูรณ์(สุขภาพดี)ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับดิน

 2. เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในการทำการเกษตร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ดิน

 2. วัสดุการเกษตร เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุกำมะถัน ปูนขาว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช วิธีการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช โดยทั่วไปปฏิบัติได้ดังนี้ 

 

1. ดินด่าง สามารถทำการปรับปรุงได้ คือ 
          1.1. ใส่สารเคมีบางชนิด เช่น ธาตุกำมะถัน ในขณะที่ดินชื้น เพราะธาตุกำมะถันจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟาริก มีฤทธิ์เป็นกรด จึงสามารถลดการเป็นด่างของดินลงได้ 
          1.2 การทดน้ำเข้าในพื้นที่แล้วระบายน้ำนั้นทิ้ง เพื่อชะล้างเกลือออกหรือถ้าในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำดีเราก็ทำได้โดยการระบายน้ำเข้าขังไว้นาน ๆ น้ำจะช่วยละลายเหลือแล้วซึมลงข้างล่าง ลึกเกินระดับรากพืช 
          1.3 การไถดินให้ลึกเพื่อพลิกดินบนลงข้างล่าง 
          1.4 ใส่ปุ๋ยพวกที่มีฤทธิ์ตกค้างเป็นกรด เช่น แอมโมเนียซัลเฟต 

 

2. ดินกรด สามารถทำการปรับปรุงแก้ไขได้ คือ 
          2.1 ใส่ปูนขาวหรือแคลเซี่ยมคาร์บอเนต
          2.2 ยกร่องแปลงให้สูงขึ้น เพื่อลดระดับน้ำใต้ดินให้ต่ำลง
          2.3 ทำการไถพรวนอยู่เสมอ เพื่อให้อากาศและแสงแดดผ่านเข้าไปในดินได้สะดวก 



3. ดินเหนียว สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ คือ 
          3.1 ใส่พวกขี้เถ้า แกลบ ทราย หรือขุยมะพร้าว แล้วไถพรวนให้คลุกเคล้ากันจนเข้ากันได้ดี 
          3.2. ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด 
          3.3 ปลูกพืชหมุนเวียน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว
          3.4 ระบายน้ำออกจากพื้นที่ อย่าให้น้ำขัง 


 


4. ดินทราย สามารถปรับปรุงแก้ไข คือ
          4.1 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด 
          4.2 ใส่ปุ๋ยอนินทรีย์เพิ่ม เป็นการเพิ่มธาตุอาหารและเชื่อมเม็ดดินให้ติดกัน
          4.3 ปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน 
          4.4 ระบบชลประทานต้องดี เพราะดินทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้นาน 


 

5. ดินนา สามารถปรับปรุงแก้ไขได้โดย 
          5.1 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในนาทุกฤดูกาล
          5.2 ปลูกพืชหมุนเวียน
          5.3 ไม่ควรเอาตอชังหรือฟางข้าวออกจากที่นา 
          5.4 หลักจากการเก็บเกี่ยว ควรไถกลบตอชังเพื่อให้กลายเป็นปุ๋ยของพืชต่อไป

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา