ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เห็ดนางฟ้าภูฐาน

โดย : นายสมจิตร์ เรืองซ้อน วันที่ : 2017-04-02-21:15:51

ที่อยู่ : 31/1 หมู่่ 3 ต.เกาะแก้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นการสร้างอาชีพที่ให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในภาคครัวเรือน 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมที่ว่างจากอาชีพหลักหลักจากทำไร่ ทำนา เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าขนาด 2 x 15 x 2 มีทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน ซึ่งแต่ละด้านสามารถเก็บก้อนเห็ดนางฟ้าได้ถึง 1,000 ก้อน ซึ่งการทำโรงเรือนในลักษณะนี้ ใช้พื้นที่รวมแล้วแค่ประมาณ 60 ตารางเมตรเท่านั้น วัสดุในการทำงานก็ใช้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ยูคา หรือ อื่น ๆ ตัวเสาก็อาจจะใช้ไม้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อความแข็งแรงของโรงเรือน หลังคาก็ใช้หญ้าแฝก ซึ่งเป็นวัสดุที่เหมาะกับการทำโรงเรือนเป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถกักเก็บความร้อนชื้นได้ดี เป็นภูมิอากาศที่เห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าชอบ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้านั้นจำเป็นต้องหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมดังนี้ ได้แก่ขี้เลื่อยยางพาราหรือขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน แต่ในทางปฏิบัตินั้นขี้เลื่อยยางพาราจะให้ผลดีที่สุด จากนั้นก็หาส่วนผสมต่างๆเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น และสูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้ามีส่วนผสมหลัก ๆดังนี้ 
ขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 6 – 8 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม
ปูนยิบซัม 1 กิโลกรัม
หินปูนหรือผงชอล์ก 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
น้ำ 80 กิโลกรัม
EM 1 ลิตร
       เมื่อหาส่วนผสมมาครบแล้ว ก็ทำการตากและกองขี้เลื่อยยางพาราไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นค่อยทำการผสมโดยการเติมน้ำลงประมาณ 70 เปอร์เซนต์ ทดสอบโดยการกำส่วนผสมถ้ามีน้ำซึมตามง่ามมือแสดงว่าการผสมนี้ผสมน้ำมากเกินไปแต่ถ้าเมื่อบีบแล้วขี้เลื่อยแตกเป็น 3 ก้อนแสดงว่าการผสมใช้ได้เรียกว่าพอดีแล้วแต่ถ้าว่าถ้ากำแล้วแบมือออกแล้วขี้เลื่อยจับตัวไม่เป็นก้อนแสดงว่าเติมน้ำน้อยจนเกินไป เมื่อผสมเข้ากันได้ที่แล้วก็ทำการกรอกใส่ถุงเพาะเห็ด ใส่ให้ได้น้ำหนักประมาณ 800 – 900 กรัม หลังจากนั้นก็ทำการรวบปากถุงกระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณหลังจากนั้นก็ทำการใส่คอขวด

ข้อพึงระวัง ->

1. เชื้อในถุงไม่เดิน 
สาเหตุ ขณะหยอดเชื้อถุงก้อนเชื้อร้อนเกิน เชื้ออ่อนแอเกินไป และลืมหยอดเชื้อ
วิธีแก้ไข ตั้งก้อนเชื้อให้เย็นอย่างน้อย 24 ชั่งโมง คัดเชื้ออ่อนแอทิ้ง ก่อนหยอดเชื้อ ขณะหยอดเชื้อต้องมีสติ และสมาธิแน่นแน่

2. หนอนแมลงหวี่กินเส้นใย 
สาเหตุ แมลงหวี่ไข่ไว้ที่ฝาจุกหรือสำลี
วิธีแก้ไข ตรวจสอบสุขภาพอนามัยของโรงเรือน จุก สำลี ต้องนึ่งฆ่าเชื้อ สำลีต้องอุดให้แน่น ปิดกระดาษให้สนิทอย่าให้มีช่อง

3. เชื้อเดิน แต่หยุด มีกลิ่นบูด มีน้ำเมือก มีสีเหลือง เขียว หรือสีดำ 
สาเหตุ มีราหรือแบคทีเรียปนเปื้อน นึ่งฆ่าเชื้อไม่หมด นึ่งฆ่าเชื้อดีแต่กระบวนการลดความร้อนและเปิดหม้อนึ่งไม่ถูกต้อง เชื้อเห็ดที่ใช้ไม่มีคุณภาพ วิธีการหยอดเชื้อไม่ดี บ่มถุงก้อนเชื้อหนาแน่นเกินไปทำให้การระบายอากาศไม่ดี มีคาร์บอนไดออกไซค์มาก
 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา