ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายสนธยา ทองแพ วันที่ : 2017-03-31-18:03:11

ที่อยู่ : 240 หมู่ที่ 8 ตำบลยางโทน อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                 เนื่องจากการทำเกษตรที่ผ่านมาเกษตรกรมีการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี มากเกินอัตราทำให้ดินเสื่อมสภาพ ดินแข็ง  พืชไม่สามารถดูดธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินไปใช้ประโยชน์ได้ เกษตรกรได้หันมาใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยมูลสัตว์มาใช้ในการทำเกษตร เพื่อลดต้นทุนการผลิต  เพิ่มผลผลิต และยังเป็นการช่วยปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อลอดต้นทุนการผลิต

2.เพื่อนำวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์

3.เพื่อปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เศษซากพืชที่เหลือใช้จากการเกษตร

2. มูลสัตว์

3. น้ำหมักชีวภาพ

อุปกรณ์ ->

1.พลัว

2.จอบ 

3.คราด

4.บัวรดน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

         1)  หาวัสดุดิบที่เหลือใช้จากการเกษตร เช่นฟางแห้ง มูลสัตว์  กากถั่ว ฯลฯ

         2)  นำวัสดุที่ได้มาคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ใช้น้ำหมักชีวภาพใส่บัวรดน้ำรดให้พอหมาดๆ กองทิ้งไว้  ประมาณ  7 - 15  วัน จะกลับกองปุ๋ย  1  ครั้ง หมักไว้ประมาณ  6  เดือนก็นำไปใช้งานได้

        เทคนิค

        1) ใช้น้ำหมักชีวภาพรดให้กองปุ๋ยหมักพอหมาดๆ เพื่อเป็นการเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก

        2) วัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตรที่ย่อยสลายได้  สามารถนำมาใช้ในการทำปุ๋ยหมักได้

ข้อพึงระวัง ->

วัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมักต้องเป็นวัสดุที้่ย่อยสลายได้ง่าย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา